简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:แผนเศรษฐกิจของ "เจเน็ต เยลเลน" ผู้นำทีมฟื้นเศรษฐกิจสหรัฐในรัฐบาลโจ ไบเดน ที่น่าจับตาจากอดีตประธานธนาคารกลาง (เฟด) สู่รัฐมนตรีคลังหญิงคนแรกของสหรัฐ จะนำทีมเศรษฐกิจฟื้นฟูเศรษฐกิจสหรัฐหลังเผชิญวิกฤติโควิด-19 อย่างไร?
“นางเจเน็ต เยลเลน” (อดีตประธานธนาคารกลาง (เฟด) ซึ่งพ้นตำแหน่งไปเมื่อปี 2561 ในยุคของประธานาธิบดีทรัมป์) ได้กลับมาเป็นผู้นำทีมฟื้นเศรษฐกิจสหรัฐอีกครั้งในบทบาทใหม่คือ รัฐมนตรีคลังหญิงคนแรกของสหรัฐ
ตอนที่นางเจเน็ต เยลเลน ทำหน้าที่เป็นประธานเฟดในช่วงปี 2557-2561 ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐเริ่มฟื้นตัวจากวิกฤตการณ์การเงินโลกแล้ว นางเจเน็ต เยลเลนได้เดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายติดต่อกันหลายครั้งแม้จะไม่มีสัญญาณของการจ้างงานเต็มที่ก็ตาม ทั้งนี้ก็เพื่อเตรียมการที่จะค่อยๆ ทยอยปล่อยขายหลักทรัพย์ทางการเงินที่ถือไว้จำนวนมากออกมา (Feds QE exit strategy) แต่ก็ยังทำอะไรไม่ได้มาก เพราะเธอได้ครบวาระแรกของการดำรงตำแหน่งประธานเฟดไปเสียก่อน
การระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ปีที่แล้ว ได้ทำให้ธนาคารกลางหลายแห่งซึ่งรวมถึงสหรัฐด้วย มีความจำเป็นต้องหันกลับไปใช้นโยบายคิวอีกันอีกครั้ง อัตราดอกเบี้ยนโยบายในหลายประเทศก็ได้ลดลงกลับไปใกล้ศูนย์กันอีกรอบ จึงมีคำถามว่าการกลับมาสวมหมวกรัฐมนตรีคลังหนนี้นั้น นางเจเน็ต เยลเลนจะวางแผนจัดการกับปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐที่เกิดจากการระบาดของโควิด-19 ให้ฟื้นคืนมาได้อย่างไรบ้าง
นางเยลเลนได้ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า ในสถานการณ์ปัจจุบันที่อัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับที่ต่ำมากนี้ สหรัฐควรกล้าที่จะ “จัดหนัก” เรื่องการใช้จ่ายงบประมาณจำนวนมากในรูปของมาตรการทางการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้พลิกฟื้นกลับขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งเธอเชื่อว่ามาตรการทางการคลังดังกล่าวจะสร้าง “ประโยชน์” ได้มากกว่า “ต้นทุน” ที่เสียไป
เธอยังหวังว่ารัฐสภาสหรัฐจะให้ความเห็นชอบผ่านแผนกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีมูลค่า 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ของประธานาธิบดีโจ ไบเดน (ที่หลายฝ่ายมองว่าอาจจะเกินตัวในยามที่สหรัฐกำลังขาดดุลงบประมาณที่สูงถึงร้อยละ 15 ของจีดีพี และมีหนี้สาธารณะถึงร้อยละ 100 ของจีดีพี) เธอกล่าวว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องเร่งด่วนที่สหรัฐจะต้องเร่งช่วยเหลือประชาชนของตนที่ตกงานและคนด้อยโอกาสในสังคม เพื่อให้พวกเขาสามารถผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ได้ ส่วนปัญหาเรื่องหนี้สาธารณะและการขาดดุลงบประมาณนั้น เราสามารถรอไปแก้ในช่วงระยะกลางต่อไปได้
นอกจากนี้ นโยบายภาษีของประธานาธิบดีโจ ไบเดนที่ได้สัญญาไว้กับประชาชนในช่วงหาเสียงว่าจะมีการปรับเพิ่มขึ้น เช่น ภาษีเงินได้ธุรกิจที่จะปรับขึ้นจากร้อยละ 21 ไปเป็นร้อยละ 28 เป็นต้นนั้น ก็จะช่วยเพิ่มรายได้ภาษีและลดการขาดดุลงบประมาณของภาครัฐได้บางส่วน
