简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ชาวศรีลังกาโกรธแค้นการรับมือวิกฤติเศรษฐกิจของประธานาธิบดีมากขึ้นทุก ขณะ การประท้วงเมื่อคืนวันพฤหัสบดีกลายเป็นความรุนแรง ผู้ประท้วงปะทะกับตำรวจยาวนานหลายชั่วโมง
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงาน การขาดแคลนเงินตราต่างประเทศทำให้รัฐบาลประธานาธิบดีโกตาพญา ราชปักษา ไม่สามารถจ่ายเงินซื้อสินค้านำเข้าที่จำเป็นได้ เช่น พลังงาน จนต้องงดจ่ายกระแสไฟฟ้านานถึง 13 ชั่วโมง
ส่วนชาวบ้านธรรมดาสามัญก็ต้องรับมือกับการขาดแคลนสินค้าจำเป็นและเงินเฟ้อพุ่งสูง หลังรัฐบาลอ่อนค่าเงินรูปีศรีลังกาลงอย่างรุนแรงเมื่อเดือนก่อน ก่อนการเจรจากู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)
ศรีลังกามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร
นักวิจารณ์กล่าวว่ารากเหง้าของวิกฤติที่เลวร้ายที่สุดในรอบหลายสิบปี มาจากการจัดการเศรษฐกิจผิดพลาดจากรัฐบาลที่ผ่านๆมา เกิดการขาดดุลแฝดตลอดมาทั้งขาดดุลงบประมาณพร้อมๆ กับขาดดุลบัญชีเดินสะพัด
รายงานของธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (เอดีบี) เมื่อปี 2562 ระบุ “ศรีลังกาคือเศรษฐกิจขาดดุลแฝดอย่างแท้จริง การขาดดุลแฝดส่งสัญญาณว่า ประเทศใช้จ่ายเกินรายได้ และการผลิตสินค้าและบริการไม่เพียงพอ”
แต่ประธานาธิบดีราชปักษาก็เร่งวิกฤติปัจจุบันให้เลวร้ายลงไปอีกด้วยการลดภาษีลงอย่างมากไม่กี่เดือนก่อนโควิด-19ระบาดตามที่เคยหาเสียงไว้เมื่อปี 2562 ซึ่งโควิดทำลายเศรษฐกิจศรีลงกาเสียหายหนัก อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและแรงงานศรีลังกาในต่างแดนที่เคยส่งเงินกลับประเทศหดหายไปเพราะโรคระบาดสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือลดอันดับศรีลังกา เท่ากับถูกตัดออกจากตลาดทุนระหว่างประเทศทันที ในทางกลับกันโครงการจัดการหนี้ของศรีลังกาที่ขึ้นอยู่กับการเข้าถึงตลาดดังกล่าวไม่เป็นไปตามแผน ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศดิ่งลงเกือบ 70% ในสองปี
ปี 2564 รัฐบาลประธานาธิบดีราชปักษาตัดสินใจห้ามนำเข้าปุ๋ยเคมีทั้งหมด แม้เปลี่ยนใจภายหลัง แต่ก็ทำลายภาคการเกษตรของประเทศฉุดให้ผลผลิตข้าวลดลงอย่างมาก
เกิดอะไรขึ้นกับหนี้ต่างประเทศ
นับถึงเดือน ก.พ. ศรีลังกามีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเหลือเพียง 2.31 พันล้านดอลลาร์ แต่ต้องจ่ายหนี้ราว 4 พันล้านดอลลาร์ในปีนี้ รวมถึงพันธบัตรต่างประเทศ (ไอเอสบี) 1 พันล้านดอลลาร์ที่ครบกำหนดในเดือน ก.ค.
