简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:นักลงทุนหน้าใหม่วัย 20 ปี นาม “Alex Kearns” ที่เพิ่งก้าวเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นอเมริกาผ่านทางแอปพลิเคชันชื่อดัง Robinhood ได้ฆ่าตัวตาย จากความ ‘ไม่รู้ในการลงทุนตราสารอนุพันธ์’
ย้อนไปเมื่อปีที่แล้ว วงการการลงทุนได้เกิดโศกนาฏกรรมขึ้นจากความ ‘ไม่รู้ในการลงทุนตราสารอนุพันธ์’ ของนักลงทุนหน้าใหม่วัย 20 ปี นาม “Alex Kearns” ที่เพิ่งก้าวเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นอเมริกาผ่านทางแอปพลิเคชันชื่อดัง Robinhood ได้ฆ่าตัวตาย โดยพ่อของเขาได้พบโน้ตสีเหลืองที่ประตูเขียนไว้ว่าให้ไปเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ หลังจากที่ก็พบประโยคที่ลูกชายกล่าวก่อนตายไว้ว่า “If youre reading this, then I am dead” (ถ้าพ่อได้อ่าน ผมก็คงตายไปแล้ว)
คอมพิวเตอร์ยังเขียนด้วยว่าตัวเองขาดทุนเป็นเงินถึง $730,165 หรือราว ๆ 22 ล้านบาท โดยกล่าวหา Robinhood ที่ทำให้ตนเองมีความเสี่ยงเพราะใช้ด้วยความไม่เข้าใจว่าทำไม Put Option ที่ซื้อมากับหุ้นที่จะขายไปไม่หักลบกันไป กลายเป็นหนี้เยอะขนาดนี้
ครอบครัว Kearns เชื่อว่า Alexander ได้เข้าใจผิดโดยอินเทอร์เฟซของแอปที่บอกว่าเขาเป็นหนี้ $730,165 “เด็กคนนี้กระโดดไปที่หน้ารถไฟเพราะ Robinhood ไม่เข้าใจว่าพวกเขาไม่ควรแสดงยอดเงินสดติดลบ $730,165 ให้เด็กอายุ 20 ปี” บิลบรูว์สเตอร์ญาติของเคิร์นส์กล่าว
การที่ Cash กับ Buying Power ติดลบมากขนาดนั้นเป็นเพราะยอดของ Put Option ยังไม่เกิดขึ้นจริง (Settle) ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ระบบของ Robinhood แค่บันทึกยอดขาดทุนที่อาจจะเกิดขึ้นถ้ามีการตกลงกันได้จริง ๆ ถ้านาย Alex ไม่อยากให้เกิดการการซื้อขายครั้งนี้ ก็จ่ายแค่ค่าพรีเมี่ยมไป เหตุการณ์นี้กลายเป็นเรื่องที่เข้าใจผิดทำให้นักลงทุนรายย่อยที่ผู้เริ่มลงทุนต้องเสียชีวิตด้วยการฆ่าตัวตาย
Alex ปลิดชีวิตตนเองจากความเข้าใจผิดในแพลตฟอร์มสำหรับซื้อขายตราสารอนุพันธ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงสูงที่สุดด้วยเช่นกัน หากเขามีความเข้าใจในสินค้าตราสารอนุพันธ์อย่างถูกต้องก็อาจจะไม่เกิดโศกนาฏกรรมครั้งนี้ แล้วจริง ๆ ตราสารอนุพันธ์คืออะไร?
