简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:1,789 จุดคือจุดสูงสุดของตลาดหุ้นไทยที่เกิดขึ้นในเดือนมกราคมปี 2537 หลังจากนั้นประเทศไทยเกิดวิกฤต “ต้มยำกุ้ง” ทำให้ตลาดหุ้นตกลงไปตํ่าสุดที่ 204 จุดในเดือนสิงหาคมปี 2541 ตลาดหุ้นตกจากจุดสูงสุดถึง 88.5% ภายในระยะเวลา 5 ปี เงินลงทุน 10 ล้านบาทจะเหลือที่ประมาณ 1,150,000 บาท หากจะกลับไปเท่าทุนเหมือนเดิมที่ 10 ล้านต้องทำผลตอบแทนให้ได้ถึง 870% หรือประมาณเกือบ 9 เด้ง คำถามคือแล้วมันเกิดอะไรขึ้นในปี 2540? ในฐานะนักลงทุนเราจะป้องกันได้ไหม? แล้วเราควรจะทำอย่างไรเมื่อเจอวิกฤต? มาดูภาพรวมของประเทศไทยในอดีตกันก่อน
ปี 2530 – 2539 อัตราการเติบโตเฉลี่ย 10 ปีของ GDP ประเทศไทยสูงถึง 9.4% อัตราการเติบโตของการส่งออกอยู่ที่ 14.5% อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 4.7% อัตราส่วนเงินลงทุนต่อ GDP เพิ่มจาก 27% ในปี 2530 เป็น 41% ในปี 2539 การลงทุนที่สูงขึ้นและการเติบโตของเศรษฐกิจมาจากการไหลเข้าของเงินลงทุนต่างประเทศซะเป็นส่วนใหญ่
รัฐบาลเองด้วยนโยบายที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็น Financial Hub ของ Asia ได้ทำการปฏิรูปภาคการเงินของไทย
ในปี 2533 รับพันธะสัญญาข้อที่ 8 ของไอเอ็มเอฟ เพื่อเปิดเสรีทางการเงินของไทยสู่สากล
ในปี 2536 รัฐบาลอนุมัติให้ธนาคารพาณิชย์สามารถจัดตั้งกิจการวิเทศธนกิจ (Bangkok International Banking Facilities : BIBF) ให้ธนาคารไทยกู้เงินต่างประเทศมาปล่อยกู้ในประเทศได้ และนี่คือจุดเริ่มต้นของวิกฤตปี 2540
ผลของการเปิดเสรีครั้งนี้ ทำให้เงินสามารถไหลเข้าออกประเทศได้อย่างสะดวกโดยไม่มีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเลยเพราะตอนนั้นประเทศไทยใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ๆ 25 บาทต่อดอลลาร์ เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างรวดเร็วประมาณ 8.6% ต่อปี ธนาคารเห็นช่องทางในการทำกำไรอย่างรวดเร็วด้วยการกู้เงินจากต่างประเทศมา ปล่อยกู้ภายในประเทศ
การปล่อยกู้ในประเทศจะทำให้ธนาคารได้กำไรมหาศาลทันทีเนื่องจากดอกเบี้ยที่ได้มาจากต่างประเทศถูกกว่าดอกเบี้ยในประเทศมาก ดังนั้นสถาบันการเงินจึงทำทุกวิถีทางเพื่อปล่อยกู้ให้ได้มากๆ
เศรษฐกิจก็เลยเติบโตจาก Easy credit หรือเงินกู้ที่ได้มาง่ายๆ การวิเคราะห์ความเสี่ยงและประเมินผู้กู้เป็นไปอย่างหละหลวม ธนาคารในประเทศเริ่มแข่งขันกันอย่างสูงในการปล่อยสินเชื่อจนทำให้ดอกเบี้ยเงินกู้ของอุตสาหกรรมลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 5-7% สภาพคล่องล้นมากๆๆ
