简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:มีหลายประเทศที่เริ่มต่อต้าน และสกัดกั้นนายจอร์จ โซรอส (George Soros) อภิมหาเศรษฐีผู้เป็นนายทุนขบวนการโลกาภิวัฒน์นิยม (Globalism) และเครือข่ายของนายโซรอสในหลายประเทศก็เริ่มถูกแบนมากขึ้นเรื่อยๆ
“Dr.Steve Turley” นักวิชาการอเมริกันเผย 9 ประเทศแบนเครือข่ายโซรอส
วันที่ 14 ตุลาคม 2020 ดร.สตีฟ เทอร์ลีย์ (Dr.Steve Turley) นักวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์น สหรัฐอเมริกา เปิดเผยข้อมูลใหม่ว่า มีหลายประเทศที่เริ่มต่อต้าน และสกัดกั้นนายจอร์จ โซรอส (George Soros) อภิมหาเศรษฐีผู้เป็นนายทุนขบวนการโลกาภิวัฒน์นิยม (Globalism) และเครือข่ายของนายโซรอสในหลายประเทศก็เริ่มถูกแบนมากขึ้นเรื่อยๆ
ดร.สตีฟ ระบุว่าตัวของนายโซรอสก็ยอมรับเองว่า ฝ่ายของตนเองกำลังเสียเปรียบ โดยเมื่อเดือนตุลาคม 2019 นายโซรอสเคยกล่าวว่า “Open Societies Are Under Threat” ซึ่งสามารถตีความหมายได้ 2 แบบ คือ สังคมเปิดเสรีกำลังถูกคุกคาม หรือ มูลนิธิ Open Society Foundations (OSF) ของนายโซรอสกำลังถูกคุกคาม สอดคลอดกับข้อมูลที่ดร.สตีฟร่วมรวมมานำเสนอว่า มีประเทศไหนบ้าง ที่ดำเนินนโยบายต่อต้านและแบนเครือข่ายของนายโซรอส ซึ่งมีดังนี้
1. ฮังการี
บูดาเปสต์ เมืองหลวงของประเทศฮังการี ถือเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของนายโซรอส แต่รัฐบาลฮังการี ที่นำโดยนายวิกเตอร์ ออร์บาน (Viktor Orban) นายกรัฐมนตรีฮังการี ได้ออกกฎหมายต่อต้าน NGOs และเครือข่ายของนายโซรอส
ถึงแม้ว่า นายวิกเตอร์ ออร์บาน จะเคยได้รับทุนการศึกษาจากเครือข่ายของนายโซรอส เพื่อไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด แต่เมื่อเขากลับมาลงเล่นการเมือง และไต่เต้าไปสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นายออร์แบนมองเห็นว่า NGOs และเครือข่ายของนายโซรอส บั่นทอนเสถียรของฮังการี ด้วยการลักลอบพาผู้อพยพจากประเทศอื่น เข้ามาภายในฮังการีมากจนเกินไป
รัฐบาลฮังการี ภายใต้การนำนายออร์แบน จึงได้ผ่านร่างกฎหมายที่มีชื่อว่า “Stop Soros” ซึ่งเป็นกฎหมายที่เพิ่มภาษีและดำเนินคดี NGOs ในเครือข่ายของนายโซรอส ที่ลักลอบพาผู้อพยพเข้าประเทศ แล้วผลที่เกิดขึ้นก็คือ องค์กร Open Society Foundations (OSF) ต้องปิดตัวลงในเดือนธันวาคม ปี 2018 เนื่องจากกฎหมาย “Stop Soros” ทำให้ OSF ไม่สามารถปฏิบัติภารกิจในฮังการีต่อไปได้ ทำให้ต้องย้ายองค์กรและบุคลากรทั้งหมด จากฮังการี ไปยังกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี
และในช่วงเวลาเดียวกันนั่นเอง มหาวิทยาลัยเซ็นทรัลยูโรเปียน (Central European University – CEU) สถาบันการศึกษาในกรุงบูดาเปสต์ ที่นายโซรอสเป็นผู้ก่อตั้ง ก็ถูกรัฐบาลฮังการีปฏิเสธการต่อใบอนุญาตสถานศึกษา ทำให้มหาวิทยาลัย CEU ต้องประกาศย้ายสถานศึกษาและบุคลากรทั้งหมด ไปที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย
2. โปแลนด์
เดือนสิงหาคม 2018 รัฐบาลโปแลนด์ออกคำสั่งให้ขับไล่ชาวยูเครนรายหนึ่ง ออกจากประเทศโปแลนด์ กลับไปยังประเทศยูเครน ซึ่งชาวยูเครนรายนี้ เป็นผู้บริหารองค์กรคนสำคัญในเครือข่ายของนายโซรอส
