简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เลือกโบรกเกอร์ผิดคิดจนตัวตาย คำกล่าวนี้ไม่เกินจริงเลย เพราะหากเราพยายามที่จะทำกำไรที่ได้มาด้วยความยากลำบาก แต่พอได้กำไรกับถอนเงินกำไรไม่ได้นี่เศร้ามาเลยนะ ข่าวมีให้เห็นกันบ่อยมากตลอดระยะเวลาที่ผู้เขียนอยู่ในวงการมา 7-8 ปี ไม่มีปีไหนเลยที่จะไม่เจอปัญหาโบรกเกอร์ถอนเงินไม่ได้ เรียกว่าเจออยู่ตลอดๆ
เป็นที่ทราบแล้วว่าตลาดฟอเร็กซ์ในเมืองไทยยังไม่มีกฎหมายรองรับ จะมีเพียงแต่กลุ่มสถาบันการเงินใหญ่ๆเท่านั้นที่รัฐบาลอนุญาตให้ทำการซื้อ-ขาย เทรดค่าเงินได้ อย่างเช่นธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นต้น สาเหตุคงสืบเนื่องมาจากประวัติในอดีตที่ไม่ค่อยจะดีนัก อีกทั้งการลุงทุนมีความเสี่ยงสูง ต้องใช้เงินในจำนวนมาก(ในอดีต)ด้วยเหตุต้องใช้เงินจำนวนมากนี่เองทำให้รัฐบาลหวั่นเกรงกลัวเหล่ามิจฉาชีพใช้เป็นช่องทางนำเงินไปฟอกจึงไม่อนุญาตให้มีบริษัทโบรกเกอร์ฟอเร็กซ์ในประเทศ มีกฎหมายห้ามแชร์ลูกโซ่ และระดมทุนเพื่อการเทรดค่าเงิน
ตัวอย่างแชร์ลูกโซ่ที่ใช้ฟอเร็กซ์มากล่าวอ้าง เช่น Forex3D ที่มูลค่าความเสียหายมากกว่า 4 หมื่นล้านบาทเป็นต้น มีการโฆษณาเชิญชวนกันในโลกออนไลน์ ให้ไป “เทรดฟอร์เร็กซ์”ที่ให้ผลตอบแทนสูงเกินความเป็นจริง ผ่านโบรกเกอร์Forex3D ซึ่งไม่มีใบอนุญาต ไม่มีการกำกับดูแลอย่างถูกต้องตามกฎหมายใดๆ ซึ่งWIKIFX กล่าวเตือนอยู่เป็นประจำ จนบัดนี้ระยะเวลาปีกว่า คนที่ชวนระดมทุนอยู่ก็ยังลอยนวลอยู่ ผู้เสียหายยังติดตามเงินไม่ได้ค่ะ
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ได้อธิบายเกี่ยวกับกฎหมายไทยและตลาดฟอเร็กซ์ ดังนี้
“นักลงทุนที่ดำเนินธุรกรรมในลักษณะดังกล่าว(ซื้อขาย ฟอเร็กซ์) ด้วยตนเองสามารถกระทำได้ แต่ผู้ลงทุน นั้นต้องรับผิดชอบในความเสี่ยงที่อาจเกิดความเสียหายจากการขาดทุนในการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ต่างประเทศของท่านเอง ทั้งนี้ ปัจจุบันยังไม่มีการออกใบอนุญาตให้ผู้ใดประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำระเงิน ต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอัตราการแลกเปลี่ยน ในลักษณะการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยน เงินตราต่างประเทศ ดังนั้น หากมีบุคคลใดมาชักชวนให้ร่วมลงทุนในลักษณะดังกล่าวให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ท่านอาจโดนมิจฉาชีพหลอกลวงและอาจได้รับความเสียหายได้ กรณีที่มีการชักชวนประชาชนให้ลงทุนในการเก็งกำไรอัตราแลกปเลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ โดยที่ผู้ชักชวนดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลนั้น ไม่มีใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับ ปัจจัยชำระเงินต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน การกระทำดังกล่าวถือว่าเข้าข่าย เป็นการกระทำความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนตามมาตรา 4 วรรคสอง แห่งพระราชกำหนด การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527”