เมื่อเงินกู้ได้มาง่ายแทนที่ผู้ประกอบการจะเอาไปลงทุนในกิจการ จะเอาไปลงในกิจการทำไม? กว่าจะได้กำไรกลับมามันช้า เอาไปเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์,ที่ดินหรือซื้อหุ้นดีกว่า รวยง่าย รวยเร็ว ไม่ต้องเหนื่อยดีกว่ากันเยอะ ยิ่งนำไปเก็งกำไรในสินทรัพย์ต่างๆ ยิ่งดันราคาสูงขึ้นไปอีก
ผลเสียที่เกิดขึ้นคือกระทบศักยภาพการแข่งขันในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกของประเทศเพราะต้นทุนในการทำธุรกิจโดยรวมจะสูงขึ้นทันที ทำให้เกิดปัญหาใหญ่เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่พึ่งพิงการส่งออกเป็นปัจจัยหลัก ยิ่งเก็งกำไรในสินทรัพย์มากขึ้นยิ่งทำให้การทำธุรกิจได้ผลตอบแทนตํ่าลงเรื่อยๆ ยิ่งทำให้ไม่มีใครอยากลงทุนขยายธุรกิจแม้เศรษฐกิจจะเติบโต จำนวนมากเอาเงินกู้ที่ได้ไปเก็งกำไรที่ดินหรือหุ้นแทนกลายเป็นวงจรหายนะที่ไม่มีวันจบ
ด้วยส่วนต่างดอกเบี้ยของต่างประเทศกับในประเทศสูงมาก ทำให้เริ่มมีธนาคารกู้ระยะสั้นมาปล่อยในประเทศ เพราะแม้จะกู้ระยะสั้นที่ดอกเบี้ยสูงขึ้นแต่ดอกเบี้ยในประเทศก็ยังสูงกว่า ก็ยังกำไรอยู่ดี (ในปี 2539 กว่าครึ่งของหนี้สินต่างประเทศของสถาบันการเงินเป็นหนี้สินระยะสั้น) โดยสมมุติฐานที่ทำกำไรได้ตรงนี้ไม่ได้เอาความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนไปคิดเพราะยังไงก็ตรึงไว้ให้คงที่อยู่แล้ว
ในปี 2537 IMF กังวลกับระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ของไทยและแนะนำให้ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ยืดหยุ่นมากขึ้น ไทยปฏิเสธเพราะตอนนั้นเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่งมาก กลัวว่าเปลี่ยนระบบไปแล้วเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นส่งผลเสียต่อการส่งออก
จนถึงปี 2539 เศรษฐกิจก็ยังโตขึ้นไปได้เรื่อยๆแต่มีจุดสังเกตคือ GDP เติบโตน้อยลงจาก 8% เหลือ 5% การส่งออกเริ่มเติบโตติดลบเป็นครั้งแรกในรอบหลายปี ในปี 2536-2539 กระแสการไหลเข้าของเงินลงทุนประเภท FDI ซึ่งเป็นการลงทุนใน Productivity ของประเทศลดลงเหลือเพียงเฉลี่ย 0.8% ของ GDP แล้วเงินต่างประเทศที่ไหลเข้าไทยเยอะๆไปอยู่ไหน? กว่า 7.3% ของ GDP ไปอยู่กับสถาบันการเงินเอาไปปล่อยกู้ให้นักลงทุนในประเทศซึ่งเอาเงินไปเก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์, ที่ดิน และหุ้น แต่สุดท้ายการเก็งกำไรก็จบลงช่วงต้นปี 2539
ในเดือน กรกฎาคมของปี 2539 SET เริ่มตกลงไปทำจุดตํ่าสุดใหม่ในรอบ 3 ปีทะลุ 1,223 จุด โดยณ.จุดนี้ SET ตกลงมาจากจุดสูงสุดที่ 1,789 จุดในปลายปี 2536 คิดเป็นการลดลงแล้วถึง 31%
