简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ทุกสำนักเห็นพ้องต้องกันแล้วว่าการแพร่ระบาดของโควิด19 จะนำมาซึ่งวิกฤต และทุกวิกฤตจะมีธนาคารกลางของแต่ละประเทศขี่ม้าขาวเข้ามากอบกู้และรักษาเสถียรภาพทางการเงินเอาไว้ โดยมีอาวุธเป็นเครื่องมือทางการเงินอย่างการแทรกแซงอัตราดอกเบี้ย การชี้นำตลาด หรือ การเข้าซื้อ-ขายพันธบัตรรัฐบาล
ทุกสำนักเห็นพ้องต้องกันแล้วว่าการแพร่ระบาดของโควิด19 จะนำมาซึ่งวิกฤต และทุกวิกฤตจะมีธนาคารกลางของแต่ละประเทศขี่ม้าขาวเข้ามากอบกู้และรักษาเสถียรภาพทางการเงินเอาไว้ โดยมีอาวุธเป็นเครื่องมือทางการเงินอย่างการแทรกแซงอัตราดอกเบี้ย การชี้นำตลาด หรือ การเข้าซื้อ-ขายพันธบัตรรัฐบาล แต่ด้วยความซับซ้อนของระบบการเงินในปัจจุบันรวมถึงวิกฤตการเงินที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น มาตรการเดิม ๆ เริ่มใช้ไม่ได้ผลทำให้เกิดเครื่องมือใหม่เข้ามาแทนที่ และเครื่องมือที่เป็นที่กล่าวขวัญที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์เป็นต้นมาก็คงหนีไม่พ้น ‘มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ’ หรือที่พูดกันติดปากว่า QE - Quantitative Easing ที่ส่งผลกระทบต่อระบบการเงินไปทั่วโลก แต่มาตรการนี้ก็ยังคงทิ้งคำถามคาใจนักลงทุนหลายท่าน ไม่ว่าจะเป็น QE หรือ Quantitative Easing คืออะไร? QE ทำงานอย่างไร? หรือแม้แต่การนำ QE มาใช้ส่งผลกระทบอะไรตามมาบ้าง? และคำถามสำคัญคือนักลงทุนจะรับมือกันอย่างไร? เหล่านี้คือสิ่งที่เราจะมาพูดคุยและหาคำตอบกัน
QE คืออะไร? มีกลไกการทำงานอย่างไร?
มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ หรือ QE (Quantitative Easing) คือมาตรการทางการเงินแบบพิเศษที่ธนาคารกลางทำการเพิ่มปริมาณเงินหรือสภาพคล่อง (Liquidity) เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจผ่านการเข้าซื้อตราสารทางการเงินระยะยาวเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับระบบและกดอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำ
การทำ QE ของธนาคารกลางจะแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบคือ
1) การเข้าซื้อสินทรัพย์จากธนาคารและวานิชธนกิจโดยตรงเพื่อเป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้กับสถาบันการเงิน ทำให้ธนาคารและวาณิชธนกิจไม่ต้องถือสินทรัพย์แต่มีเงินสดเพื่อขยายสินเชื่อให้คนไปลงทุนหมุนเวียนในระบบ นอกจากนี้การเข้าซื้อสินทรัพย์ระยะยาวเป็นจำนวนมากจะกดผลตอบแทนรวมถึงอัตราดอกเบี้ยลง เป็นผลให้ต้นทุนในการกู้ยืม (Cost of borrowing) ลดลง ฝั่งธุรกิจและผู้ประกอบการก็มีแรงจูงใจที่จะกู้เงินไปลงทุนมากขึ้น