ตราสารอนุพันธ์ (Derivative) คือสินทรัพย์ทางการเงินชนิดหนึ่งที่มูลค่าของตัวเอง ‘ขึ้นอยู่กับสิ่งอื่นที่’ เรียกว่า สินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset) มีหลายรูปแบบเช่น ในรูปแบบที่เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งจะเป็นการทำสัญญากันระหว่างบุคคล 2 ฝ่ายที่ทำการตกลงกัน ณ วันนี้ เพื่อซื้อสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง โดยมีการระบุประเภท จำนวน และเวลาส่งมอบสินค้ากัน โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท
Forward
การนัดซื้อขายล่วงหน้า มีข้อกำหนดในการส่งมอบชัดเจน มักทำโดยรัฐบาล ธนาคาร องค์กรขนาดใหญ่ ที่ทำสัญญาขายสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงมากเช่นหุ้น หุ้นกู้ เงินตราต่างประเทศ (Forex)
Swap
การตกลงแลกเปลี่ยนกระแสเงินสดระหว่าง 2 ฝ่ายในอนาคต โดยอ้างอิงจากราคาของสินค้าอ้างอิง ที่เป็นได้ทั้งดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน หรือราคาหุ้น
Future
การตกลงจะซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าในราคาที่ตกลงกันในปัจจุบันตามเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา โดยการซื้อขายตราสารอนุพันธ์แบบฟิวเจอร์ไม่ต้องถือจนครบราคา จะขายก่อนเพื่อยกเลิกฐานะการเป็นผู้ซื้อก็ได้ แต่ถ้าถือจนครบเวลาจะต้องมีการส่งมอบสินค้าอ้างอิงให้กันจริงๆ เช่น ทองคำ สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าการเกษตร
Option
เป็นการตกลงกันว่าผู้ซื้อมีสิทธิจะซื้อสินค้าเมื่อครบสัญญา แต่ผู้ซื้อจะใช้สิทธินั้นหรือไม่ก็ได้ แต่ถ้าจะซื้อผู้ขายต้องมีสินค้าอ้างอิงให้ โดยจะมีการระบุไว้ในสัญญาอย่างชัดเจนถึงจำนวนสินค้า ราคา ระยะเวลา และผู้ซื้อจะต้องมีการจ่ายค่าพรีเมี่ยมให้กับผู้ขายด้วย ในปัจจุบันสินค้าประเภท Option มีแค่ SET 50 Index
อย่างที่รู้กันว่า ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง ยิ่งการลงทุนในตราสารอนุพันธ์ที่ให้ผลตอบแทนมาก ยิ่งมีความเสี่ยงมากไปด้วย “การศึกษาข้อมูล” จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ App WikiFX ได้รวบรวมความรู้ ข่าวสารเกี่ยวกับการลงทุน เทคนิค หรือความเสี่ยงที่จะพบจากการลงทุนไว้แล้ว คุณสามารถดาวน์โหลดเพื่อรับการแจ้งเตือนสิ่งเหล่านี้ได้ฟรี!
เคยตรวจสอบโบรกเกอร์ Forex ของคุณบ้างไหม บางทีใบอนุญาตโบรกเกอร์ของคุณอาจจะเพิ่งถูกถอดไปก็เป็นได้ และโบรกเกอร์ของคุณกลายเป็นโบรกเกอร์เถื่อน เมื่อโบรกเกอร์ล้มละลายหรือโกงเงินคุณจะไม่ได้รับเงินชดเชยใดใดเลย ตรวจสอบตอนนี้เลยโดยโหลดแอพ WikiFX มาตรวจสอบ!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
เมื่อ 26 ปีที่แล้ว ‘Barings Bank’ ธนาคารเพื่อการลงทุนที่เปิดมานานกว่า 223 ปี ซึ่งนับว่าเก่าแก่ที่สุดในสหราชอาณาจักร ถูกประกาศล้มละลายจากการขาดทุนกว่า 4 หมื่นล้านบาทจากน้ำมือ ‘เทรดเดอร์ขี้โกง’ เพียงคนเดียว
วันนี้เราจะพามารู้จัก ‘Sandile Shezi’ เทรดเดอร์ Forex มหาเศรษฐีชาวแอฟริกาใต้ เชื่อหรือไม่ว่าเขาคนนี้เกิดในสลัมยากจนในเมืองเดอร์บัน เริ่มหาเงินโดยการขายเค้กตอนอายุ 12
ไม่ว่าคุณจะเป็นเทรดเดอร์สายไหนในโลกแห่งการเงิน วันหยุดสบาย ๆ แบบนี้ เราอยากพาคุณไปดูภาพยนตร์ที่สร้างแรงบันดาลใจ ปลุกไฟในตัวเทรดเดอร์อย่างคุณให้กลับมาลุกโชน จะมีเรื่องไหนบ้าง ไปตำ!!!
‘Tim Grittani’ เริ่มซื้อขายหุ้นเพนนีด้วยเงิน 1,500 ดอลลาร์ (ราว ๆ 5 หมื่นบาท) ตามบทเรียนของกูรูหุ้นเพนนี ‘Tim Sykes’ โดย Grittani ทำกำไรได้มากกว่า 1 ล้านดอลลาร์ (ราว ๆ 33 ล้านบาท) ใน 3 ปี! ตอนนั้นเขาอายุ 24 ปีเท่านั้น!