简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2563 ซึ่งกำหนดให้มีขึ้นในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 จะเป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐครั้งที่ 59 ซึ่งจัดทุกสี่ปี ผู้ออกเสียงเลือกตั้งจะเลือกผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีซึ่งจะเลือกตั้งประธานาธิบดีในวันที่ 14 ธันวาคม 2563
โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 45 และคนปัจจุบัน เริ่มการรณรงค์รับเลือกตั้งใหม่สำหรับการเลือกตั้งขั้นต้นพรรครีพับลิกัน ในขณะเดียวกัน อดีตรองประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้รับการเสนอชื่อเป็นตัวแทนพรรคเดโมแครต ซึ่งชนะสมาชิกวุฒิสภาจากรัฐเวอร์มอนต์ เบอร์นี แซนเดอร์ส ในการแข่งขันขั้นต้นกับผู้สมัครหลัก 27 คนเริ่มการรณรงค์เพื่อรับการเสนอชื่อของพรรคเดโมแครต ซึ่งเป็นจำนวนผู้สมัครมากที่สุดสำหรับพรรคการเมืองในการเมืองอเมริกันหลังยุคปฏิรูป
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ใช้กระบวนการที่เรียกว่า Electoral College หรือ คณะผู้เลือกตั้ง ซึ่งผู้ที่จะได้เป็นประธานาธิบดีต้องได้คะแนนจากคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral Voter) ของรัฐต่างๆ รวมกันอย่างน้อย 270 เสียง จากจำนวนทั้งสิ้น 538 เสียงแต่ละมลรัฐจะมีจำนวนคณะผู้เลือกตั้งไม่เท่ากัน เพราะขึ้นกับจำนวนประชากรของรัฐนั้น
วิธีคิดง่ายๆ คือคณะผู้เลือกตั้งจะเท่ากับจำนวนสมาชิกวุฒิสภา (ซึ่งมีได้รัฐละสองคนเท่ากัน) บวกกับจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นตัวแทนของรัฐนั้นๆ ในสภา Congress ของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ที่กรุงวอชิงตัน
ตัวอย่างเช่น รัฐ California มีคณะผู้เลือกตั้งรวม 55 คน ในขณะที่รัฐ Montana, North Dakota, South Dakota และ Wyoming มีคณะผู้เลือกตั้งเพียงแค่รัฐละ 3 คน เป็นต้น (หมายเหตุ: กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. แม้จะไม่มีสถานะเป็นรัฐ แต่กฎหมายก็กำหนดให้มีคณะผู้เลือกตั้งได้ 3 คนเช่นกัน)
รัฐส่วนใหญ่ของสหรัฐฯ ใช้กฎที่เรียกว่า Winner Takes All ซึ่งหมายถึงผู้สมัครเป็นประธานาธิบดีคนใดที่ได้คะแนนเสียง (popular vote) จากประชาชนของรัฐนั้นมากกว่าในการเลือกตั้ง (ไม่ว่าจะมากกว่าเพียง 50 หรือ 50,000 คะแนนก็ตาม) จะได้คะแนนจากคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral Vote) ของรัฐนั้นไปครองทั้งหมด
ประเด็นที่เราจะต้องจับตา “การเลือกตั้งสหรัฐ” ที่จะมีขึ้นช่วงปลายปีนี้ ระหว่างทรัมป์และไบเดนใครจะเป็นผู้ชนะ อีกทั้งติดตามนโยบายของแต่ละพรรคที่นำเสนอมาเพื่อช่วงชิงฐานเสียงนั้นมีอะไรบ้าง ซึ่งจะมีผลต่อประเทศทั่วโลก รวมประเทศไทยด้วย
ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจและสาธารณสุขครั้งใหญ่ของโลกที่เกิดจากโรคระบาด ที่สร้างภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายทศวรรษ ความสัมพันธ์กับจีนที่เหมือนว่ากำลังจะกลายเป็นสงครามเย็นในหลายมิติ (ทั้งด้านการค้า การลงทุน เทคโนโลยี และภูมิรัฐศาสตร์) และประเด็นการเมืองในประเทศสหรัฐที่แปลกแยกกันมากที่สุดในรอบหลายปี ทั้งประเด็นเชื้อชาติ ความเหลื่อมล้ำ และอื่นๆ
ถ้าวิเคราะห์ผลการเลือกตั้งจากการสำรวจคะแนนความนิยมในช่วงที่ผ่านมา ก็ต้องบอกว่า ประธานาธิบดี Trump มีคะแนนตามหลัง นาย Joe Biden ผู้สมัครจากพรรคเดโมแครตอยู่พอสมควรเพราะถูกมองว่าพลาดเรื่องการบริหารจัดการสถานการณ์ Covid-19 จนเศรษฐกิจที่ทำมาดีๆ มาตลอด เข้าสู่ภาวะถดถอย และถูกมองว่าเป็นผู้สร้างความแตกแยกในหลายๆ ประเด็น รวมถึงความขัดแย้งเรื่องสีผิว (เช่น จากกระแส Black Lives Matters ในช่วงที่ผ่านมา)
การคาดการณ์จากนักวิเคราะห์หลายสำนักฟันธงกันว่า ถ้าไม่ทำอะไรพลาดอย่างรุนแรง Biden มีโอกาสชนะเป็นประธานาธิบดีสหรัฐค่อนข้างเยอะ (แต่ก็ต้องระวัง เพราะตอนปี 2016 นักวิเคราะห์ก็ฟันธงว่า Clinton ชนะแน่ๆ) เพราะคะแนนเสียงนำอยู่ในหลายรัฐ รวมถึง รัฐที่เป็น swing state ที่เป็นจุดตัดสินผลการเลือกตั้งจริงๆ อย่างเช่น ฟลอริดา มิชิแกน เพนซิลวาเนีย และวิสคอนซิน เป็นต้น
แม้ว่ายังมีความไม่แน่นอนอยู่ค่อนข้างมาก แต่เราอาจจะต้องเริ่มจับตาดูว่า นโยบายอะไรที่ Biden และพรรคเดโมแครตกำลังนำเสนอ ที่อาจจะมีผลกระทบกับโลกและประเทศไทย เพราะทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองในประเทศใหญ่ ก็อาจจะมีการเปลี่ยนทิศทางและวิธีการดำเนินนโยบายระหว่างประเทศ ที่อาจจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่
นโยบายหลักๆ ที่ Biden นำเสนอมีหลายเรื่องที่อาจจะตรงข้ามกับสิ่งที่ประธานาธิบดี Trump ทำในรอบเกือบสี่ปีที่ผ่านมา และอาจจะเปลี่ยนทิศทางประเทศสหรัฐได้ เช่น เรื่องการขึ้นภาษีนิติบุคคล ที่ประธานาธิบดี Trump ปรับลดลงมาในช่วงแรกๆ หลังรับเลือกตั้ง (และอาจจะมีผลต่อกำไรของบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐได้) การเพิ่มกฎระเบียบในการกำกับสถาบันการเงิน นโยบายสาธารณสุขและประกันสุขภาพ และนโยบายเกี่ยวกับเรื่องคนเข้าเมือง
นอกจากนี้ การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯจะเป็นตัวกำหนดนโยบายพลังงานของอเมริกาซึ่่งจะมีความเกี่ยวข้องกับน้ำมันดิบและกระบวนการผลิตพลังงานเชื้อเพลิงภายในชาติ ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ชอบที่จะเปิดโอกาสให้ธุรกิจแข่งขันกันเองและยังคงจะสนับสนุนการขุดน้ำมัน WTI แบบเดิมต่อไป ส่วนผู้ท้าชิงตำแหน่งเก้าอี้ประธานาธิบดีนายโจ ไบเดนมีแนวคิดจะสนับสนุนตลาดพลังงานธรรมชาติสีเขียวและจะจำกัดหรือตัดขั้นตอนที่ก่อให้เกิดไฮโดรคาร์บอนในปี 2021