2) ธนาคารกลางจะนำเงินไปซื้อสินทรัพย์ในตลาดที่ต้องการดูแลโดยเฉพาะ เช่น การเข้าซื้อสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน (Mortgage-Backed Security-MBS) เพื่อให้เกิดสภาพคล่องในตลาด ทำให้การเทขายของนักลงทุนจะไม่กดให้ราคาต่ำลงอย่างรุนแรงจนทำให้โครงสร้างของตลาดเสียไป แต่การเข้าซื้อสินทรัพย์แบบนี้จะกดให้อัตราผลตอบแทนของตราสารอยู่ในระดับต่ำ เป็นการเปลี่ยนผันตลาดให้นักลงทุนหันไปลงทุนกับสินทรัพย์ตัวอื่นทดแทนและทำให้ราคาสินทรัพย์เพื่อการลงทุนอย่างอื่นปรับตัวสูงขึ้น ผู้คนมีความมั่งคั่งมากขึ้นเพื่อนำไปใช้จ่ายขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไป
จะเห็นได้ว่าทั้งสภาพคล่องที่เพิ่มขึ้นจากมาตรการ QE นี้ก็เพื่อส่งต่อมาตรการทางการเงินให้เกิดการใช้จ่ายและการลงทุนในภาคเศรษฐกิจจริง ซึ่งจะเป็นตัวขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจให้เดินไปข้างหน้าและกลับมาเติบโตอีกครั้ง ซึ่งปัจจัยทั้งสองจะวัดผลได้จากระดับอัตราเงินเฟ้อ นั่นจึงเป็นเหตุผลให้การทำ QE ของหลายประเทศในช่วงหลังวิกฤตการเงินจะมีการตั้งเป้าหมายเงินเฟ้อประกอบด้วยเสมอ
พื้นฐานต่าง ประสบการณ์เดียว: ทั้งญี่ปุ่น ยุโรป และอเมริกาต่างก็เคยใช้ QE มาแล้วทั้งนั้น
ด้วยกลไกการส่งผ่านสภาพคล่องจำนวนมากเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจทำให้ QE กลายมาเป็นทางเลือกที่ประเทศหนึ่ง ๆ นำมาใช้เป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อคาดหวังการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ และไม่ใช่แค่อเมริกาเท่านั้นที่นำมาตรการนี้มาใช้ฉุดดึงเศรษฐกิจของประเทศขึ้นจากวิกฤตการเงินครั้งใหญ่ในปี 2008 แต่ยังมีประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจเช่น ญี่ปุ่น และ ยุโรป ที่เคยนำมาตรการนี้มาใช้ด้วยเหมือนกัน
ขอยกกรณีล่าสุดที่เกิดขึ้นในปัจจุบันค่ะ
● โควิด-19 2020 กับ Unlimited QE ของอเมริกา
2020 เป็นอีกปีหนึ่งที่ประเทศต่าง ๆ ต้องเผชิญกับมรสุมทางเศรษฐกิจอีกครั้ง และว่ากันว่าความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในคราวนี้จะรุนแรงที่สุดนับย้อนไปจนถึงเมื่อครั้งเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งยิ่งใหญ่ (Great Depression) ในช่วงหลังสงครามโลกเลยทีเดียว และนับจนถึงตอนนี้มีการคาดการณ์กันว่าอัตราการว่างงานในสหรัฐปีนี้จะพุ่งสูงกว่า 15% ทีเดียว และนี่เป็นอีกครั้งที่ธนาคารกลางสหรัฐรวมถึงธนาคารกลางในหลาย ๆ ประเทศนำ QE ออกมาใช้อีกครั้ง
23 มีนาคม 2020 หลังจากที่รัฐบาลกลางสหรัฐออกมาประกาศแผนกระตุ้นเศรษฐกิจระลอกใหญ่ ธนาคารกลางสหรัฐเองก็ออกมาประกาศกาเรข้าทำ QE เพื่อป้องกันการถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐอย่างไม่จำกัดจำนวน จากเดิมที่ตั้งวงเงินไว้ 7 แสนล้านเหรียญสหรัฐ โดยจะเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลและ MBS เพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับตลาด แต่ความเสียหายที่แท้จริงของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดนี้จะเกิดขึ้นที่ภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector) จากห่วงโซ่อุปทานช็อคและกำลังแรงงานที่ล้มป่วยจนทำให้การผลิตหยุดชะงัก ซึ่งแตกต่างจากวิกฤตที่เกิดขึ้นในปี 2008 ที่สาเหตุของวิกฤตเกิดขึ้นในภาคการเงิน เราจึงจำเป็นที่จะต้องติดตามว่าผลของมาตรการนี้จะช่วยเยียวยาความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้ตามที่คาดหวังหรือไม่ แต่ไม่ว่ามาตรการนี้จะช่วยบรรเทาผลของวิกฤตได้หรือไม่ก็แล้วแต่ ทว่าหลังจากการประกาศใช้ QE แบบไม่จำกัดจำนวนเช่นนี้เป็นผลทำให้ตลาดหุ้นหยุดการลงและรีบาวน์ขึ้นมาได้แทบจะในทันที
QE และผลลัพธ์ที่อาจไม่ได้คาดหวัง
QE เป็นมาตรการทางการเงินที่ไม่ปกตินัก เนื่องจากเป็นการบิดเบือนระบบการเงินปกติด้วยเม็ดเงินจำนวนมาก ด้วยความคาดหวังที่จะชะลอความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับระบบและช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไปได้ แต่มาตรการนี้ก็ยังคงมีข้อควรระวังในการใช้ เพราะมีผลข้างเคียงที่อาจไม่ได้คาดหวังพ่วงมาด้วย
1. ค่าเงินอ่อนค่า การอัดฉีดเงินเข้าระบบทำให้ปริมาณเงินมากขึ้น ค่าเงินอ่อนลง ต้นทุนในการนำเข้าสินค้าและวัตถุดิบสูงขึ้น หากเป็นประเทศที่จำเป็นต้องนำเข้าวัตถุดิบจะทำให้ราคาสินค้าทั่วไปแพงขึ้น เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น
2. เกิดการแสวงหาผลตอบแทนในการลงทุนจนอาจเกิดฟองสบู่ในสินทรัพย์ทั่วโลก ด้วยสภาพคล่องจำนวนมากที่อัดฉีดเข้ามาในระบบทำให้เกิดการปล่อยกู้หรือลงทุนที่เสี่ยงสูงกว่าปกติ และด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำทำให้เกิด searching for yeild ผลที่เกิดขึ้นเร็วกว่าคือราคาสินทรัพย์ที่ปรับตัวสูงขึ้นทั่วโลกจนน่าเป็นห่วงถึงเรื่อง Asset Bubble มีการรายงานที่ดินปรับตัวสูงขึ้น ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยยะ
3. การเพิ่มปริมาณเงินในระบบอาจไม่ได้นำไปสู่การขับเคลื่อนภาคเศรษฐกิจจริง การทำ QE นำไปสู่การปรับตัวของสินทรัพย์ทั่วโลก ซึ่งไม่ได้การันตีว่าความมั่งคั่งจะตกถึงมือคนรากหญ้าที่เป็นกลุ่มที่มีการเก็บออมน้อยและใช้จ่ายสูง นั่นอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้แม้ธนาคารกลางจะอัดฉีดเงินเข้าระบบมาอย่างไร ก็ทำให้เกิดเงินเฟ้อได้ช้ากว่าที่คาดไว้
4. ทำให้ช่องว่างของความเหลื่อมล้ำถ่างกว้างกว่าที่เคย การสร้างความมั่งคั่งให้กับผู้ถือสินทรัพย์และการสะสมความมั่งคั่งของผู้ที่มีทุนรอนอยู่แล้วให้ยิ่งสะสมทุนมากขึ้นไปอีก ส่งผลให้อัตราความเหลื่อมล้ำในโลกแย่ลง ซึ่งจะไปถ่วงการพัฒนาทางเศรษฐกิจและซ้ำเติมความยากลำบากในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลต่อไป
รับมือ QE ระลอกใหม่ นักลงทุนควรเตรียมตัวอย่างไร?