อ้างอิง fpo.go.th สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)
เราต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่าหากเกิดความเสียหาย โดนฉ้อโกง จากโบรกเกอร์ฟอเร็กซ์ ท่านต้องรับผิดชอบความเสียหายนั้นด้วยตัวเอง เพราะจะไม่สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายในประเทศไทยได้ แต่สามารถฟ้องร้องไปที่หน่วยงานที่จดทะเบียนของโบรกเกอร์ที่อยู่ต่างประเทศได้
แล้วเราจะมีหลักการเลือกโบรกเกอร์อย่างไรล่ะ ที่จะลดความเสี่ยงตรงจุดนี้ไปได้
การพิจารณาเลือกโบรกเกอร์ Forex ที่มีความมั่นคง มีใบอนุญาต มีความน่าเชื่อ ทั่วโลกให้การยอมรับ จึงมีความสำคัญเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว
ซึ่งในมุมมองของผู้เขียน ขออ้างอิงจากเกณฑ์การพิจารณาจาก แอพลิเคชั่น Wikifx เพราะเมื่อพิจารณาแล้ว เป็นเกณฑ์ที่มาตรฐานและสามารถตรวจสอบได้ในทุกๆหัวข้อค่ะ
เกณฑ์การพิจารณาจะมีอยู่กัน 5 หัวข้อนะคะ
1.ใบอนุญาต โบรกเกอร์ Forex
โบรกเกอร์ฟอเร็กซ์ ควรจดทะเบียนที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ ตรวจสอบได้ โบรกเกอร์ฟอเร็กซ์ต่างประเทศ ที่มีการจดทะเบียนโดยถูกต้องนั้น จะมีหลายหน่วยงานที่ให้ความคุ้มครองในต่างประเทศ และที่ผ่านมา เราแทบไม่เคยพบการทุจริตของ โบรกเกอร์ที่จดทะเบียนกับหน่วยงานใหญ่ๆ เหล่านั้นเลย ตัวอย่าง ใบอนุญาตที่โบรกเกอร์หลายๆ โบรก ควรจะจดทะเบียน เพราะมีความน่าเชื่อสูงดังต่อไปนี้
ใบอนุญาต FCA
FCA UK (Financial Conduct Authority) สหราชอาณาจักร
-โบรกเกอร์ที่ควบคุมโดย FCA ต้องมีเงินทุนหมุนเวียน อย่างน้อย 1 ล้านปอนด์
-เงินชดเชย 50,000 ปอนด์ต่อบัญชี ในกรณีที่โบรกเกอร์ล้มละลาย
ใบอนุญาต CySEC
CySEC (Cyprus Securities and Exchange Commission) ไซปรัส
-โบรกเกอร์ที่จดทะเบียนกับ CySEC ต้องมีเงินทุนหมุนเวียน อย่างน้อย 750,000 ยูโร
-เงินชดเชยเงิน 20,000 ยูโรต่อบัญชี ในกรณีที่โบรกเกอร์ล้มละลาย
ใบอนุญาต ASIC
ASIC (Australian Securities and Investments Commission) ออสเตรเลีย
-โบรกเกอร์ที่จดทะเบียนกับ ASIC ต้องมีเงินทุนหมุนเวียน อย่างน้อย 1 ล้านปอนด์
ใบอนุญาต IFSC
IFSC (International Financial Services Commission) เบลีซ,อเมริกากลาง
-โบรกเกอร์ที่จดทะเบียนกับ IFSC ต้องมีเงินทุนหมุนเวียน อย่างน้อย 500,000 เหรียญ
จริงๆแล้วมีหน่อยงานมากมายในประเทศต่างๆที่กำกับดูแลและมีออกใบอนุญาตของโบรกเกอร์ฟอเร็กซ์ค่ะ เราสามารถเข้าไปดูที่แอพลิเคชั่นของWIKIFXได้เลยค่ะ
หลายๆโบรกเกอร์ที่เป็นของคนไทยมักจะไม่มีการกำกับดูแลจากหน่วยงานต่างๆที่ยกมา ผู้เขียนจะไม่แนะนำให้ใช้โบรกเกอร์ที่ไม่มีใบอนุญาตนะคะ เพราะเสี่ยงมากๆ
2.เกณฑ์ของดัชนีธุรกิจ
