简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ: เมื่อเร็วๆ นี้ อียูได้ประกาศเพิกถอนสิทธิพิเศษทางการค้าต่อกัมพูชา ในกลุ่มสินค้าหลัก เช่น สิ่งทอ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ฯลฯ ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 ส.ค.63 แน่นอนว่ากัมพูชาต้องได้รับผลกระทบ แต่ไทยเองจะได้หรือเสียผลประโยชน์อย่างไรบ้าง?
การประกาศ “เพิกถอน” สิทธิพิเศษทางการค้า (Everything But Arms: EBA) ที่สหภาพยุโรปหรืออียูมีต่อกัมพูชาในสินค้าหลัก ได้แก่ สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า จากปัญหาสิทธิมนุษยชนและแรงงาน จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 ส.ค.63 หรือ 6 เดือนนับจากประกาศนี้
EBA คือสิทธิพิเศษทางการค้าสูงสุดจากประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยยกเว้นการเก็บภาษีนำเข้าและยกเลิกการกำหนดโควตานำเข้าครอบคลุมสินค้าทุกประเภทยกเว้นอาวุธยุทโธปกรณ์เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจกลุ่มประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (LDCs) โดยเฉพาะอุตสาหกรรมส่งออกซึ่งรวมถึงกัมพูชาด้วย
อียูนับเป็นคู่ค้าสำคัญที่สุดของกัมพูชา โดยในปี ค.ศ.2018 กัมพูชาส่งออกสินค้าไปอียูมากถึง 45% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด คิดเป็นมูลค่ารวม 5,300 ล้านยูโร หรือ 170,000 -180,000 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นสินค้าสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป ที่มีสัดส่วนมากถึง 78% ของมูลค่าการส่งออกไปตลาดอียู คิดเป็นมูลค่า 134,800 ล้านบาท รองลงมา ได้แก่ รองเท้า สัดส่วน 13% หรือคิดเป็นมูลค่า 23,000 ล้านบาท ที่ส่งออกไปตลาดอียูปี 2018
· ประเมินผลกระทบจากการที่อียูตัดสิทธิพิเศษทางการค้ากัมพูชา แยกเป็น 2 กรณี คือ
กรณีแรก ผลกระทบต่อเศรษฐกิจกัมพูชาเศรษฐกิจกัมพูชามีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากการพึ่งพาเศรษฐกิจอียูในระดับสูง ผลจากการถูกตัดสิทธิพิเศษ EBA จะทำให้ผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าไปอียูต้องเสียภาษีนำเข้ามากขึ้น โดยจะเสียภาษี 12% สำหรับรายการสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม และเสียภาษี 8% สำหรับรายการรองเท้า ส่งผลให้ผู้ส่งออกกัมพูชาต้องเสียภาษีมากขึ้นและบั่นทอนความสามารถการแข่งขันเมื่อเทียบกับคู่แข่งในภูมิภาค ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ส่งผลให้อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและรองเท้ามีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อเนื่อง ทำให้อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจกัมพูชาในปีนี้อาจโตไม่ถึง 7% นอกจากนี้ แนวโน้มการลดการจ้างงานในอุตสาหกรรมดังกล่าวย่อมกระทบต่อกำลังซื้อ ซึ่งปัจจุบันมีแรงงานกัมพูชาในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูปและรองเท้าประมาณ 750,000 คน หากนับรวมคนในครอบครัวแรงงานก็จะมีประมาณ 2 ล้านคน ทำให้เงินหมุนเวียนในประเทศอาจหายไปจากระบบ