นี่คือความต่างระหว่างนโยบายพลังงานที่อยู่กันคนละฝั่งและจะเป็นช่องว่างที่ก่อให้เกิดการผันผวนของราคาในตลาดพลังงาน ยิ่งใกล้วันเลือกตั้งเข้ามามากเท่าไหร่ ความผันผวนอย่างมีนัยสำคัญจะยิ่งเห็นชัดขึ้นในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ตัวหลักๆ เช่น น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติและเอทานอล ดังนั้นในฐานะนักลงทุนคุณต้องจัดการบริหารความเสี่ยงในช่วงเวลาดังกล่าวให้ดี นโยบายการบริหารจัดการพลังงานใหม่อาจกลายเป็นแนวต้านสำคัญของตลาดพลังงาน ความผันผวนที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ต้นปีจะยังส่งผลต่อไปจนถึงสิ้นปี เราเชื่อว่าพายุความผันผวนนี้จะไม่จบลงจากกว่าจะถึงปี 2021 รวมถึงความผันผวนของค่าเงินด้วย เพราะฉะนั้น เทรดเดอร์คงจะต้องระมัดระวังในการเทรดเก็งกำไรนับจากนี้ อาจจะมีความผันผวนและรุนแรงได้มากอยู่พอสมควร
ปัจจัยของค่าเงินในเดือนของสิงหาคมที่ผ่านมา คงจะต้องมาให้ความสำคัญของค่าเงินและพันธบัตรของสหรัฐฯ มีการซื้อขายที่เพิ่มขึ้นของพันธบัตรที่ติดลบซึ่งทำจุดสูงสุดที่ $17 ทำให้นักลงทุนหลายรายเข้าซื้อพันธบัตรสหรัฐฯ ผลตอบแทน 1.5% ของพันธบัตรสหรัฐฯ ซึ่งเราอาจดูไม่น่าสนใจมากนัก แต่เมื่อเทียบกับ -0.7% ของเยอรมนีและ -0.26% ของญี่ปุ่น ก็จะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าในการเข้าซื้อ เพราะให้ผลตอบแทนที่มากกว่า อย่างไรก็ตาม การย้ายไปซื้อพันธบัตรสหรัฐฯ กลับสร้างความปวดหัวให้ทำเนียบขาวเนื่องจากดอลลาร์แตะระดับสูงสุดในรอบสองปีเมื่อวันศุกร์(28/8/2020) การแข็งค่าของดอลลาร์น่าจะดึงความสนใจของประธานาธิบดี Trump ได้มากกว่าเนื่องจากเขาอาจบอกให้กระทรวงการคลังเข้าแทรกแซงค่าเงิน หาก Steven Mnuchin รัฐมนตรีกระทรวงการคลังเริ่มสนใจแนวคิดที่เข้าแทรกแซงค่าเงินดอลลาร์ ก็จะทำให้เรามีความเสี่ยงเกี่ยวกับข้อขัดแย้งทางการค้าที่กำลังดำเนินอยู่มากขึ้น ซึ่งถือเป็นสงครามการค้าค่าเงินในขณะนี้
ความกังวลหนึ่งที่นักลงทุนจะต้องพบเจอ คงหนีไม่พ้นเรื่องความผันผวนในตลาดหุ้นและตลาดฟอเร็กซ์ โดยเฉพาะสำหรับนักลงทุนมือใหม่ที่ยังมีประสบการณ์น้อยเมื่อเจอสถานการณ์ “หุ้นตก” อาจตกใจ เพราะฟังดูเป็นเรื่องใหญ่จนทำอะไรไม่ถูก โดยส่วนใหญ่แล้วสาเหตุหลัก ๆ มาจากสภาพเศรษฐกิจของประเทศเราในช่วงเวลานั้น ๆ ต้องหาเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงโดยนักลงทุนติดตามข่าวสารทางเศรษฐกิจหรือข่าวด่วนที่มีผลต่อ Forex ผ่านทางแอปพลิเคชัน WikiFX ก็จะรู้ทันข่าวสารได้ทันเวลา
ถึงแม้ว่าอาการ “หุ้นตกหรือกราฟผันผวนรุนแรง” จะเป็นเรื่องน่ากังวล แต่ก็เป็นสถานการณ์ปกติที่ต้องพบเจอกันอยู่เรื่อย ๆ
ดังนั้นแทนที่จะมัวแต่กังวล เราควรมาทำความเข้าใจกับปัญหาต่าง ๆ ของสภาวะนี้ พร้อมรับมือให้ทัน เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเองด้วยวิธีการเหล่านี้
1. กลับมาวิเคราะห์การลงทุนของตัวเอง
สิ่งแรกที่เราควรทำเมื่อพบกับปัญหาความผันผวนของราคา คือต้องตั้งสติให้ดี และค่อย ๆ คิดวิเคราะห์เพื่อหาทางแก้ไข ด้วยวิธีการกลับมาศึกษาข้อมูล ทำความเข้าใจคู่เงินแต่ละตัวที่ตัวเองได้ถือไว้ ถ้าเราเรียนรู้ ก็จะมีความเข้าใจในทิศทางของตลาดและการเปลี่ยนแปลงมากยิ่งขึ้น การรู้ทันความผันผวนของราคาตลาดล่วงหน้าจึงเป็นสิ่งที่ดีในการวิเคราะห์แผนการลงทุน โดยเราสามารถตรวจสอบความผันผวนของราคาตลาดล่วงหน้าได้ทางปฏิทินเศรษฐกิจบนแอปพลิเคชัน WikiFX