ไอเอสบีคิดเป็นหนี้ต่างประเทศก้อนใหญ่สุดของศรีลังกาที่ 1.255 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยเอดีบี ญี่ปุ่น และจีน เป็นหนึ่งในผู้ให้กู้รายใหญ่
ในรายงานทบทวนเศรษฐกิจศรีลังกาเผยแพร่เมื่อเดือนก่อน ไอเอ็มเอฟกล่าวว่า หนี้สาธารณะศรีลังกาเพิ่มขึ้นสู่ระดับ “ไม่ยั่งยืน” ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศไม่พอชำระหนี้ระยะสั้น
ในรายงานเมื่อปลายเดือน มี.ค. ซิตีรีเสิร์ช กล่าวว่า ข้อสรุปในรายงานไอเอ็มเอฟและมาตรการล่าสุดของรัฐบาลไม่เพียงพอฟื้นฟูความยั่งยืนของหนี้สิน พร้อมทั้งชี้แนะอย่างชัดเจนว่า “ศรีลังกาจำเป็นต้องปรับโครงสร้างหนี้”
จีน-อินเดียแข่งช่วยศรีลังกา
หลายเดือนมาแล้วที่รัฐบาลประธานาธิบดีราชปักษาและธนาคารกลางศรีลังกาไม่ยอมทำตามเสียงเรียกร้องของผู้เชี่ยวชาญและผู้นำฝ่ายค้าน เรื่องการไปขอความช่วยเหลือจากไอเอ็มเอฟแม้ความเสี่ยงสูงขึ้นทุกขณะก็ตาม แต่หลังจากราคาน้ำมันพุ่งพรวดหลังรัสเซียรุกรานยูเครนเมื่อปลายเดือน ก.พ. รัฐบาลก็ค่อยๆ ร่างแผนเข้าหาไอเอ็มเอฟในเดือน เม.ย.
โฆษกไอเอ็มเอฟเผยเมื่อวันพฤหัสบดีว่า ไอเอ็มเอฟจะหารือเบื้องต้นกับทางการศรีลังกาเรื่องโครงการปล่อยกู้ “ในไม่กี่วันข้างหน้า”
ก่อนกู้ไอเอ็มเอฟ ศรีลังกาลดค่าเงินลงอย่างมากยิ่งดันเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น และสร้างความเสียหายให้กับประชาชน หลายคนใช้ชีวิตอย่างยากลำบากต้องเข้าแถวยาวรอซื้อสินค้าจำเป็น เช่น น้ำมัน
เพื่อแก้ปัญหาเบื้องต้น ประธานาธิบดีราชปักษาพยายามขอความช่วยเหลือจากจีนและอินเดีย โดยเฉพาะความช่วยเหลือเรื่องเชื้อเพลิงจากฝ่ายหลัง
เดือน ก.พ.ศรีลังกาลงนามซื้อน้ำมันเงินเชื่อ 500 ล้านดอลลาร์จากอินเดียคาดว่าของจะมาถึงในวันนี้ (2 เม.ย.) นอกจากนี้ยังลงนามนำเข้าสินค้าจำเป็นอย่างอาหารและยากับอินเดียอีก 1 พันล้านดอลลาร์ รวมถึงสินเชื่ออีกอย่างน้อย 1 พันล้านดอลลาร์จากรัฐบาลนิวเดลี
สำหรับจีนหลังจากสวอปเงิน 1.5 พันล้านดอลลาร์และเงินกู้ร่วม 1.3 พันล้านดอลลาร์ให้รัฐบาลศรีลังกาแล้ว ตอนนี้กำลังพิจารณาวงเงินสินเชื่อ 1.5 พันล้านดอลลาร์ และเงินกู้อีกก้อนหนึ่งมากถึง 1 พันล้านดอลลาร์
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
Neex
OANDA
TMGM
Vantage
IC Markets Global
FXCM
Neex
OANDA
TMGM
Vantage
IC Markets Global
FXCM
Neex
OANDA
TMGM
Vantage
IC Markets Global
FXCM
Neex
OANDA
TMGM
Vantage
IC Markets Global
FXCM