简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เมื่อคืนที่ผ่านมา กระทรวงการคลังสหรัฐฯ เปิดเผยรายงานเรื่อง ‘การบิดเบือนค่าเงิน’ โดยรายงานดังกล่าวมีชื่อ ‘ไทย’ เป็นหนึ่งในประเทศที่เฝ้าจับตา (Monitoring List) เพราะทางการสหรัฐฯ สงสัยว่าไทยอาจดำเนินมาตรการทางการเงินต่างๆ ซึ่งเป็นการ ‘บิดเบือนค่าเงิน’ เพื่อหวังผลทางการค้ากับสหรัฐฯ
เมื่อคืนที่ผ่านมา กระทรวงการคลังสหรัฐฯ เปิดเผยรายงานเรื่อง ‘การบิดเบือนค่าเงิน’ โดยรายงานดังกล่าวมีชื่อ ‘ไทย’ เป็นหนึ่งในประเทศที่เฝ้าจับตา (Monitoring List) เพราะทางการสหรัฐฯ สงสัยว่าไทยอาจดำเนินมาตรการทางการเงินต่างๆ ซึ่งเป็นการ ‘บิดเบือนค่าเงิน’ เพื่อหวังผลทางการค้ากับสหรัฐฯ
นอกจากไทยแล้ว ยังมีอีก 9 ประเทศที่อยู่ในข่ายเฝ้าจับตาเช่นเดียวกับไทยคือ ไต้หวัน อินเดีย จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เยอรมนี อิตาลี สิงคโปร์ และมาเลเซีย ส่วนประเทศที่ถูกสหรัฐฯ ขึ้น ‘บัญชีดำ’ เป็นประเทศที่ดำเนินการบิดเบือนค่าเงินอย่างชัดเจนเพื่อหวังผลทางการค้ากับสหรัฐฯ มี 2 ประเทศคือ สวิตเซอร์แลนด์กับเวียดนาม กล่าวโดยสรุปแล้วคือ ไทยยังไม่ถึงกับถูกขึ้นบัญชีดำเป็นประเทศที่บิดเบือนค่าเงินเพื่อหวังผลทางการค้ากับสหรัฐฯ เหมือนกับสวิตเซอร์แลนด์และเวียดนาม เพียงแต่ถูกจัดให้อยู่ในประเทศที่เฝ้าจับตาเท่านั้น
อาจมีคำถามว่าสหรัฐฯ ใช้เกณฑ์อะไรในการตัดสินว่าประเทศใดบ้างที่กระทำการบิดเบือนค่าเงินเพื่อหวังผลทางการค้ากับสหรัฐฯ และเพราะเหตุใดสหรัฐฯ ถึงต้องตั้งกฎเกณฑ์นี้ขึ้นมา ก่อนอื่นต้องบอกว่าสาเหตุที่สหรัฐฯ ต้องกำหนดเกณฑ์นี้ขึ้นมา ก็เพื่อต้องการลดการขาดดุลการค้าที่อยู่ระดับสูงมาต่อเนื่องหลายปี โดยรัฐบาลสหรัฐฯ มองว่าส่วนหนึ่งเป็นผลจากการแข่งขันที่ดูจะไม่เป็นธรรมของประเทศคู่ค้า รัฐบาลสหรัฐฯ จึงเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อหวังลดการขาดดุลเหล่านี้ลง สหรัฐฯ จึงได้กำหนดเกณฑ์นี้ขึ้นมาเพื่อเจรจาต่อรองหรือแม้กระทั่งตอบโต้ทางการค้ากับประเทศเหล่านี้
สำหรับเกณฑ์ที่สหรัฐฯ ใช้ในการดูว่าประเทศใดบ้างที่บิดเบือนค่าเงินเพื่อหวังผลทางการค้ากับสหรัฐฯ จะดูจาก 3 ข้อหลักคือ
1. ดูว่าประเทศเหล่านั้นมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดมากกว่า 2% ของ GDP แต่ละประเทศหรือไม่
2. ดูว่าประเทศเหล่านั้นมียอดเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ มากกว่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาหรือไม่
3. ดูว่าประเทศเหล่านั้น มีการสะสมเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องมากกว่า 2% ของ GDP หรือไม่
สำหรับไทยซึ่งติดอยู่ในข่ายเฝ้าจับตา เพราะเข้าตามเกณฑ์ข้างต้น 2 ข้อ คือ 1. ไทยมียอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดช่วง 1 ปีที่ผ่านมาราว 6.3% ของ GDP สูงกว่าเกณฑ์ของสหรัฐฯ ที่ 2% และ 2. ไทยมียอดเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาราว 2.2 หมื่นล้านดอลลาร์ สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำของสหรัฐฯ ที่ 2 หมื่นล้านดอลลาร์
ส่วนเกณฑ์เรื่องการสะสมเงินทุนสำรองระหว่างประเทศถือเป็นข้อเดียวที่ไทยไม่เข้าข่าย โดยช่วง 1 ปีที่ผ่านมาไทยมีการสะสมเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ 1.8% ของ GDP ต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำของสหรัฐฯ ที่ 2% ทำให้ไทยรอดพ้นจากการถูกขึ้นบัญชีดำเป็นประเทศบิดเบือนค่าเงินเหมือนกับที่สวิตเซอร์แลนด์และเวียดนามโดนข้อกล่าวหานี้
