简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:สัปดาห์ที่ผ่านมา ภาพรวมเศรษฐกิจโลกดูดีขึ้นจากการฟื้นตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย
ติดตามรายงานข้อมูลเศรษฐกิจทั่วโลก โดยตลาดการเงินจะรอดูยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมของสหรัฐฯ (Nonfarm Payrolls) รวมถึงอัตราการว่างงาน
ตลาดพร้อมปิดรับความเสี่ยง หากภาพเศรษฐกิจไม่สดใสตามคาด โดยการระบาดของ COVID-19 ที่รุนแรงขึ้น เริ่มทำให้ข้อมูลเศรษฐกิจออกมาแย่กว่าคาด ซึ่งภาวะปิดรับความเสี่ยงจะช่วยหนุนให้เงินดอลลาร์ยังเป็นที่ต้องการของตลาด ทั้งนี้เงินดอลลาร์จะไม่แข็งค่าไปมาก เพราะฝั่งผู้ส่งออกต่างรอขายดอลลาร์ในช่วง 30.30-30.40 บาท/ดอลลาร์
(เทรดเดอร์สามารถดูเวลาการประกาศตัวเลขและตัวเลขที่ประกาศออกมาได้ที่แอพพลิเคชัน WikiFX กดตรง “ปฏิทินเศรษฐกิจ”)
มุมมองนโยบายการเงิน
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ในวันอังคาร ตลาดคาดว่า RBA จะ“คง”อัตราดอกเบี้ย (Cash Rate) และเป้าหมายบอนด์ยีลด์อายุ 3ปี ไว้ที่ระดับ 0.10% เพื่อช่วยหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ทั้งนี้ RBA อาจส่งสัญญาณพร้อมใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้นเพื่อช่วยเศรษฐกิจ
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางอินเดีย (RBI) ในวันศุกร์ ตลาดคาดว่า RBI จะ“คง”อัตราดอกเบี้ย (Repo Rate) ไว้ที่ระดับ 4.00% ทั้งนี้ RBI มีโอกาสส่งสัญญาณพร้อมลดดอกเบี้ยเพิ่มเติม หลังเศรษฐกิจยังฟื้นตัวไม่ดีนักจากการระบาดของ COVID-19 ที่ยังคงรุนแรงอยู่ในหลายพื้นที่
มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก
ฝั่งสหรัฐฯ
การระบาดของ COVID-19 ที่ยังคงรุนแรง ส่งผลให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจมีปัญหา โดยภาคการผลิตและภาคการบริการมีแนวโน้มชะลอตัว ชี้จากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตโดย ISM เดือนพฤศจิกายนที่ลดลงสู่ระดับ 58จุด เช่นเดียวกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการที่ลดลงสู่ระดับ 56จุด นอกจากนี้ ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) เดือนพฤศจิกายนก็อาจลดลงเหลือ 5 แสนราย นอกเหนือจากข้อมูลเศรษฐกิจ ตลาดจะรอลุ้นผลการประชุม OPEC+ โดยตลาดมองว่า กลุ่ม OPEC+ จะไม่รีบเพิ่มโควต้ากำลังการผลิต แม้ว่าราคาน้ำมันจะฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากจุดต่ำสุด
ฝั่งยุโรป
ประเด็นการเจรจาข้อตกลง Brexit ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ขณะเดียวกันปัญหาการระบาดของ COVID-19 ที่ยังคงรุนแรง จะทำให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานทรงตัวที่ระดับ 0.2%y/y และอัตราว่างงานที่ 8.4%
ฝั่งเอเชีย
เศรษฐกิจจีนฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่องทั้งภาคการผลิตและการบริการ สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตโดย Caixin เดือนพฤศจิกายนที่ระดับ 53.5จุด ส่วนดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการอยู่ที่ระดับ 56.4จุด
ฝั่งไทย
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไป จะทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ระดับ -0.4%y/y ดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ระดับ -0.5% นอกจากนี้ ต้องติดตามสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ในประเทศที่เริ่มมีรายงานผู้ติดเชื้อในไทย ซึ่งหากสถานการณ์ดูแย่ลงก็อาจกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนได้ ทำให้เกิดแรงเทขายสินทรัพย์ไทย อาทิ หุ้นไทย
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
Octa
Tickmill
XM
FxPro
IQ Option
IC Markets Global
Octa
Tickmill
XM
FxPro
IQ Option
IC Markets Global
Octa
Tickmill
XM
FxPro
IQ Option
IC Markets Global
Octa
Tickmill
XM
FxPro
IQ Option
IC Markets Global