2. ติดตามข่าวเศรษฐกิจอย่างสม่ำเสมอ
ในภาวะตลาดผันผวน การติดตามข่าวเศรษฐกิจหรือข่าวอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องผ่านแอปพลิเคชัน WikiFX ยิ่งมีความจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน บางสถานการณ์ที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องหุ้นหรือเศรษฐกิจโดยตรงก็อาจสร้างผลกระทบได้ เช่น เรื่องการเมืองภายในประเทศ ก็สามารถทำให้กระทบกับการลงทุนในภาพใหญ่ได้ หรือเรื่องดราม่าเล็กน้อยจากผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่งที่อยู่ในตลาดหุ้น แล้วกลายเป็นข้อถกเถียงในสังคมนั้น ๆ ในวันถัดมากราฟในหุ้นนั้นก็อาจจะดิ่งลงก็ได้ การลงทุนจึงไม่ใช่แค่การวิเคราะห์กราฟหรือข้อมูลพื้นฐานในการลงทุนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น การลงทุนจึงเป็นมิติที่มีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน หากเราติดตามและพยายามทำความเข้าใจบริบทสังคมและเศรษฐกิจตามไปด้วย ก็เป็นการช่วยเสริมให้เข้าใจเหตุผลที่หุ้นนั้น ๆ มีการเปลี่ยนแปลง
3. กระจายทรัพย์สินในการลงทุนให้มากกว่าเดิม
การลดความเสี่ยงด้วยการกระจายทรัพย์สินในการลงทุนก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือก เพราะในยามที่ตลาดหุ้นและค่าเงินเกิดการผันผวน ยากที่จะคาดเดาทิศทางได้ เราควรบริหารเงินลงทุนอย่างระมัดระวัง คุณอาจต้องเลือกลงทุนในรูปแบบที่ความเสี่ยงต่ำและมีเสถียรภาพมั่นคง อย่าง กองทุนรวม, พันธบัตรรัฐบาล และตราสารหนี้ เพราะการลงทุนรูปแบบเหล่านี้มีความเสี่ยงที่ต่ำกว่า และเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ล้มได้ยาก ซึ่งต่างกับการเก็งกำไรจากค่าเงินที่มีความผันผวนสูงตามกลไกของตลาด แต่ก็มีข้อควรระวังสำหรับกองทุนรวม เนื่องจากกองทุนรวมมีหลากหลายประเภท คุณควรเลือกรูปแบบกองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ ให้หลีกเลี่ยงกองทุนที่มีการลงทุนกับอสังหาริมทรัพย์ หรือทองคำ เพราะมีความผันผวนสูง ก่อนพิจารณาลงทุนในกองทุนรวมก็ควรศึกษารายละเอียดให้ถี่ถ้วน
4. ปรับพอร์ตให้เข้ากับสถานการณ์เศรษฐกิจ
การปรับพอร์ตให้เข้ากับสถานการณ์ก็เป็นสิ่งจำเป็นไม่แพ้กัน ท่ามกลางความผันผวน
และในทางตรงกันข้ามคู่ไหนที่ไปต่อไม่ได้จริง ๆ เราก็ต้องทำการ Cut Loss เพื่อป้องกันส่วนที่เหลือเอาไว้บ้าง ไม่ให้เราขาดทุนมากเกินไป หากคุณกำลังลงทุนในระยะสั้น การ Cut Loss สามารถทำได้เลยเพื่อเปลี่ยนไปลงทุนหรือเก็งกำไรตัวอื่นแทน แต่หากเป็นการลงทุนระยะยาว อาจจะต้องใจเย็นและคอยติดตามความผันผวนผ่านทางปฏิทินเศรษฐกิจบนแอปพลิเคชัน WikiFX ให้ดีก่อนตัดสินใจทำการ Cut Loss