อย่างไรก็ตาม แม้ครั้งนี้ไทยจะรอดพ้นจากการถูกขึ้นบัญชีดำเป็นประเทศที่บิดเบือนค่าเงินเพื่อหวังผลทางการค้า แต่ต้องยอมรับว่าไทยตกอยู่ในเป้าสายตาของสหรัฐฯ เรียบร้อยแล้วจากการถูกขึ้นบัญชีเฝ้าจับตา ซึ่งหมายความว่าหลังจากนี้ไปสหรัฐฯ คงติดตามดูการเคลื่อนไหวของไทยอย่างใกล้ชิดว่า ในอนาคตไทยจะมีการดำเนินนโยบายใดๆ ที่เป็นการบิดเบือนค่าเงินเผื่อหวังผลทางการค้ากับสหรัฐฯ หรือไม่
โดยรายงานชิ้นนี้ของสหรัฐฯ ปกติจะประกาศในทุกๆ 6 เดือน ซึ่งหมายความว่า ในอีก 6 เดือนข้างหน้าไทยคงต้องมาลุ้นกันอีกรอบว่าจะถูกขึ้นบัญชีดำหรือไม่ สำหรับประเทศที่ถูกขึ้นบัญชีดังกล่าว เบื้องต้นสหรัฐฯ จะให้เวลา 1 ปีในการแก้ไขเพื่อให้หลุดพ้นจากกฎเกณฑ์ทั้ง 3 ข้อของสหรัฐฯ แต่หากครบกำหนดแล้วยังไม่สามารถแก้ไขได้ ทางการสหรัฐฯ ก็จะมีบทลงโทษดังกล่าวไปนี้
1. ปฏิเสธการเข้าร่วม OPIC (The Overseas Private Investment Corporation)
2. กีดกันผู้ประกอบการจากประเทศไทยในการเข้ารับงานของรัฐบาลสหรัฐฯ
3. ให้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) จับตาดูประเทศไทย
4. ขอให้ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ พิจารณาการละเมิดเกณฑ์ในการเจรจาทางการค้าใดๆ
ทั้งนี้แม้ไทยจะถูกสหรัฐฯ จัดให้อยู่เพียงแค่บัญชีเฝ้าจับตา แต่ดูเหมือนผลกระทบเหล่านี้ถูกส่งผ่านไปยังค่าเงินบาทบ้างแล้ว เพราะหลังเปิดตลาดเงินเมื่อวานนี้ เงินบาทก็แข็งค่าขึ้นทันทีจนทะลุระดับ 30 บาทต่อดอลลาร์ มาทำสถิติแข็งค่าสุดระหว่างวันที่ 29.81 บาทต่อดอลลาร์ ก่อนมาปิดตลาดที่ระดับ 29.86 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นระดับแข็งค่าสุดในรอบ 7 ปี นับจากช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2556 สาเหตุเพราะนักลงทุนคาดการณ์กันว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะไม่กล้าเข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาทมากนัก เพราะเกรงว่าจะถูกสหรัฐฯ ขึ้นบัญชีดำในครั้งถัดไป
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ ธปท. ออกมาชี้แจงว่า ธปท. ไม่มีนโยบายเข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาทเพื่อหวังความได้เปรียบทางการค้า
โดย จันทวรรณ สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายสื่อสารและความสัมพันธ์องค์กร ธปท. กล่าวยืนยันว่า กรณีที่ไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มเฝ้าจับตายังไม่มีนัยสำคัญต่อธุรกิจที่ทำการค้าและการลงทุนกับสหรัฐฯ ซึ่งภาคธุรกิจไทยและสหรัฐฯ ยังคงดำเนินธุรกิจกันได้ตามปกติ และการประเมินดังกล่าวไม่กระทบต่อการดำเนินนโยบายของ ธปท. เพื่อดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินภายในประเทศ รวมถึงการดูแลเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นไปตามหน้าที่ของธนาคารกลางและความจำเป็นของสถานการณ์
ทั้งนี้ตลอดช่วงที่ผ่านมา ธปท. ได้สื่อสารและทำความเข้าใจกับทางการสหรัฐฯ เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและแนวทางการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจการเงินของไทย รวมถึงสร้างความมั่นใจกับสหรัฐฯ ว่าไทยดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบยืดหยุ่นและจะเข้าดูแลค่าเงินบาทเมื่อมีความจำเป็นเพื่อชะลอความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้รุนแรงเกินไปทั้งในด้านแข็งค่าและอ่อนค่า และไม่มีนโยบายแทรกแซงค่าเงินเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการค้าระหว่างประเทศแต่อย่างใด
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
VT Markets
XM
OANDA
FXTM
IC Markets Global
EC Markets
VT Markets
XM
OANDA
FXTM
IC Markets Global
EC Markets
VT Markets
XM
OANDA
FXTM
IC Markets Global
EC Markets
VT Markets
XM
OANDA
FXTM
IC Markets Global
EC Markets