ดูจากการประเมินผลในภาคธุรกิจอย่างเป็นระบบ ประเมินดูความยั่งยืนของบริษัท และสำรวจพื้นที่จริงของบริษัท
บริษัทมีการดำเนินธุรกิจอย่างไร เปิดมาในระยะเวลาเท่าไรแล้ว และมีอยู่จริงหรือไม่ ซึ่งเราๆก็คงไม่สะดวกที่จะเดินทางไปถึงทีทำการโบรกเกอร์นั้นๆ เราสามารถดูได้ที่แอพลิเคชั่นWIKIFX ได้เลยค่ะว่า โบรกเกอร์ที่เราสนใจ มีตัวตนจริงหรือไม่ มีบริษัท มีที่ตั้งจริงหรือไม่ เหมือนเราไปมาเองเลยค่ะ
3.เกณฑ์การจัดการความเสี่ยง
การพิจารณาที่เราจะต้องดูต่อมาก็คือ ความเสี่ยงของเงินลงทุนของเราเมื่อเราใช้โบรกเกรอ์นั้นๆไปแล้วจะสูญหายหรือไม่ โดยพิจารณาจากข่าวของผู้ลงทุนที่เคยใช้โบรกเกอร์ดังกล่าวที่เราสนใจว่ามีปัญหาหรือไม่ ระบบการทำงานหลังบ้าน เซิรฟเวอร์ที่ให้เทรดเดอร์ใช้เทรดมีความเสถียรหรือเคยพบเจอปัญหาบ่อยแค่ไหน มีปรากฎการณ์ของแท่งกราฟมหัศจรรย์หรือไม่ หากเราค้นหาข้อมูลแล้วพบความผิดปกติแบบนี้ก็ถือเป็นความเสี่ยง ที่เราควรพิจารณาหลีกเลี่ยงที่จะเลือกใช้ค่ะ
4.เกณฑ์การพิจารณาซอฟท์แวร์
เมื่อโบรกเกอร์ที่เราสนใจผ่านเกณฑ์ทั้ง3ข้อ ที่กล่าวมา เราควรพิจารณาทดลองใช้โปรแกรมการเทรด ทดลองเปิดบัญชี ทดลองเทรดดูว่ามีความเสถียร ตอบสนองได้ดีแค่ไหนค่ะ ซึ่งเราอาจจะพิจารณาด้วยตัวเองก็ได้หรือดูคพแนนการพิจารณาจากแอพลิเคชั่นWIKIFXได้ เพราะเค้ามีการตรวจสอบโดยวิศวะกร ผ่านหัวข้อการพิจารณามากกว่า 20 หัวข้อ เชื่อความสมบูรณ์ของซอฟแวร์ ความปลอดภัยในการรักษาข้อมูลของผู้ลงทุน เป็นต้นค่ะ
5.เกณฑ์การตรวจสอบการกำกับดูแล
ถึงแม้ว่าเราจะให้ตรวจสอบในเรื่องของใบอนุญาตตั้งแต่แรก แต่เราก็ควรที่จะดูต่อว่า โบรกเกอร์ที่ได้ใบอนุญาตนั้นๆ ได้ใบอนุญาตในระดับใด มีการตรวจสอบจากกิจการภายในองค์กร และการตรวจสอบของผู้กำกับดูแลในอนุญาตต่อโบรกเกอร์นั้นๆ มากน้อยแค่ไหน เรื่องกฎหมายต่างๆที่กำกับดูแลโบรกเกอร์นั้นๆ คุ้มครองนักลงทุนมากน้อยแค่ไหนด้วยค่ะ ซึ่งเช่นเคยเราสามารถพิจารณาเกณฑืการให้คะแนนะจากแอพลิเคชั่นWIKIFXได้ค่ะ
จากที่กล่าวมาเรื่องเกณฑ์การพิจารณาเลือกใช้โบรกเกอร์ต่างๆ ผู้เขียนถือว่าเกณฑ์ที่กล่าวมาค่อนข้างเพียงพอต่อการใช้พิจารณาค่ะ ซึ่งเราอาจจะเจาะลึกไปในรายละเอียดแต่ละข้อๆไปเลย หรือเราอาจจะทำได้โดยพิจารณาจากคะแนนที่WIKIFX ประเมินไว้ ซึ่งแนะนำว่าคะแนนยิ่งสูงยิ่งดี มีความน่าเชื่อถือต่อการพิจารณาเลือกใช้ค่ะ
อีกทั้งตอนนี้แอปพลิเคชัน WikiFX นอกจากสามารถตรวจสอบโบรกเกอร์ได้แล้ว ยังจะมีเพิ่มการแจ้งเตือนที่จะส่งมาในแอปบนโทรศัพท์ทุกวันว่าวันพรุ่งนี้ค่าเงินใดจะผันผวนแรง เพื่อให้เทรดเดอร์รับมือและวางแผนให้ทัน ดีมากๆเลยค่ะ แบบนี้ต้องโหลดแล้วปแหละ
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
STARTRADER
OANDA
EC Markets
IQ Option
XM
Pepperstone
STARTRADER
OANDA
EC Markets
IQ Option
XM
Pepperstone
STARTRADER
OANDA
EC Markets
IQ Option
XM
Pepperstone
STARTRADER
OANDA
EC Markets
IQ Option
XM
Pepperstone