เมื่อศักยภาพของประเทศลดลง การลงทุนเริ่มผิดพลาด นักลงทุนเริ่มจ่ายหนี้ไม่ได้ก็เริ่มมีหนี้เสีย NPL เริ่มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆจาก 7.7% ในปี 2538, 13% ในปี 2539, 22.6% ในปี 2540 เหล่าสถาบันการเงินก็รู้ตัวแต่ไม่กลัวเพราะคิดว่ายังไงยังไงซะรัฐบาลจะไม่ยอมปล่อยให้ล้มกันหมดแน่นอน เดี๋ยวก็ต้องเข้ามาช่วย เจ้าหนี้ต่างประเทศเริ่มสังเกตเห็นสถานการณ์ที่ดูเหมือนจะมีแนวโน้มหนักขึ้นเรื่อยๆ
จากนโยบายการเงินที่เปิดอย่างเสรีและอัตราแลกเปลี่ยนที่คงที่ทำให้เกิดช่องว่างให้ต่างชาติสามารถเข้าโจมตีค่าเงินบาทได้ จึงเริ่มมีการโจมตีค่าเงินบาทอย่างหนักในช่วงปี 2539-2540 หลักการคือปกติจะมี Supply เงินไทยในตลาดโลกระดับหนึ่ง ถ้าธปท.อยากให้ค่าอ่อนลงก็ขายเงินไปออก อยากให้แข็งค่าก็ซื้อกลับมาของน้อยลงก็จะราคาสูงขึ้นแข็งค่าขึ้นเอง ธนาคารแห่งประเทศไทยใช้วิธีซื้อขายเงินบาทในตลาดโลกเพื่อให้มูลค่าของเงินอยู่ในอัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสมซึ่งก็คือ 25 บาทต่อดอลลาร์ที่ตรึงไว้
หลักการโจมตีค่าเงินบาทก็ตัวอย่างเช่นต่างชาติมากู้เงินธนาคารไทยเสร็จ เอาเงินไทยไปแลกดอลลาร์กับธนาคารแห่งประเทศไทย ธปท.ก็จะมีดอลลาร์ลดลงเรื่อยๆ เงินทุนสำรองร่อยหรอจนไม่เหลือดอลลาร์แล้ว แต่ยังมีคนต้องการเอาเงินไทยมาแลกอยู่ทีนี้ทำไง? ก็ต้องไปกู้ดอลลาร์มาให้เขาแลก ก็ยังมีคนมาแลกเรื่อยๆจนหมดแล้วหมดอีกกู้เพิ่มจนกู้ไม่ได้แล้ว ทีนี้นักธุรกิจจะทำการค้าต่างประเทศยังไง? ปิดบริษัทไม่ต้องทำ? ก็มีหวังเจ๊งกันทั้งประเทศหนักกว่าเดิม
สุดท้ายธนาคารแห่งประเทศไทยก็ต้องยอมลอยตัวค่าเงินบาท จากปกติให้แลกได้ที่ 25 บาทต่อดอลลาร์ คราวนี้บอกไม่ตรึงไว้ที่ 25 แล้วเลิกๆกลายเป็น 50 แทน ต่างชาติที่เคยมากู้เงินธนาคารไทยไว้ก็กลับมาเอาดอลลาร์มาแลกเป็นเงินไทยที่ 50 เอาไปใช้หนี้ธนาคารไทยแค่ครึ่งเดียวที่เหลืออีกครึ่งเป็นกำไร แล้วเอากำไรที่ได้มาลบกับดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายให้ธนาคารที่ไปกู้เงินมาตามระยะเวลาก็จะได้กำไร Net ครับ (หลักการคร่าวๆก็ประมาณนี้แต่รายละเอียดมันลึกกว่านี้ถ้าอยากอ่านก็ลองตามอ่านใน Link ด้านล่างได้ครับ)
ธนาคารแห่งประเทศไทยสู้กับนักเก็งกำไรจนเงินทุนสำรองระหว่างประเทศเหลือ 2,800 ล้านจาก 38,700 ล้าน เงินทุนสำรองหร่อยหรอหมดเงิน ทำให้จำเป็นต้องประกาศลอยตัวค่าเงินบาทในปี 2540
ธุรกิจในประเทศไทยที่เคยกู้เงินต่างชาติไว้เท่าไหร่ พอลอยตัวค่าเงินจาก 25 เป็นประมาณ 50 บาทหนี้ก็เพิ่ม 2 เท่าทันที คนที่กู้เงินไปซื้อที่ดินหรือเล่นหุ้นก็ขายที่ไม่ออก ติดดอยหุ้นกันถ้วนหน้า ก็ยิ่งเจ๊งหนักเข้าไปใหญ่ NPL ก็สูงขึ้นปรี๊ดๆไปสูงสุดที่ 47% ในปี 2542 สถาบันการเงินในไทยก็ยิ่งไม่ได้เงินคืนก็ไม่รู้จะเอาที่ไหนไปจ่ายต่างชาติ เจ้าหนี้ต่างชาติหมดความเชื่อมั่นก็มีสิทธิเรียกเงินเพราะปล่อยกู้ไว้เป็นระยะสั้น รัฐบาลก็ช่วยไม่ได้แล้วเพราะถังแตกเหมือนกัน สุดท้ายจึงเกิดเหตุการณ์ปิด 58 ไฟแนนซ์ กระทบกับสถาบันการเงินไปทั่วโลกกลายเป็น “วิกฤตต้มยำกุ้ง” ประเทศไทยขอรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศและกลายเป็นลูกหนี้ IMF ในที่สุด