โดยรัฐบาลโปแลนด์ระบุว่า ชาวยูเครนรายนี้ กระทำผิดว่าด้วยระบบฐานข้อมูลเชงเกนของสหภาพยุโรป (SIS – Schengen Information System) และมีพฤติกรรมที่เป็นภัยคุกคามความมั่นคงของโปแลนด์ จึงทำให้ผู้บริหารเครือข่ายโซรอสชาวยูเครนรายนี้ ถูกขึ้นบัญชีห้ามเข้าประเทศโปแลนด์ และห้ามเข้าประเทศอื่น ๆ ที่เป็นสมาชิกสหภาพยุโรป
3. มาซิโดเนีย
ประเทศมาซิโดเนีย หรือสาธารณรัฐนอร์ทมาซิโดเนีย เป็นประเทศหนึ่งในทางตอนใต้ของยุโรป ที่อยู่ติดกับประเทศกรีซและประเทศบัลแกเรีย ซึ่งภายในประเทศมาซิโดเนีย มีขบวนการที่มีชื่อว่า “Stop Operation Soros” (SOS) หรือ “หยุดปฏิบัติการณ์ของโซรอส”
ซึ่งขบวนการ SOS ก่อตั้งโดย VMRO-DPMNE พรรคการเมืองขวากลางในมาซิโดเนีย ที่มีเป้าหมายหลักในการถอนรากถอนโคนเครือข่ายของโซรอส หรือ “de-Soros-isation” ด้วยการเปิดโปงเครือข่ายองค์กรที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากนายโซรอส และผลักดันให้เกิดการเนรเทศองค์กรเหล่านี้ ออกไปจากมาซิโดเนีย
4. รัสเซีย
ย้อนกลับไปเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2015 รัฐบาลรัสเซียได้ประกาศยุบองค์กรเครือข่ายของนายโซรอส เนื่องจากเครือข่ายของนายโซรอส มีพฤติกรรมที่เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของรัสเซีย และเป็นภัยคุกคามต่อรัฐธรรมนูญรัสเซีย
ดร.สตีฟ เทอร์ลีย์ ระบุว่า กฎมายของรัสเซียนั้นพยายามคุ้มครองศาสนา ประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามของรัสเซีย ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ เป็นสิ่งที่เครือข่ายของนายโซรอส พยายามบั่นทอนและทำลาย ทำให้รัฐบาลรัสเซียมองว่า เครือข่ายของนายโซรอสเป็นภัยความคงต่อรัสเซีย
รัฐบาลรัสเซียภายใต้การนำของประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ ปูติน (Vladimir Putin) จึงได้ผ่านร่างกฎหมายห้ามไม่ให้องค์กรต่าง ๆ ในรัสเซีย รับเงินจากเครือข่ายของนายโซรอส พร้อมกับยุบองค์กรในเครือข่ายทั้งหมดของนายโซรอส
5. ตุรกี
ภายใต้การบริหารงานของนาย นายเรเซป เทย์ยิป เออร์โดกัน (Recep Tayyip Erdoğan) ประธานาธิบดีตุรกี รัฐบาลตุรกีสืบทราบว่า Open Society Foundations (OSF) และองค์กรในเครือข่ายของนายโซรอส เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการประท้วงที่รุนแรงอย่างมากเมื่อปี 2013 (The 2013 Gezi Park protests) ทำให้องค์กร OSF และเครือข่าย ต้องปิดตัวลง และย้ายออกไปจากตุรกีอย่างถาวร
6. ปากีสถาน
เดือนธันวาคม ปี 2017 มูลนิธิ OSF และองค์กรเครือข่ายของนายโซรอสในปากีสถาน ถูกรัฐบาลปากีสถานปฏิเสธการต่อใบอนุญาตองค์กร NGO ทำให้องค์กรเครือข่ายของนายโซรอสต้องปิดตัวลง และย้ายออกไปจากปากีสถาน แต่ทั้งนี้ ดร.สตีฟ เทอร์ลีย์ ระบุว่า รัฐบาลปากีสถานไม่ได้อธิบายว่า เหตุใดถึงปฏิเสธการต่อใบอนุญาตของ OSF
7. ฟิลิปปินส์
ฟิลิปปินส์ถือเป็นประเทศแรกในอาเซียน ที่ต่อต้านนายจอร์จ โซรอส อย่างแข็งกร้าว โดยเมื่อเดือนพฤษภาคม 2017 ประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตอร์เต (Rodrigo Duterte) ประกาศเตือนไปยังนายโซรอสว่า ถ้าหากนายโซรอสก้าวเท้าเข้ามาในประเทศฟิลิปปินส์ จะมีการตั้งค่าหัวไล่ล่านายโซรอส