อย่างไรก็ตาม การถูกถอนสิทธิพิเศษ EBA อาจเป็นปัจจัยเร่งให้เกิดการปฏิรูปเศรษฐกิจกัมพูชาภายใต้แผนพัฒนาอุตสาหกรรมฉบับใหม่ รวมไปถึงการที่กัมพูชายังคงได้สิทธิพิเศษทางภาษี GSP จากสหรัฐ และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่และมีกำลังซื้อสูง นอกจากนี้ ความหลากหลายทางเศรษฐกิจของกัมพูชา ประกอบกับปัจจัยที่เอื้อต่อการทำธุรกิจ ได้แก่ การยกเว้นภาษีสูงสุด 9 ปีสำหรับธุรกิจที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล และการให้สิทธิต่างชาติเป็นเจ้าของธุรกิจได้ 100% ทำให้การลงทุนในกัมพูชายังคงมีความน่าสนใจ
กรณีที่สอง ผลกระทบต่อทุนไทยในกัมพูชาในระยะสั้นคาดว่าไม่มีผลต่อการปรับแผนการผลิต เพราะโดยปกติมีการวางแผนสั่งซื้อล่วงหน้า 3 ปีแล้ว สำหรับในช่วงที่คำสั่งเพิกถอนสิทธิจะมีผลในเดือน ส.ค.63 คาดว่าทางโรงงานผู้ผลิตจะเร่งส่งมอบสินค้าให้ได้มากที่สุด ส่วนในระยะถัดไปหลัง 12 ส.ค.63 ทุนไทยที่เข้าไปลงทุนตั้งโรงงานผลิตเครื่องนุ่งห่มให้กัมพูชาเป็นลำดับต้น ๆ เพื่อรับคำสั่งซื้อจากเจ้าของแบรนด์ดังจากต่างประเทศ อาจถูกทยอย “ยกเลิก” การจ้างผลิตหรือลดปริมาณคำสั่งซื้อ รวมไปถึงอาจถูกพิจารณาย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่น โดยเฉพาะเวียดนามเนื่องจากมีค่าแรงไม่สูง ประกอบกับเมื่อกลางเดือนก.พ. ที่ผ่านมา รัฐสภายุโรปได้ลงมติรับรองข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับเวียดนาม นอกจากนี้ กำลังซื้อของผู้บริโภคชาวกัมพูชาที่ลดลง อาจส่งผลทางอ้อมต่อสินค้าอุปโภคบริโภคที่ส่งออกจากไทยด้วย
อย่างไรก็ตาม การลงทุนในกัมพูชายังมีความน่าสนใจ โดยเฉพาะธุรกิจที่ไทยมีความเชี่ยวชาญ ไม่ว่าจะเป็น การผลิตสินค้าเกษตรและอาหาร บรรจุภัณฑ์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อรองรับการบริโภคภายในประเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ไทยยังมีโอกาสขยายการค้ากับกัมพูชาโดยเฉพาะการค้าชายแดนโดยเฉพาะกลุ่มสินค้าเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ รถยนต์และส่วนประกอบ และที่สำคัญทุนไทยในกัมพูชาควรหาแนวทางการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อรักษาส่วนแบ่งการตลาดเมื่อการตัดสิทธิพิเศษทางการค้าของอียูที่มีต่อกัมพูชามีผลบังคับใช้อย่างสมบูรณ์
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
การระบาดของโรคโควิดในต่างประเทศกลายเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการปรับตัวของตลาดการเงินโลกอย่างเป็นระบบ เราเชื่อว่าเมื่อเทียบกับวิกฤตการณ์ทางการเงินในปี 2551 ระบบการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลักของโลกมีความแข็งแกร่งกว่ามากและสินทรัพย์ในยุโรปจะแสดงมูลค่าการกำหนดค่า
สำหรับอนาคตของตลาดทุนยุโรปหลังจากอังกฤษและสหภาพยุโรปไม่ได้มีส่วนร่วมในการทะเลาะวิวาทที่รุนแรงเหมือนก่อน แต่ว่าสถานการณ์ก็เริ่มเปลี่ยนไป
TMGM
Doo Prime
VT Markets
OANDA
HFM
Exness
TMGM
Doo Prime
VT Markets
OANDA
HFM
Exness
TMGM
Doo Prime
VT Markets
OANDA
HFM
Exness
TMGM
Doo Prime
VT Markets
OANDA
HFM
Exness