简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เมื่อเราสนใจที่จะเก็งกำไรจากฟอเร็กซ์ สิ่งสำคัญที่ควรจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับค่าเงินแข็งค่า และค่าเงินอ่อนค่า เพราะเรากำลังอยู่ในโลกแห่งการเก็งกำไรจากค่าเงินของแระเทศต่างๆ จากการแข็งค่าและอ่อนค่าของเงินนั่นเอง
เงินแข็งกับ เงินอ่อนคือ เรื่องเกี่ยวกับมูลค่าของเงิน ระหว่าง2 สกุลเงิน ที่มีมูลค่าเปลี่ยนแปลงไป โดยทั้ง เงินแข็ง เงินอ่อน จะเกิดขึ้นในทิศทางตรงข้ามกันเสมอเมื่อเทียบกับเงินอีกสกุลหนึ่ง
ตัวอย่างเช่น
อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินดอลลาร์สหรัฐต่อเงินบาทไทยคือ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 35 บาท
เมื่ออัตราแลกเปลี่ยนปลี่ยนไปสมมติว่าเปลี่ยนไปเป็น 1 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 31 บาท
มุมมองจากด้านเงินบาท คือการที่ เงินบาทแข็งค่า เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ
มุมมองจากด้านเงินคอลลาร์ คือการที่ เงินดอลลาร์อ่อนค่า เมื่อเทียบกับเงินบาท
แต่ถ้าหากยังงอยู่มาทำความเข้าใจกับที่มาของ เงินแข็ง เงินอ่อน รวมถึงวิธีดูว่าเงินแข็งค่าหรือเงินอ่อนค่ากันทีละขั้นตอน
วิธีสังเกตว่า เงินแข็ง หรือ เงินอ่อน
วิธีที่ง่ายที่สุดที่จะสามารถเข้าใจ เงินแข็งกับเงินอ่อน คือให้คิดว่าเงินแต่ละสกุลเป็นสินค้าชนิดหนึ่ง เงินแข็ง และ เงินอ่อน คือการเปลี่ยนไปของราคาสินค้านั่นเอง
เงินแข็ง คือ เงินสกุลหนึ่งมีราคาแพงขึ้น เมื่อใช้เงินอีกสกุลหนึ่งไปซื้อ (แลกเงิน)
เงินอ่อน คือ เงินสกลุหนึ่งราคาถูกลง เมื่อใช้เงินอีกสกุลชื้อ (แลกเงิน)
เพื่อที่จะทำให้เข้าใจง่ายๆ เราจะยกตัวอย่างแยกระหว่างเงินแข็งกับเงินอ่อน เพิ่มเติมด้านล่าง
เงินแข็ง ดูอย่างไร
เงินแข็งคือ การที่มูลค่าของเงินสกุลหนึ่ง (เงินสกุลA ) มีค่ามากขึ้นจากเดิมเมื่อเทียบกับเงินอีกสกุลหนึ่ง (เงินสกุล B)
ตัวอย่าง เงินบาทแข็ง เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ
จากเดิม 35 บาท มีค่าเท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
ปีจจุบัน 34 บาทมีค่าเท่ากับ 1ดอลลาร์สหรัฐ
จากตัวอย่างจะเห็นว่า เงินบาทมีค่ามากขึ้น เพราะก่อนหน้านี้ต้องใช้ถึง 35 บาท เพื่อแลกกับเงินดอลลาร์สหรัฐ แต่ปัจจุบันใช้เพียงแค่ 34 บาท ก็แลกได้แล้ว
เพิ่มเติม หรือถ้าหากว่าเรามองในมุมดอลลาร์สหรัฐจะเห็นว่า 1 ดอลลาร์สหรัฐมีค่าน้อยลง(แลกเงินบาทได้น้อยลง) หรือก็คือเงินดอลลาร์อ่อนค่kเมื่อเทียบกับเงินบาท
เงินอ่อน ดูอย่างไร
เงินอ่อน คือ การที่มูลค่าของเงินสกุลหนึ่ง (เงินสกุลA) มีค่น้อยลงจากเดิมเมื่อเทียบกับเงิน
อีกสกุลหนึ่ง (เงินสกุลB)
ตัวอย่าง เงินบาทอ่อน เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ
จากเดิม 34 บาท มีค่าเท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
ปัจจุบัน 35 บาทมีค่าเท่ากับ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
จากตัวอย่างจะเห็นว่า เงินบาทมีค่าลดลง เพราะก่อนหน้านี้ต้องใช้แค่ 34 บาท เพื่อแลกกับเงินดอลลาร์สหรัฐ แต่ปัจจุบันต้องใช้ถึง 35 บาท
เพิ่มเติม หรือถ้าหากว่าเรามองในมุมดอลลาร์สหรัฐ จะเห็นว่า 1 ดอลลาร์สหรัฐมีค่ามากขึ้น (แลกเงินบาทได้มากขึ้น) หรือก็คือเงินดอลลาร์แข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินบาท
สาเหตุที่ทำให้ เงินแข็งและเงินอ่อน
เงินแข็งและเงินอ่อน มีหลักสาเหตุมาจาก Demand และ Supply ของค่าเงินหรือสกุลเงินนั้นๆ ให้คิดว่าเงินเป็นเหมือนสินค้าชนิดหนึ่งที่ต้องเอาเงินอีกสกุลไปแลก (ในกรณีที่อัตราแลกเปลี่ยนของเงินสกุลนั้นเป็นแบบลอยตัวหรือ แบบลอยตัวภายใต้การแทรกแซง)
เงินแข็ง เกิดจาก ความต้องการเงินสกุลนั้นๆ (Demand)> จำนวนเงินสกุลนั้นๆ(Supply)
เงินอ่อน เกิดจาก ความต้องการเงินสกุลนั้นๆ (Demand) < จำนวนเงินสกุลนั้นๆ(Supply)
ดังนั้น คำตอบจะอยู่ที่ว่าแล้วอะไรที่ทำให้คนมีความต้องการ(หรือไม่ต้องการ) เงินสกุลนั้นๆจนทำให้เงินสกุลนั้นแพงขึ้น (แข็งค่) หรือถูกลง(อ่อนค่า)?
เงินแข็ง (Appreciation) เพราะอะไร?
สาเหตุที่ทำให้ เงินแข็ง คือ อะไรก็ตามทำให้เกิดความต้องการ (Demand) เงินสกุลนั้น
1. เกินดุลการค้ามากๆ (ส่งออกมากกว่า นำเข้า) เพราะการที่ส่งออกก็คือการที่ต่างชาติซื้อสินค้าเรา เงินที่ได้มาก็จะเป็นเงินสกุลต่างประเทศ ทำให้เราต้องไปแลกเงินสกุลต่างประเทศนั้นเป็นเงินบาท
2. Fund Flow จากต่างประเทศไหลเข้ามามากๆ การที่ต่างชาติเข้ามาลงทุน ตอนมาเค้าถือเงินประเทศเค้ามา เมื่อต่างชาติต้องการซื้อตราสารต่างๆ ก็ต้องแลกเป็นเงินบาทก่อน
3. ความเชื่อมั่น ถ้าใครๆก็เชื่อมั่นว่าประเทศนั้น สกุลเงินนั้นดีอย่างงั้นอย่างงี้ ไม่ค่อยผันผวน คนเหล่านั้นก็จะแลกเงินประเทศนั้นเก็บไว้ (ลองไปค้นว่า safe haven ดู)
4. ธนาคารกลาง หรือ ธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าไปแทรกแซง
5. อื่นๆ ...
เงินอ่อน (Depreciation) เพราะอะไร?
สาเหตุที่ทำให้ เงินอ่อน คือ อะไรก็ตามที่ทำให้คนไม่ต้องการเงินสกุลนั้น จนต้องแลกเป็นเงินสกุลอื่น
1. Fund Flow จากต่างประเทศไหลออกมากๆ การที่ต่างชาติเข้ามาลงทุน ตอนมาเค้าถือเงินประเทศเค้ามา แต่เมื่อต่างชาติต้องการซื้อตราสารต่างๆ ก็ต้องแลกเป็นเงินบาทก่อน
2. ขาดดุลการค้ามากๆ (นำเข้า มากกว่า ส่งออก) การที่จะซื้อของจากต่างประเทศ เราก็ต้องแลกจากบาทเป็นเงินต่างประเทศเช่นกัน
3. ความเชื่อมั่น ถ้ไม่มีใครเชื่อมั่นประเทศ A คนเหล่านั้นก็จะแลกเงินประเทศAที่มีไปเป็นเงินสกุลอื่น
4. ธนาคารกลาง หรือ ธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าไปแทรกแชง
5. อื่นๆ ..
ผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก เงินแข็ง และ เงินอ่อน
ผู้ที่ได้รับผลดีจากเงินแข็งคือ ผู้นำเข้า หรือ ใครก็ตามที่ต้องการเปลี่ยนเงินบาทเป็นเงินอีกสกุล สมมติว่า Aต้องการซื้อวัตถุดิบจากอเมริกา ราคา $1000
โดยก่อนหน้า $1 = B35 (วัตถุดิบที่วก็จะเป็นราคา 35000 บาท) แต่ปัจจุบันเงินบาทแข็งค่า
เป็น $1 =B 34(วัตถุดิบที่ว่าราคาก็จะเหลือแต่ 34000 บาท)
ในทางกลับกันผู้ที่ได้รับผลเสียจากเงินแข็ง ก็คือผู้ส่งออก เพราะสินค้ที่ส่งออกไปจะถูกมองว่าแพงขึ้นในสายตาต่างประเทศ
ผู้ที่ได้รับผลดีจากเงินอ่อนผู้ส่งออกหรือ ใครก็ตามที่ต้องการเปลี่ยนเงินสกุลต่างประเทศ เป็นเงินบาท สมมติว่า B ส่งออกสินค้า Cไปอเมริกา ราคา 35000 บาท
โดยก่อนหน้า $1 = B34(ต่างชาติใช้เงิน ร10000 ซื้อสินค้า G แล้วยังเหลือเงินอีก 1000 บาท)
แต่ปัจจุบันเงินบาทอ่อนค่าเป็น $1 = B35 (ต่างชาติใช้เงิน $10000 ซื้อสินค้า G ได้ชิ้นเดียวโดยไม่เหลือเงินซักบาท)
ในทางกลับกันผู้ที่ได้รับผลเสียจากเงินอ่อน ก็คือผู้นำเข้า (Importer) ที่ต้องนำเข้าสินค้าด้วย ราคาที่แพงขึ้น
ที่มาภาพ: Peer Power
ค่าเงินแข็งค่าส่งผลอย่างไรต่อนักลงทุน
นอกจากผู้ประกอบการแล้วผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าและอ่อนค่าของเงิน อีกกลุ่มหนึ่งคือนักลงทุน เพราะหมายถึงผลตอบแทนที่จะได้รับกลับมาด้วย ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับ 2 ขั้นตอนคือ
การเลือกผลิตภัณฑ์เพื่อการลงทุน
เมื่อเงินแข็งค่าขึ้นหมายถึงอัตราแลกเปลี่ยนที่สูงขึ้น อันเป็นผลมาจากอัตราดอกเบี้ย และอัตราเงินเฟ้อ ทำให้การลงทุนในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศได้รับความสนใจจากนักลงทุนที่นิยมเก็งกำไร รวมถึงการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดทุน โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มนำเข้าที่ได้รับการคาดการณ์ในด้านบวกมากขึ้น รวมถึงการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลที่ถือว่าปลอดภัยและให้ผลตอบแทนที่ดี
การปรับพอร์ตการลงทุน
ปกตินักลงทุนมักกระจายความเสี่ยงในการการลงทุนด้วยผลิตภัณฑ์การลงทุนหลายๆ ประเภทอยู่แล้ว แต่เมื่อเงินแข็งค่าขึ้น ย่อมหมายถึงผลตอบแทนที่จะเกิดความเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะหากมีการลงทุนในหุ้นกลุ่มนำเข้า ส่งออก ท่องเที่ยว รวมถึงการถือหุ้นกู้และพันธบัตรรัฐบาล ที่นักลงทุนต้องมองทิศทางของตลาดให้ออกและคาดการณ์การเติบโตของหุ้นแต่ละตัวให้เหมาะสม เพื่อให้พอร์ตที่ถืออยู่ไม่เสียโอกาสในการได้รับผลตอบแทนที่ดีที่สุด
ในแอพพลิเคชั่นของWIKIFX มีการคำนวณอัตราการแลกเปลี่ยน ให้เราสามารถตรวจสอบความแข็งและอ่อนค่าของค่าเงินไว้ด้วยนะคะ
นอกจากนี้ยังมีปฏิทินข่าว ที่คอยอัพเดตข่าวต่างๆทางเศรษฐกิจ ในประเทศต่างๆที่ส่งผลต่อค่าเงินในการเก็งกำไรในตลาดฟอเร็กซ์ นักลงทุนสามารถดูได้จบครบในแอพเดียว
สงสัยไหมว่าเราจะตามข่าวหรือบทวิเคราะห์พวกนี้จากไหนบนแอปพลิเคชันWikiFX จะมีอัปเดทบทวิเคราะห์แบบมหาศาลให้อ่านและยังมีแจ้งเตือนโบรกเกอร์เถื่อนในแต่ละสัปดาห์ดูใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex ดูรีวิวโบรกเกอร์ Forexที่เจ๋งที่สุดคือต่อจากนี้จะมีแจ้งเตือนค่าเงินหลักที่จะผันผวนแรงในวัดถัดไปถ้าโหลแอปตอนนี้เราจะได้เปรียบกว่าเทรดเดอร์คนอื่น
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
Tickmill
GO MARKETS
HFM
STARTRADER
OANDA
Vantage
Tickmill
GO MARKETS
HFM
STARTRADER
OANDA
Vantage
Tickmill
GO MARKETS
HFM
STARTRADER
OANDA
Vantage
Tickmill
GO MARKETS
HFM
STARTRADER
OANDA
Vantage