简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:สัปดาห์ที่ผ่านมา ความหวังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใหม่ของสหรัฐฯ ยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนตลาด
ติดตามการพิจารณามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใหม่ของสหรัฐฯ และความคืบหน้าการเจรจาข้อตกลง Brexit ที่อาจส่งผลให้ตลาดการเงินมีความผันผวนสูงขึ้นได้
เงินดอลลาร์ยังมีแรงหนุนจากความไม่แน่นอนที่ยังสูงอยู่ และเงินดอลลาร์อาจแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ โดยเฉพาะยูโรและปอนด์ หากตลาดกังวลการฟื้นตัวเศรษฐกิจยุโรป ไปพร้อมกับการเจรจาข้อตกลง Brexit ที่ล้มเหลว ทั้งนี้เงินบาทจะไม่อ่อนค่าไปมาก เพราะผู้ส่งออกก็เตรียมรอขายเงินบาทหากอ่อนค่าใกล้ 31.40 บาท/ดอลลาร์
กรอบเงินบาทสัปดาห์หน้า 30.90-31.40 บาท/ดอลลาร์
มุมมองนโยบายการเงิน
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) ในวันอังคาร ตลาดคาดว่า BI จะ“คง”อัตราดอกเบี้ย (7D Reverse Repo) ไว้ที่ระดับ 4.00% ทั้งนี้ หากความผันผวนของค่าเงินรูเปียะห์ลดลง BI ก็อาจลดดอกเบี้ยลงอีก ในไตรมาส 4 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) ในวันพุธ ตลาดคาดว่า MAS จะ“คง”ความชันของกรอบค่าเงิน (Slope of SGDNEER) ไว้ที่ระดับ 0% ทั้งนี้ MAS อาจปรับให้ SGDNEER แกว่งตัวใกล้กรอบล่างมากขึ้น เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวเศรษฐกิจ
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) ในวันพุธ ตลาดคาดว่า BOK จะ“คง”อัตราดอกเบี้ย (7D Repo) ไว้ที่ระดับ 0.50% โดยตลาดคาดว่าอาจจะมีการคงดอกเบี้ยไปจนถึงสิ้นปี 2021 หลังเศรษฐกิจส่งสัญญาณฟื้นตัวดีขึ้น จากการระบาดของ COVID-19 ที่เริ่มสงบลง
มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก
ฝั่งสหรัฐฯ – ความไม่แน่นอนของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใหม่ ท่ามกลางการระบาดของ COVID-19 รวมถึงความไม่แน่นอนจากการเลือกตั้งสหรัฐฯ มีโอกาสกดดันให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภค (UofMichigan Consumer Sentiment) เดือนตุลาคม ลดลงสู่ระดับ 80จุด จากระดับ 80.4จุด ในเดือนก่อนหน้า
ฝั่งยุโรป – การระบาดของ COVID-19 ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น จะทำให้ตลาดมีความเชื่อมั่นแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจในยุโรปลดลง โดยดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจของเยอรมนีและยุโรป (Zew Economic Sentiment) เดือนตุลาคมจะลดลงสู่ระดับ 72จุด และ 70จุด ตามลำดับ นอกจากนี้ตลาดจะติดตามการประชุมสุดยอดผู้นำยุโรป (EU Summit) เพื่อหาทางสรุปการเจรจา Brexit ที่มีโอกาสจบลงด้วยการที่อังกฤษออกจากสหภาพยุโรปโดยไร้ข้อตกลง
ฝั่งเอเชีย – ภาพรวมเศรษฐกิจเอเชียยังคงสดใส โดยการค้ายังคงเป็นปัจจัยช่วยหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน โดยตลาดมองว่ายอดส่งออก (Exports) เดือนกันยายน จะโตขึ้น 10% จากปีก่อนหน้า ส่วนยอดนำเข้า (Imports) จะกลับมาโตได้ 0.1% จากที่หดตัว 2.1% ในเดือนก่อน นอกจากนี้ เศรษฐกิจสิงคโปร์ในไตรมาสที่ 3 ก็จะกลับมาขยายตัว 33% จากไตรมาสก่อนหน้า หลังรัฐบาลสามารถคุมการระบาด COVID-19 ได้ดีขึ้น จนสามารถทยอยผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ได้
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
STARTRADER
XM
FXTM
FOREX.com
Exness
FP Markets
STARTRADER
XM
FXTM
FOREX.com
Exness
FP Markets
STARTRADER
XM
FXTM
FOREX.com
Exness
FP Markets
STARTRADER
XM
FXTM
FOREX.com
Exness
FP Markets