การทำ QE เป็นการอัดฉีดสภาพคล่องจำนวนมากผ่านธนาคารพานิชย์ ซึ่งมักมีผลหลัก ๆ ทำให้เกิดการขยายสินเชื่อและลงทุนเพิ่มมากขึ้น และโดยไม่คาดหมาย อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำก็มักทำให้เกิดการเก็งกำไรในสินทรัพย์อื่น เช่น ตลาดหุ้น อสังหาริมทรัพย์ ทองคำ และค่าเงิน
จากรูปตลาดหุ้นอเมริกากับการทำ QE เราพอจะคาดเดาได้ว่าการพร้อมใจทำ QE ของธนาคารกลางในหลาย ๆ ประเทศจะทำให้เม็ดเงินจำนวนหนึ่งไหลเข้าตลาดหุ้น แต่สภาพตลาดหุ้นในวันนี้แตกต่างจากเมื่อสิบปีก่อน เนื่องจากคราวนี้มาตรการ QE ถูกนำมาใช้ค่อนข้างเร็ว และตลาดหุ้นรวมถึงภาคธุรกิจยังคงประเมินความเสียหายของเศรษฐกิจได้ไม่ครบ การเข้าลงทุนในตลาดหุ้นในตอนนี้จึงจำเป็นต้องใช้ความระมัดระวัง และหาจังหวะในการเข้าให้เหมาะสม
สินทรัพย์อีกตัวหนึ่งที่น่าสนใจคือค่าเงิน เนื่องจากการอัดฉีดปริมาณเงินเข้ามาในระบบเป็นจำนวนมากจะส่งผลให้เงินอ่อนค่าลงโดยเปรียบเทียบกับสกุลเงินอื่น ๆ นักลงทุนสามารถรับมือกับเหตุการณ์นี้ได้โดยการใช้เครื่องมือตราสารอนุพันธ์ เช่น CFD ในการขายสกุลเงินที่ทำ QE และมีแนวโน้มอ่อนค่า และ Long ค่าเงินที่มีความเสถียรกว่าเพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มผลตอบแทนคาดหวังจากการลงทุน
ค่าเงินที่อ่อนค่ามีผลกับราคาทองคำ ทำให้ราคาทองคำแพงขึ้นโดยเปรียบเทียบ (ต้องใช้เงินมากขึ้นเพื่อซื้อทองเท่าเดิม) เป็นผลให้ราคาทองคำดีดตัวสูงขึ้นเช่นที่เห็นในช่วงที่ผ่านมา สำหรับเหตุการณ์นี้นักลงทุนสามารถลงทุนได้ทั้งการซื้อทองคำแท่ง การซื้อกองทุน โดยเฉพาะการใช้ CFD ที่มีความคล่องตัวที่สุดในบรรดาเครื่องมือทั้งหมด
ส่งท้าย
การทำ QE ของธนาคารกลางเป็นมาตรการที่ไม่ปกตินัก และส่งผลกระทบกับระบบการเงินทั่วโลก คราวนี้เราก็ได้มาดูกันแล้วว่า QE หรือ Quantitative Easing คืออะไร มีกลไกการทำงานอย่างไร และเราควรเตรียมรับมือกับ QE ระลอกใหม่ที่คาดว่าจะใหญ่กว่าเดิมนี้อย่างไร อนาคตของระบบการเงินท่ามกลางวิกฤตโควิด 19 เป็นความท้าทายที่แม้แต่นักเศรษฐศาสตร์ยังคงคาดเดาผลลัพธ์ไม่ออก แต่การได้รับข้อมูลที่รอบด้านจะทำให้นักลงทุนสามารถพาพอร์ตให้รอดไปได้ พร้อมทำกำไรแม้ในภาวะวิกฤต ที่แน่นอนว่าคราวนี้ก็ต้องมีโอกาสแฝงอยู่เช่นกัน
เพื่อความเท่าทันกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลก ให้ไม่พลาดกับติดตามข่าวสารของข่าวๆต่างที่เกี่ยวข้อง ทางแอพลิเคชั่นของWikifx ได้มีการแจ้งเตือนข่าวต่างๆ ที่จะกระทบต่อค่าเงินในวันถัดไป แค่มีแอพลิเคชั่นก็ได้เปรียบกับตลาดมากขึ้นแล้วค่ะ อย่าลืมกดดาวน์โหลดไว้นะคะ
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
FP Markets
OANDA
STARTRADER
Tickmill
ATFX
EC Markets
FP Markets
OANDA
STARTRADER
Tickmill
ATFX
EC Markets
FP Markets
OANDA
STARTRADER
Tickmill
ATFX
EC Markets
FP Markets
OANDA
STARTRADER
Tickmill
ATFX
EC Markets