เธอยังคาดการณ์ว่าผลจากการใช้จ่ายจำนวนมากของภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจนี้ (เมื่อผนวกกับผลของการฉีดวัคซีนให้คนอเมริกันจำนวนมากเพื่อหยุดยั้งการระบาดของโควิด-19) แม้ส่งผลให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อตามมา แต่เธอก็มั่นใจว่าธนาคารกลางสหรัฐจะสามารถใช้นโยบายการเงินเพื่อสกัดปัญหาเงินเฟ้อเอาไว้ได้
ในเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนนั้น เจเน็ต เยลเลน ได้ย้ำว่าเธอไม่เห็นด้วยกับเรื่องการแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อป้องกันไม่ให้เงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่ามากเกินไป ขณะเดียวกัน สหรัฐก็จะมีมาตรการตอบโต้ประเทศอื่นที่ดำเนินนโยบายบิดเบือนลดค่าเงินของตัวเองเหมือนในอดีตเช่นกัน
ส่วนเรื่องของประเทศจีนนั้น นางเจเน็ต เยลเลน กล่าวว่า จะยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับอัตราภาษีศุลกากรที่ดำเนินการไปแล้วกับประเทศจีนในช่วงนี้ ซึ่งสะท้อนท่าทีเชิงรุกของสหรัฐต่อประเทศจีนในเรื่องเศรษฐกิจและการค้า ว่าจะยังคงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนักในเร็วๆ นี้
และในฐานะที่เธอก็เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งด้วย จึงไม่น่าแปลกใจที่นางเจเน็ต เยลเลนจะมีความเห็นว่าเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงและมีความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหาโลกร้อนก็คือ การใช้ระบบการกำหนดราคาคาร์บอนที่ได้ผลนั่นเอง
โดยสรุปแล้ว ผู้เขียนขอวิเคราะห์ว่ารัฐมนตรีคลังคนใหม่ของสหรัฐ นางเจเน็ต เยลเลน คงคาดการณ์ว่าการกระจายฉีดวัคซีนจะสามารถช่วยสกัดและลดความกังวลในปัญหาเรื่องการระบาดของโควิด-19 ในสหรัฐได้ในไม่ช้า เธอจึงตัดสินใจจัดหนักใช้ “สมาร์ทบอมบ์ทางการคลัง” เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและช่วยเหลือคนตกงาน ธุรกิจ และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แบบเทเกือบหมดหน้าตัก โดยไม่ต้องห่วงเรื่อง “เสถียรภาพทางการคลัง” และ “เสถียรภาพราคา” เพราะเธอมั่นใจว่าจะตามไปแก้ในภายหลังได้ สำหรับเธอแล้วการแก้ปัญหาเศรษฐกิจเฉพาะหน้ามีความสำคัญมากกว่า จึงไม่อาจปล่อยให้ปัญหาทรุดหนักไปกว่านี้ เพราะจะก่อความเสียหายที่มากกว่าได้ในระยะยาว
ส่วนปัจจัยสำคัญที่จะกำหนดว่าแผนเศรษฐกิจดังกล่าวจะสำเร็จหรือไม่ คงหนีไม่พ้นเรื่องประสิทธิผลวัคซีนที่จะต้อง “เอาชนะ” โควิด-19 ให้ได้ก่อนที่สหรัฐจะใช้กระสุน “สมาร์ทบอมบ์ทางการคลัง” จนหมดเกลี้ยง จึงต้องจับตาดูด้วยใจระทึกต่อไป เพราะพวกเราก็มีส่วนได้ส่วนเสียในทางอ้อมด้วยไม่มากก็น้อย
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
OANDA
EC Markets
FBS
IC Markets Global
HFM
STARTRADER
OANDA
EC Markets
FBS
IC Markets Global
HFM
STARTRADER
OANDA
EC Markets
FBS
IC Markets Global
HFM
STARTRADER
OANDA
EC Markets
FBS
IC Markets Global
HFM
STARTRADER