简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:โดย Detchana.K - สัปดาห์นี้เป็นโค้งสุดท้ายแล้ว สำหรับการประกาศตัวเลขผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนในตลาด
โดย Detchana.K - สัปดาห์นี้เป็นโค้งสุดท้ายแล้ว สำหรับการประกาศตัวเลขผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หลังจากผ่านไปแล้วจำนวน 65 บริษัท ปรากฏว่ากำไรโดยภาพรวมลดลง 30%YoY และคาดว่าที่ยังไม่ได้ประกาศ ก็จะมีผลประกอบการอ่อนแอเช่นกันจากผลกระทบของโควิด-19 ติดตามรายละเอียดพร้อิมประเด็นสำคัญที่นักลงทุนไทยควรรู้สำหรับสัปดาห์นี้
1. สัปดาห์แห่งการรอ...รอกำไร 2Q63 .. รอ Trade War .. รอ GDP 2Q63
บล. เอเชียพลัส เผยว่าสัปดาห์นี้เป็นช่วงสัปดาห์สุดท้ายที่บริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่จะประกาศตัวเลขผลประกอบการ 2Q63 โดยเหลือบริษัทใน SET100 อีก 81 บริษัทที่จะประกาศ ซึ่งส่วนมากถูกคาดหมายว่าผลประกอบการจะอ่อนแอ จากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยล่าสุดมีการรายงานมาแล้ว 65 บริษัท (คิดเป็นสัดส่วน 28.2% ของมูลค่าตลาด) มีกําไรสุทธิ รวมอยู่ที่ 6.62 หมื่นล้านบาท ลดลง 9.8 QoQ และ
ลดลง 30%YoY
นักวิเคราะห์จาก บล.หยวนต้าเผยว่า หากอิงจากการประกาศออกมาแล้ว 19 บริษัทใน SET100 (26% Market Capitalization SET INDEX) มีกำไรสุทธิรวมกัน 5.46 หมื่นล้านบาท (-34%YoY -9%QoQ) ถูกกดดันจากกลุ่มธนาคารพาณิชย์ตามการตั้งสำรองที่สูงขึ้น ส่วนกลุ่มที่ กำไรสุทธิดีกว่า Bloomberg คาดจะเป็นกลุ่มสื่อสาร (ADVANC DTAC INTUCH)
คาดว่า ตลาดหุ้นไทย สัปดาห์นี้ SET Index จะผันผวนระหว่าง 1300–1350 จุด โดยประเด็นอื่นทีน่าสนใจได้แก่ข้อเสนอของภาคธุรกิจในการฟื้นฟูเศรษฐกิจเช่น 1)การให้รัฐกู้เงินเพิ่ม ซึ่งในส่วนนี้อาจไม่ได้เกิดขึ้นในระยะสั้น เนื่องจากจนถึงปัจจุบันการใช้จ่ายเม็ดเงินตาม พ.ร.ก. ล้านล้านบาท ยังคืบหน้าไม่ถึง 40% ประการที่ 2 ) ขยายเวลาการพักชําระหนี้ออกไปอีก ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของธนาคารแห่งประเทศไทย แต่การดําเนินการดังกล่าวอาจสร้างภาระให้กับสถาบันการเงินในระยะยาว และ3 ) มาตรการกระตุ้นอสังหาฯ เช่นลดค่าธรรมเนียมการโอนฯ-จดจํานอง บ้านราคาไม่เกิน 50 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นผลดีต่อผู้ป ระกอบการที่จับตลาดกลาง-บน
และสัปดาห์นี้เตรียมรอฟังการประกาศ GDP Growth งวด 2Q63 ของไทย ซึ่งคาดว่าน่าจะอยู่ที่ -15 % YoY ส่วนปัจจัยต่างประเทศ ช่วงปลายสัปดาห์จะมีการเจาจาทบทวนข้อตกลงการค้า สหรัฐฯ-จีน ซึ่งดูเหมือนจะคาดหวังผลเชิงบวกได้ยาก
2. ทั้งนักลงทุน และผู้เชี่ยวชาญมองราคาทองสัปดาห์นี้ยังเป็นบวก
ศุนย์วิจัยทองคำเผยผลสำรวจ จาก 14 ผู้เชี่ยวชาญในตลาดทองคำที่ได้มีส่วนร่วมตอบแบบสำรวจ ในจำนวนนี้มี 6 ราย หรือเทียบเป็น 43% คาดว่าราคาทองคำในสัปดาห์นี้จะปรับเพิ่มขึ้น ส่วนจำนวน 3 ราย หรือเทียบเป็น 21% คาดว่าราคาทองคำจะลดลง และ จำนวน 5 ราย หรือเทียบเป็น 36% คาดว่าราคาทองคำจะใกล้เคียงกับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับนักลงทุนทองคำ ได้เข้าร่วมตอบแบบสำรวจ จำนวน 371 ราย ในจำนวนนี้มี 247 ราย หรือเทียบเป็น 67% คาดว่าราคาทองคำในประเทศของสัปดาห์นี้จะปรับเพิ่มขึ้น ส่วนจำนวน 52 ราย หรือเทียบเป็น 14% คาดว่าราคาทองคำจะลดลง และ จำนวน 72 ราย หรือเทียบเป็น 19% คาดว่าราคาทองคำจะใกล้เคียงกับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานการณ์ราคาทองคำในประเทศ ทองคำแท่ง 96.5% ตามประกาศสมาคมค้าทองคำ ในสัปดาห์ที่ผ่านมาเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 29,050 – 30,400 บาท ต่อบาททองคำ โดยราคาทองคำปิดอยู่ที่ระดับ 30,000 บาท ต่อบาททองคำ ปรับเพิ่มขึ้น 1,000 เมื่อเปรียบเทียบกับราคาปิดของสัปดาห์ก่อนหน้า (สัปดาห์ก่อนหน้าปิดที่ 29,000 บาท)
อัพเดตราคาทองคำ GOLD SPOT XAU/USD
