简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ปฏิทินเศรษฐกิจ (Economic Calendar) คือ เครื่องมืออย่างเป็นทางการที่ใช้เผยข้อมูลทางเศรษฐกิจหรือการประกาศนโยบายทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่สำคัญ ซึ่งมักจะเป็นสิ่งที่ ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ และยังส่งผลกระทบต่อ Forex อีกด้วย เช่น การประกาศอัตราดอกเบี้ย อัตราการว่างงาน เป็นต้น
สำหรับตัวเลขที่ประกาศในตารางปฏิทิน Forex คือ ข้อมูลที่แสดงถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น ๆ รวมถึงแนวทางที่ผู้มีอำนาจของประเทศนั้นๆ จะกำหนดนโยบายเศรษฐกิจที่จะดำเนินในประเทศของตน
นอกจากนี้ปฏิทินข่าว Forex ยังมีการบอกคร่าว ๆ เอาไว้อีกด้วยว่า “ข่าวไหนส่งผลกระทบต่อค่าเงินสูงที่สุด” โดยเทรดเดอร์สามารถดูปฏิทินข่าว Forex ได้ทางแอปพลิเคชัน WikiFX โดยปฏิทินข่าว Forex จะอยู่ในฟังก์ชัน “ทั้งหมด” แล้วจะเจอฟังก์ชัน “ปฏิทิน”
สำหรับข่าว Forex บนปฏิทินเศรษฐกิจ ที่ส่งผลกระทบต่อความผันผวนของค่าเงิน ได้แก่
1. ข่าวการจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯ(Nonfarm): ข่าวนี้เป็นข่าวที่สำคัญที่สุดและส่งผลกระทบต่อค่าเงินมากที่สุด เพราะนอกจากจะกระทบต่อตลาด Forex แล้ว ยังส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นและตลาดทองคำอีกด้วย
2. ข่าวอัตราการว่างงาน: ข่าวนี้ก็เป็นข่าวที่สำคัญไม่ต่างจากข่าวการจ้างงาน แต่ข่าวนี้ไม่มีความซับซ้อนแต่อย่างใด หากมีการประกาศตัวเลขที่สูงของอัตราการว่างงาน นั้นก็แสเงว่า “คนตกงานเยอะ” นั่นก็จะส่งผลต่อตลาด Forex และตลาดหุ้นแน่นอน
3. อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ (GDP): ตัวเลขนี้ถือว่าเป็นตัวเลขที่ทำความเข้าใจได้ง่ายที่สุด GDP คือการวัดมูลค่ารวมของสินค้าและบริการของประเทศ ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ค่า GDP ที่มากขึ้น หมายถึง มีการลงทุนและมีการผลิตสินค้าและบริการมากขึ้น ซึ่งจะต้องสอดรับกับความต้องการของประชาชน ดังนั้น GDP ที่เป็นบวก จะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
4. อัตราดอกเบี้ย: การประกาศถึงอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง ถือเป็นดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งเป็นดอกเบี้ยที่กำหนดไว้เพื่อส่งสัญญาณให้แก่ธนาคารเอกชนต่าง ๆ การปรับเพิ่มหรือลดดอกเบี้ยนโยบายจะเป็นไปเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และการขึ้นดอกเบี้ยจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น ส่วนการลดดอกเบี้ยจะทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลง
5. อัตราเงินเฟ้อ (CPI) : การวัดอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งที่ใช้เป็นประจำ เช่น อาหาร, ค่าเช่า, ค่าเดินทาง, ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดนี้ เราเรียกมันว่า “อัตราเงินเฟ้อ” สำหรับตัวเลข CPI จะสะท้อนถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจ หากประชาชนมีรายได้ที่ดีจะส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการขยับตัวขึ้น ดังนั้นค่า CPI ก็เพิ่มขึ้นนั้นหมายถึง เศรษฐกิจกำลังขยายตัว แต่ถ้าหากการ CPI เพิ่มขึ้นสูงในตอนที่ตกอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจถดถอยประชาชนไม่ได้มีรายได้ไม่เพียงพอนั่นไม่ได้เป็นสิ่งที่ดีนัก
ดังนั้นปฏิทินเศรษฐกิจ เป็นสิ่งสำคัญที่เทรดเดอร์ต้องหมั่นทำความเข้าใจ เพราะหากคุณรู้จักใช้ประโยชน์จากความผันผวนในจังหวะการประกาศข่าว คุณจะเป็นเทรดเดอร์ที่มีความได้เปรียบต่อผู้เล่นอื่น ๆ ในตลาด
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
FXTM
Vantage
Pepperstone
ATFX
FOREX.com
OANDA
FXTM
Vantage
Pepperstone
ATFX
FOREX.com
OANDA
FXTM
Vantage
Pepperstone
ATFX
FOREX.com
OANDA
FXTM
Vantage
Pepperstone
ATFX
FOREX.com
OANDA