จากเหตุการณ์ครั้งนั้น SET ลงไปถึงจุดตํ่าสุดที่ 204 จุดในเดือนสิงหาคม ปี 2541 ซึ่งเป็นเดือนที่รัฐบาลได้ออกมาตรการแก้ไขหนี้และควบรวมกิจการต่างๆที่มีปัญหาเพราะเรื่อง หนี้สิน และการเพิ่มทุน
นอกจาก SET แล้วหุ้นอื่นๆก็ตกหนักมากๆเช่น
KBANK 136.24 -> 10.25
LH 41.57 -> 0.56
CPF 13.11 -> 1.33
SCC 154 -> 17.2
บทเรียนสำคัญในครั้งนี้คือต้องจำไว้เสมอว่า “งานเลี้ยงต้องมีวันเลิกรา” แล้วส่วนใหญ่ก็มักจะเลิกโดยไม่ค่อยมีคำเตือนหรือสัญญาณ “อันตราย” บอกก่อนด้วย ตอบคำถามแรกว่าวิกฤตป้องกันได้ไหม? คำตอบก็คือป้องกันได้แต่ไม่ได้ตลอดเวลา หากเราเป็นนักลงทุนในระยะเวลานานพอ
แล้วเราควรจะทำอย่างไร? สิ่งแรกที่ต้องทำเลยคือ “ทำใจ” เพราะถ้าเป็นนักลงทุนแล้ววิกฤตเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งที่ต้องทำอย่างที่สองคือการเตรียมพร้อมตลอดเวลา ปรับสภาพพอร์ทการลงทุนให้พร้อมรับมือกับวิกฤตเสมอๆ เพราะเราจะไม่มีวันรู้ว่าวิกฤตจะมาตอนไหน บางทีณ.วันนี้เราอาจจะกำลังอยู่ในวิกฤตแล้วก็ได้เพียงแต่ยังไม่มีใครรู้ตัวเท่านั้นเอง
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ช่วง ตอบคำถามจากทางบ้าน! แฟน ๆ ของ WikiFX หลายคนส่งคำถามเข้ามาว่า หุ้น กับ Forex นี่มันอันเดียวกันรึเปล่า หรือมันต่างกันยังไง อะไรน่าลงทุนกว่า? เล่นหุ้นมาก่อน ลองเทรด Forex ได้ไหม? ทางเราไม่รอช้า รวบรวมคำตอบมาให้แล้วในบทความนี้!
วันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักเทรดเดอร์วัยเด็ก ซึ่งผู้โชคดีจากเหตุการณ์นี้ กับ “เจเดน คาร์” จากเมืองซาน แอนโทนิโอ ในรัฐเท็กซัส
ราคาหุ้นเทสลา ปรับตัวลงอีก 0.12% ในช่วงเช้านี้ หลังมีรายงาน ยอดสั่งซื้อรถยนต์ พ.ค.ของเทสลา ในประเทศจีนลดลงเกือบครึ่งหนึ่งจากเดือนเม.ย. เนื่องจากที่รัฐบาลจีนพยายามตรวจสอบรถยนต์เทสลา
วันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักนักลงทุนชาวไทยที่ประสบความสำเร็จระดับพันล้าน ผู้มีปริมาณการซื้อขายหุ้นมาแล้วทั้งชีวิตกว่า 1 ล้านล้านบาท คร่ำหวอดในวงการนี้มากว่า 3 ทศวรรษ กับ “เสี่ยป๋อง วัชระ แก้วสว่าง”
Vantage
STARTRADER
Neex
FP Markets
Exness
XM
Vantage
STARTRADER
Neex
FP Markets
Exness
XM
Vantage
STARTRADER
Neex
FP Markets
Exness
XM
Vantage
STARTRADER
Neex
FP Markets
Exness
XM