สำหรับนักลงทุนโกลด์ฟิวเจอร์ส อัพเดตราคา สัญญาซื้อขายทองคำล่วงหน้า ล่าสุด
สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตาม คือ
1. สถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และจีน เมื่อนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ลงนามคำสั่งไม่อนุญาตให้บริษัทในเครือสหรัฐฯ ทำธุรกิจกับบริษัทแม่ของเครือข่ายสังคมออนไลน์ “TikTok” และ “WeChat” โดยอ้างว่าเพื่อปกป้องความมั่นคงของชาติ โดยคำสั่งดังกล่าวจะมีผลในวันที่ 20 ก.ย. 2563
2. ประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ออกมาคาดการณ์ว่าอาจจะมีวัคซีนโควิด-19 ก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในวันที่ 3 พ.ย. 2563
3. รายงานความคืบหน้ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เพื่อรับมือกับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
3.เงินบาทสัปดาห์นี้มีแนวโน้มซื้อขายในกรอบ 31.00-31.40 ต่อ ดอลลาร์
ศูนย์วิจัยกรุงศรี เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทUSD/THB สัปดาห์ก่อนปิดแข็งค่าที่ 31.16 ต่อดอลลาร์ หลังซื้อขายในกรอบ 30.99-31.29 โดยเงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบ 1 เดือนขณะที่ราคาทองคําในตลาดโลกพุ่งสูงขึ้นทําสถิติใหม่ อย่างต่อเนื่อง ส่วนคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)มีมติ เป็นเอกฉันท์ให้ คงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ตามคาด ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิในตลาดหุ้นและพันธบัตรไทย 4.4 พันล้านบาท และ 3.3 พันล้านบาท ตามลําดับ
เงินบาทสัปดาห์นี้มีคาดว่าซื้อขายในกรอบ 31.00-31.40 ต่อ ดอลลาร์ โดยนักลงทุนจะติดตามท่าทีของสหรัฐฯกับจีนก่อน การเจรจาการค้าวันที่ 15 ส.ค. รวมถึงประเด็นข้อกฎหมาย ของคําสั่งฝ่่ายบริหารซึ่งประธานาธิบดีทรัมป์ ของสหรัฐฯลง นามเพื่อให้จ่ายสวัสดิการว่างงาน 400 ดอลลาร์ต่อสัปดาห์แก่ชาวอเมริกันที่ตกงานเพราะ COVID-19 หลังจากที่สมาชิก พรรคเดโมแครตและรีพับลิกันไม่สามารถตกลงกันเรื่อง มาตรการกระตุ้นทางการคลัง นอกจากนี้ ตลาดจะให้ความสนใจกับดัชนีราคาผู้บริโภคและยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ ขณะที่แรงหนุนจากตัวเลขการจ้างงานอาจส่งผลให้ ในภาพรวมตลาดเข้าสู่ภาวะพักฐานในช่วงสั้นๆ
สําหรับปัจจัยในประเทศ เงินเฟ้อทั่วไปเดือน ก.ค.ลดลง 0.98% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยติดลบเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อติดลบน้อยกว่าที่ตลาด คาดไว้และเพิ่มสูงขึ้นจากเดือนมิ.ย.ตามราคาพลังงานและ ราคาอาหารสดที่ฟื้นตัว ขณะที่กนง.ระบุว่านโยบายการเงินที่ ผ่อนคลายมากตั้งแต่ต้นปีนี้รวมถึงมาตรการด้านการคลังและสินเชื่อจะสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและเอื้อให้อัตราเงินเฟ้อกลับสู่กรอบเป้าหมาย
{777}
โดยเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้ม ทยอยฟื้นตัวและจีดีพีไตรมาส 2/63 อาจจะออกมาดีกว่าที่ เคยประเมินไว้ แต่คาดว่าจะใช้เวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี ที่กิจกรรมโดยรวมจะกลับสู่ระดับก่อนการแพร่ระบาดของ COVID-19 นอกจากนี้ ทางการมองว่าค่าเงินบาทผันผวนสูงขึ้นตามการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ แต่หากเงินบาทแข็งค่าเร็วอาจพิจารณาความจําเป็นของมาตรการอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มเติม มองว่ากนง.จะคงดอกเบี้ยนโยบายต่อไปและเร่งกระจายสภาพคล่องสู่กลุ่มที่ได้รับผลกระทบให้ตรงจุดมากขึ้น
{777}
{22}
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
FOREX.com
TMGM
IC Markets Global
HFM
FXTM
Vantage
FOREX.com
TMGM
IC Markets Global
HFM
FXTM
Vantage
FOREX.com
TMGM
IC Markets Global
HFM
FXTM
Vantage
FOREX.com
TMGM
IC Markets Global
HFM
FXTM
Vantage