简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เชื่อเหลือเกินว่าเวลาที่คุณลงทุนอะไรใด ๆ มาก็ตามแต่หลายคนก็นึกถึงแต่เงินที่ได้รับ แต่ทราบหรือไม่ว่าในการลงทุนใด ๆ ก็ตามล้วนมีภาษีที่ต้องจ่ายนะ อย่างการมีรายได้จากการเทรด Forex ภาษีก็ต้องจ่ายด้วยเหมือนกัน! งานนี้ใครที่กำลังสงสัยเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ เราหาคำตอบมาให้คุณแล้ว!
จริงหรือมั่ว มีรายได้จากเงินดิจิทัลอย่าง Forex ภาษีก็ต้องจ่ายด้วย!
สำหรับใครที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ เราขอบอกเลยว่า “เป็นเรื่องจริง” เนื่องจากรัฐบาลได้ออกมาประกาศให้มีการประกาศกฎหมายเกี่ยวกับการระดมทุนด้วยเงินดิจิทัล (ICO) และการเก็บภาษีจากการซื้อขายเงินดิจิทัล จุดประสงค์ก็เพื่อแก้ปัญหาการตรวจสอบแหล่งที่มาของเงินในการซื้อขายเงินดิจิทัล
ซึ่งจุดนี้เป็นประเด็นที่ถูกถกเถียงกันในหลายประเทศที่มีการซื้อขายเงินดิจิทัล เนื่องจากถ้าปล่อยให้ทุกคนสามารถซื้อขายอะไรก็ได้ โดยไม่ตรวจสอบแหล่งที่มาอาจถูกใช้ในเรื่องอาชญากรรม คอร์รัปชัน และการฟอกเงินได้
โดยกฎหมายฉบับนี้จะพูดถึงบริษัทที่จะเสนอขายเงินดิจิทัลว่าจะต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ก่อนทำการเสนอขาย ไม่เช่นนั้นจะถือว่าผิดกฎหมาย
นอกจากนี้การปล่อยข่าวลือเพื่อทำราคาก็จะมีความผิดด้วยเช่นกัน ซึ่งตามกฎหมายที่ออกมากล่าวว่า จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของกำไรจากการซื้อขายเงินดิจิทัลในอัตราร้อยละ 15
แปลว่าถ้าคุณทำกำไรได้ 100 บาทจากการซื้อขายเงินดิจิทัล คุณจะต้องเสียภาษี 15 บาท
หากลองเปรียบเทียบกับการลงทุนในตลาดหุ้น ถ้าบุคคลธรรมดาสามารถทำกำไรจากการซื้อขายได้ จะไม่ต้องเสียเงินภาษีใด ๆ ส่วนถ้าเป็นเงินปันผล เราจะโดนหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% สำหรับการลงทุนในพันธบัตร หรือหุ้นกู้ เราจะโดนภาษี 15% นั่นหมายความว่าภาษีที่จัดเก็บจากการซื้อขายเงินดิจิทัล จะใกล้เคียงกับการเก็บภาษีของการลงทุนในตราสารหนี้
เมื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่หลายคนสงสัยกันว่า สรุปแล้ว! มีรายได้จากเงินดิจิทัลอย่าง Forex ภาษีก็ต้องจ่ายด้วยกันไปแล้ว ก็มาสู่ขั้นตอนของการเสียภาษี Forex กันสักหน่อย เผื่อใครที่ต้องเสียภาษีแบบนี้ครั้งแรกจะได้ไม่งุนงงสับสนกัน โดยขั้นตอนมีเพียง 4 ข้อง่าย ๆ ดังนี้!
1. นับยอดเงินที่โอนเข้าบัญชีธนาคารไทย
สำหรับขั้นตอนแรกนั้นเรียกได้ว่าเป็นอะไรที่สำคัญอย่างมาก โดยคุณอาจจะขอ statement จากธนาคารเพื่อตรวจสอบ นับยอดเงินที่โอนเข้าบัญชีธนาคารไทย โดยให้ดูยอดเงินที่โอนเข้ามาตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 31 ธ.ค. พยายามบวกยอดอย่าให้ผิดเด็ดขาด เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง
2. ยอดหน้า History Payment ต้องระวัง
เรื่องนี้เรียกได้ว่าเป็นอะไรที่สำคัญไม่แพ้กันกับขั้นตอนแรก เนื่องจากยอดหน้า History Payment นั้นมีเรทการแลกเงินบาทไม่เหมือนกัน อาจทำให้ตัวเลขที่ออกมาคลาดเคลื่อน ไม่ตรงกับยอดที่เข้ามาในบัญชีธนาคารไทยได้จึงควรหลีกเลี่ยงยอดหน้า History Payment ที่อยู่ในโบรกเกอร์มาคำนวณเด็ดขาด!
3. ยอดเงินครบถ้วน
อุตส่าห์ตรวจทานขั้นตอนที่ 1 และขั้นตอนที่ 2 มาเป็นอย่างดี จะให้มาพลาดในขั้นตอนที่ 3 แบบนี้คงไม่ดีแน่ เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นตามมา หากคุณมีหลายธนาคารเราขอแนะนำให้คุณนำยอดทั้งหมดมารวมกันให้ครบถ้วนแล้วจึงคิดรวมกันทีเดียว
4. เก็บ Statement ไว้ให้ดี
สำหรับเอกสารอ้างอิงนี้เป็นอะไรที่สำคัญมาก คุณควรนำยอดเงินในเอกสารทั้งหมดไปกรอกลงในเอกสาร ภ.ง.ด.90 ห้ามกรอกเลขผิดเป็นอันขาด เสร็จแล้วแล้วจึงดำเนินการกรอกข้อมูลลงไป
และนี่ก็คือสาระดี ๆ ที่เรานำมาฝากคุณผู้อ่านในวันนี้ อย่าลืมว่าทุกการลงทุนล้วนมีความเสี่ยงอยู่เสมอ ทางที่ดีอย่าลืมเตรียมความพร้อมของตนเองให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ด้วยการใช้บริการกับโบรกเกอร์ Forex ชั้นนำที่มีความน่าเชื่อถือ มีใบรับรอง และเชื่อมต่อกับธนาคารไทยโดยตรง
หากคุณไม่ทราบว่าจะใช้บริการกับโบรกเกอร์ Forex ที่ไหนดี ให้ WikiFX เป็นคำตอบของคุณสิ! ด้วยบทความดี ๆ เกี่ยวกับการเทรด Forex ที่เราคัดสรรมาแล้วว่าตอบโจทย์ เคลียร์ทุกข้อสงสัยในการเทรด Forex เพื่อคุณ
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
OANDA
Doo Prime
ATFX
IC Markets Global
AvaTrade
Neex
OANDA
Doo Prime
ATFX
IC Markets Global
AvaTrade
Neex
OANDA
Doo Prime
ATFX
IC Markets Global
AvaTrade
Neex
OANDA
Doo Prime
ATFX
IC Markets Global
AvaTrade
Neex