และประเด็นหนึ่งที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงจนส่งผลกระทบต่อประเทศไทย น่าจะเป็นประเด็นเรื่องนโยบายการค้า ซึ่งคาดว่าการเผชิญหน้าระหว่างสหรัฐกับจีนในหลายเรื่องอาจจะไม่ได้ลดความเข้มข้นลงไป และความขัดแย้งน่าจะยังคงอยู่ แต่คาดว่า Biden น่าจะมีวิธีกดดันจีนด้วยวิธีที่ละมุนละม่อม และหาแนวรวมจากชาติต่างๆ มากกว่าการใช้ twitter และการเปิดศึกหลายด้านแบบที่ประธานาธิบดี Trump ทำมา
หนึ่งในความเป็นไปได้ คือการกลับเข้าร่วมในข้อตกลง Transpacific Partnership (TPP) อีกครั้ง ซึ่งเป็นความพยายามที่ประธานาธิบดี Obama เริ่มต้นไว้ เพื่อหาพันธมิตรเป็นแนวร่วมกดดันทางการค้าและเศรษฐกิจกับจีน แต่หลังจากชนะประธานาธิบดี Trump กลับถอนตัวออกจาก TPP จนทำให้ประเทศที่เหลือรวมตัวกันเป็น CPTPP แต่ขาดความน่าสนใจไปมากเพราะไม่มีตลาดใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกาเข้าร่วม
หาก Biden ชนะการเลือกตั้งขึ้นมาจริงๆ และคุมสภาจนสามารถผลักประเด็นนี้อาจจะเป็นประเด็นที่เปลี่ยนสมการในการตัดสินใจว่าประเทศไทยจะเข้าร่วม TPP ด้วยหรือไม่ ที่ผ่านมามีกระแสไม่เห็นด้วยกับการเข้าร่วม CPTPP อยู่ค่อนข้างมาก เพราะมองว่าเราได้ประโยชน์ไม่มากนัก เพราะมีเพียงเม็กซิโกและแคนาดาเท่านั้น ที่ไทยยังไม่มีข้อตกลงการค้าเสรีด้วย แต่เราอาจจะต้องทำการปฏิรูปในหลายด้าน รวมถึงยอมรับข้อตกลงที่อาจจะมีผลกระทบต่อภาคเกษตร ราคายา และประเด็นอื่นๆ ได้
แต่หากสหรัฐกลับมาเข้าร่วมจริงๆ ต้นทุนของไทยในการไม่เข้าร่วมอาจจะเพิ่มขึ้นพอสมควร เพราะอาจจะทำให้ไทยเสียความสามารถในการแข่งขันกับตลาดที่สำคัญอย่างสหรัฐ และถ้าไทยไม่อยู่ใน TPP นักลงทุนบางประเทศ เช่น ญี่ปุ่น อาจจะพิจารณาย้ายฐานการผลิตจากไทย ไปยังประเทศอื่น (เช่น เวียดนาม) ที่อยู่ใน TPP เพื่อให้ได้ผลประโยชน์ด้านภาษีอย่างเต็มที่
เราอาจจะต้องพิจารณาและถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง และเปิดเผยต่อสาธารณะว่า ว่าสมดุลระหว่างประโยชน์และต้นทุนอยู่ตรงไหน เราจะตัดสินใจเรื่องนี้อย่างไร และหาวิธีบรรเทา หรือชดเชยคนที่เสียผลประโยชน์ในเรื่องเหล่านี้ได้อย่างไร เพื่อทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศ
ดังนั้นการเลือกตั้งของสหรัฐที่กำลังจะมาถึง จะส่งผลกระทบกับเทรดเดอร์และประเทศไทยอย่างไร สามารถติดตามความเคลื่อนไหวต่อไปได้ทางแอปพลิเคชัน WikiFX ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลโบรกเกอร์ และยังมีการอัพเดตข่าวสารทางเศรษฐกิจแบบเรียล-ไทม์อีกด้วย
บทความนี้ออกโดยแอปพลิเคชัน WikiFX สามารถโหลดแอปพลิเคชัน WikiFX แล้วติดต่อมาที่เพจ wikifx.th เพื่อขอรับสมาชิก VIP ฟรี 1 ปีเพื่อตรวจสอบโบรกเกอร์ของท่านได้ลึกสุดขั้วไปเลย
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
FXCM
Pepperstone
FBS
FP Markets
FOREX.com
VT Markets
FXCM
Pepperstone
FBS
FP Markets
FOREX.com
VT Markets
FXCM
Pepperstone
FBS
FP Markets
FOREX.com
VT Markets
FXCM
Pepperstone
FBS
FP Markets
FOREX.com
VT Markets