ดร.สตีฟ เทอร์ลีย์ ระบุว่า ประธานาธิบดีดูเตอร์เต ประณามนายโซรอส ในฐานะผู้ทำลายเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประธานาธิบดีดูเตอร์เตก็ดำเนินนโยบายปราบปรามยาเสพติดอย่างจริงจัง ซึ่งเป็นนโยบายที่ตรงกันข้ามกับนายโซรอส ที่ต้องการทำให้ยาเสพติดถูกกฎหมายทั่วโลก
8. สิงคโปร์
เดือนเมษายน 2018 รัฐบาลสิงคโปร์มีคำสั่งห้ามออกใบอนุญาต ให้กับบริษัทเอกชนบริษัทหนึ่ง เนื่องจากรัฐบาลสิงคโปร์พบว่า บริษัทเอกชนรายนี้ ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจาก Open Society Foundations และบริษัทเอกชนรายนี้ก็มีความเชื่อมโยงกับสื่อแห่งหนึ่งในสิงคโปร์อีกด้วย
9. บราซิล
หลังจากเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีบราซิล เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2019 ได้ไม่กี่วัน นายฌาอีร์ โบลโซนารู (Jair Bolsonaro) ก็ได้สั่งให้รัฐบาลบราซิล จับตามองและควบคุมกิจกรรมขององค์กร NGOs ทั้งยังสั่งให้ตรวจสอบแหล่งเงินทุนที่สนับสนุน NGOs อีกด้วย
แม้ว่าจะไม่ได้ประกาศโดยตรงว่า เป็นนโยบายที่มีไว้ใช้กับเครือข่ายของนายโซรอส แต่ชาวบราซิลเห็นว่า ประธานาธิบดีฌาอีร์ มีความกังวัลเรื่อง NGOs ที่พยายามควบคุมชาวบราซิล (manipulate) และพยายามหลอกใช้ประโยชน์จากชาวบราซิล (exploit) ชาวบราซิลจึงมองว่า นโยบายนี้เป็นนโยบายที่ใช้สกัดกั้นเครือข่ายของนายโซรอส ซึ่งเป็นนโยบายที่คล้ายกับหลาย ๆ ประเทศที่แบนองค์กรในเครือข่ายโซรอส
ดร.สตีฟ เทอร์ลีย์ ระบุว่า เครือข่าย NGOs และ Open Society Foundtions ของนายโซรอส ถูกรัฐบาลบราซิลจับตามอง และถูกตรวจสอบอย่างใกล้ชิด ซึ่งถ้าหากรัฐบาลบราซิลพบว่า เครือข่ายของนายโซรอสกลายเป็นภัยคุกคามความมั่นคงของชาติ รัฐบาลบราซิลก็สามารถสั่งปิดองค์กรได้ หากเห็นว่าจำเป็น
จากการที่หลายประเทศทั่วโลกเริ่มต่อต้าน และเริ่มสกัดกั้นองค์กรในเครือข่ายของนายโซรอส ดร.สตีฟ เทอร์ลีย์ จึงประเมินว่า กระแสอนุรักษ์นิยมทั่วโลกจะยิ่งเติบโตมากขึ้นกว่าเดิม พร้อมกับชี้ให้เห็นว่า นายโซรอสก็รับรู้เรื่องนี้เป็นอย่างดีว่า กระแสชาตินิยมทั่วโลกกำลังมีมากขึ้นเรื่อยๆ
จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้มีข่าวเมื่อเดือนมกราคม ปี 2020 ที่เปิดเผยว่า นายโซรอสได้ทุ่มทุนเงิน 1 พันล้านดอลลาร์ (3.1 หมื่นล้านบาท) เพื่อสู้กับกระแสชาตินิยมทั่วโลก แต่ดร.สตีฟ เทอร์ลีย์ กลับมองว่า เงิน 1 พันล้านดอลลาร์ของนายโซรอส ไม่สามารถเอาชนะประเพณี วัฒนธรรม และความรักชาติในประเทศต่าง ๆ ได้ และดร.สตีฟ เทอร์ลีย์ ก็มองว่า ฝ่ายอนุรักษ์นิยมจะกลายเป็นฝ่ายที่ได้รับชัยชนะในอนาคต ซึ่งเป็นอนาคตที่จอร์จ โซรอส จะหมดอำนาจ
เคยตรวจสอบโบรกเกอร์ Forex ของคุณบ้างไหม บางทีใบอนุญาตโบรกเกอร์ของคุณอาจจะเพิ่งถูกถอดไปก็เป็นได้ และโบรกเกอร์ของคุณกลายเป็นโบรกเกอร์เถื่อน เมื่อโบรกเกอร์ล้มละลายหรือโกงเงินคุณจะไม่ได้รับเงินชดเชยใดใดเลย ตรวจสอบตอนนี้เลยโดยโหลดแอพ WikiFX มาตรวจสอบ!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
Tickmill
FXTM
XM
FP Markets
OANDA
IQ Option
Tickmill
FXTM
XM
FP Markets
OANDA
IQ Option
Tickmill
FXTM
XM
FP Markets
OANDA
IQ Option
Tickmill
FXTM
XM
FP Markets
OANDA
IQ Option