简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:สัปดาห์ที่ผ่านมา แม้เศรษฐกิจโลกส่งสัญญาณฟื้นตัว แต่ธนาคารกลางสหรัฐฯยังคงกังวลแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ หากเกิดการระบาด COVID-19 ระลอกที่สอง
อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นปัจจัยที่ตลาดรับรู้ไปแล้ว (Priced-In) จึงต้องระวังปัจจัยเสี่ยง โดยตลาดอาจกลับมาปิดรับความเสี่ยงและผันผวนสูงขึ้น
หากตลาดกังวลการระบาดรอบที่สองของ COVID-10 ในสหรัฐฯและจีนไปพร้อมกับปัญหาการเมืองยุโรปอย่าง Brexit
มุมมองนโยบายการเงิน
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ในวันพฤหัสฯ ตลาดมองว่า BOE จะ“คง”อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Bank Rate) ไว้ที่ระดับ 0.10% แต่จะ
“เพิ่ม”วงเงินการซื้อสินทรัพย์ (QE) อย่างน้อย 1 แสนล้านปอนด์ สู่ระดับ 7.45 แสนล้านปอนด์เพื่อช่วยประคองการฟื้นตัวเศรษฐกิจและตลาดการเงิน
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ในวันอังคารตลาดมองว่า BOJ จะ“คง”อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Policy Balance Rate) ไว้ที่ระดับ -0.10% พร้อมทั้งคงเป้าหมายบอนด์ยีลด์ 10ปีไว้ที่ 0.00% ขณะเดียวกัน BOJ จะเพิ่มขนาดโครงการเงินกู้ไร้ดอกเบี้ยและหลักประกันเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการจากวงเงิน 30 ล้านล้านเยน เป็น 60 ล้านล้านเยนโดยหวังว่ามาตรการดังกล่าวจะช่วยเยียวยาบริษัทที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 และช่วยลดจำนวนบริษัทที่ยื่นล้มละลายลง
ดูปฏิทินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
https://live.wikifx.com/th_th/calendar.html
มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก
ฝั่งสหรัฐฯ – ตลาดคาดหวังต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจสหรัฐฯมากขึ้นสะท้อนจากคาดการณ์ยอดค้าปลีก (Retail Sales) เดือนพฤษภาคม ที่จะเพิ่มขึ้น 8%จากเดือนก่อนหน้า เช่นเดียวกับยอดผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) ที่จะโต 3%จากเดือนก่อนหน้า นอกจากนี้ ตลาดจะจับตาถ้อยแถลงของประธานเฟดต่อสภาคองเกรสในประเด็นแนวโน้มเศรษฐกิจและนโยบายการเงินในอนาคต
ฝั่งยุโรป – แม้ตลาดจะมีความหวังต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ชี้จากประมาณการดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจเยอรมนี (ZEW Survey) เดือนมิถุนายนที่เพิ่มขึ้นแตะ60จุด แต่เศรษฐกิจยุโรปยังคงมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตาม อาทิ การเจรจาข้อตกลง Brexitรวมถึงการพิจารณากองทุนเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจ (Recovery Fund) ตลอดสัปดาห์นี้
ฝั่งเอเชีย – ตลาดประเมินว่าเศรษฐกิจจีนจะฟื้นตัวดีขึ้นในเดือนพฤษภาคม โดยยอดผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production) จะโตได้ 5% เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัว 3.9% ขณะที่ยอดการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset Investment) ยังคงหดตัว 6% แต่ดีขึ้นจากที่หดตัวกว่า 10% ก่อนหน้า เช่นเดียวกับยอดค้าปลีก(Retail Sales) ที่หดตัวเหลือ 2.3% จากที่หดตัวถึง 7.5% ในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้แนวโน้มเศรษฐกิจถดถอยจากการระบาดของ COVID-19 จะทำให้ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI)
และธนาคารกลางไต้หวัน (CBC) ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเหลือ 4.25%และ1.00% ตามลำดับ
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
แม้ว่า MBTI จะไม่ได้เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จในการลงทุนโดยตรง แต่การเข้าใจบุคลิกภาพของตนเองสามารถช่วยให้เลือกกลยุทธ์และรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมกับนิสัยและความต้องการของเราได้
ทั้งเงินเฟ้อและเงินฝืดต่างก็มีผลกระทบที่แตกต่างกันในมุมมองนักเทรด แต่สิ่งสำคัญคือการเข้าใจสภาพตลาดและปรับพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสม ถ้าเงินเฟ้อมาสูง เราต้องมองหาสินทรัพย์ที่รักษามูลค่าได้ แต่ถ้าเงินฝืดมาแรง การถือเงินสดหรือสินทรัพย์ปลอดภัยอาจเป็นทางรอด หมั่นติดตามข่าวเศรษฐกิจและปรับกลยุทธ์ให้ทัน เกมเศรษฐกิจแบบนี้ ถ้ารู้ทัน เราก็ชนะ!
บทวิเคราะห์อทองคำ
หลังทรัมป์รับตำแหน่งตลาดการเงินเป็นอย่างไรบ้าง บล.เอเซียพลัส ชี้ความกังวลที่ดูผ่อนคลายมากขึ้น หนุนให้เม็ดเงินไหลเข้าสู่สินทรัพย์เสี่ยง มองถ้าสหรัฐอเมริกาไม่ดุดัน ตลาดหุ้นไทยจะค่อย ๆ ดีขึ้น
FXCM
HFM
XM
AvaTrade
FOREX.com
IC Markets Global
FXCM
HFM
XM
AvaTrade
FOREX.com
IC Markets Global
FXCM
HFM
XM
AvaTrade
FOREX.com
IC Markets Global
FXCM
HFM
XM
AvaTrade
FOREX.com
IC Markets Global