简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ขึ้นชื่อว่า “การลงทุน” ทุกประเภทต้องเสียภาษีอากรให้กับประเทศทั้งนั้น แต่การลงทุนในทรัพย์สินดิจิทัลอย่างคริปโตเคอเรนซี่ที่กำลังมาแรงในปีนี้เนี่ย ถือเป็นเรื่องใหม่มาก หลายคนยังไม่รู้ว่าเจ้าเหรียญคริปโตเนี่ย ต้องเสียภาษีหรือไม่ แล้วเสียอย่างไร วันนี้ WikiFX หาข้อมูลมาให้แล้ว ไปดูกัน
ขึ้นชื่อว่า “การลงทุน” ทุกประเภทต้องเสียภาษีอากรให้กับประเทศทั้งนั้น แต่การลงทุนในทรัพย์สินดิจิทัลอย่างคริปโตเคอเรนซี่ที่กำลังมาแรงในปีนี้เนี่ย ถือเป็นเรื่องใหม่มาก หลายคนยังไม่รู้ว่าเจ้าเหรียญคริปโตเนี่ย ต้องเสียภาษีหรือไม่ แล้วเสียอย่างไร วันนี้ WikiFX หาข้อมูลมาให้แล้ว ไปดูกัน
นักลงทุนทรัพย์สินดิจิตอลในไทย มีหน้าที่เสียภาษีอยู่ 2 อย่างด้วยกัน ประกอบไปด้วย
1. การเสียภาษี ณ ที่จ่าย 15%
2. ยื่นเป็นภาษีรายได้บุคคลธรรมดา
จาก พรก.ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ.2561 ที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและบังคับใช้อย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ค. 2561 มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการภาษีของสกุลเงินดิจิทัลไว้ว่า “กำไร เงินปันผล และผลประโยชน์ที่เราได้รับจากการซื้อ-ขายบิตคอยน์และสกุลเงินคริปโตนั้นจะต้องเสียภาษี ณ ที่จ่าย ร้อยละ 15 ของกำไรที่ได้”
กล่าวคือ กำไรใด ๆ ก็ตามที่เกิดจากการซื้อขาย Cryptocurrency ถ้าคุณเทรดในประเทศไทย คุณจะต้องเสียภาษี ณ ที่จ่าย 15% ไม่ว่าคุณจะกำไรเป็นเงินบาท Bitcoin, ETH หรือเหรียญใด ๆ ก็ตาม โดยการหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% นั้นต้องมีผู้ที่ทำหน้าที่จัดเก็บภาษีในจุดนี้เพื่อนำส่งสรรพากร ซึ่งในที่นี้คือผู้ทำธุรกิจสินทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตนั่นเอง
แม้หักภาษี 15% ไปแล้ว แต่ต้องนำมายื่นภาษีประจำปีด้วย เนื่องจากไม่มีกฎหมายให้สิทธิ์ไม่ต้องยื่นภาษี ซึ่งแตกต่างกับรายได้จากการลงทุนในรูปของดอกเบี้ยหรือเงินปันผลอย่างชัดเจนที่สามารถปล่อยให้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายโดยไม่ต้องนำมายี่นภาษีอีกครั้ง ดังนั้น การหักภาษีของทรัพย์สินดิจิตอล ณ ที่จ่าย 15% จึงเป็นเพียงการชำระภาษีล่วงหน้าเท่านั้น ยังไม่ใช่ภาษีสุดท้าย
แล้วทำไมเราต้องเสียภาษีสินทรัพย์ดิจิทัล? พรก.การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ.2561 เกิดขึ้นมาเพื่อควบคุมธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลซึ่งครอบคลุมการซื้อ-ขายคริปโตเคอเรนซี่ให้เป็นไปตามกฎหมาย และเปิดช่องให้รัฐบาลสามารถตรวจสอบได้ในกรณีที่พบว่ามีการใช้สกุลเงินดิจิทัลแลกเปลี่ยนสิ่งผิดกฎหมายที่อาจเป็นภัยต่อความมั่นคง
ด้วยเหตุนี้ การเสียภาษีดิจิทัลของเราจึงเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนในการลงทุนที่เราทุกคนต้องจ่าย ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในหุ้นหรืออสังหาริมทรัพย์ เพราะภาษีที่จัดเก็บดังกล่าวจะถูกใช้ไปในการพัฒนาประเทศ กระจายความเท่าเทียม และลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
หากไม่จ่ายเป็นอย่างไร? พรก. ดังกล่าว ไม่ได้ระบุบทลงโทษกรณีที่เราไม่ได้นำรายได้จากบิตคอยน์ไปคำนวณภาษีรายได้บุคคลประจำปีด้วย แต่ก็กำหนดบทลงโทษทั้งทางแพ่งและอาญาสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม พรก.ดังกล่าว โดยมีโทษสูงสุดคือทั้งจำทั้งปรับในกรณีที่นักลงทุนจงใจใช้บัญชีซื้อ-ขายสินทรัพย์ดิจิทัลของบุคคลอื่น เพื่อหาผลประโยชน์แบบไม่ถูกต้องไม่ว่าจะเป็นการซื้อ-ขายสิ่งผิดกฎหมายหรือใช้บัญชีของผู้อื่นเทรดโดยปราศจากการยินยอม กรณีนี้ย่อมมีโทษหนักกว่าการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีหลายเท่า
อย่างที่ได้กล่าวไว้ตอนต้นว่า การลงทุนทุกประเภทย่อมต้องเสียภาษีด้วยกันทั้งนั้น Cryptocurrency ก็นับเป็นสินทรัพย์หนึ่งที่หลีกเลี่ยงการเสียภาษีไม่ได้อยู่แล้ว แม้การที่รัฐเข้ามาเก็บภาษีในสินทรัพย์ดิจิทัล จะทำให้ Cryptocurrency ขาดอิสระไปบ้าง แต่ในทางหนึ่งก็มีข้อดีว่า อย่างน้อยการลงทุนประเภทนี้ก็อยู่ภายใต้การควบคุมของกฎหมาย การกำกับดูแลของหน่วยงานรัฐบาลจะช่วยทำให้เรามั่นใจได้ว่า การลงทุนใน Cryptocurrency นั้นมีความยั่งยืนและปลอดภัย
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังก้าวขาเข้ามาลงทุนในโลกคริปโตเคอเรนซี่ เราบอกไว้เลยว่ายังมีเรื่องราวอีกมากมาย หลายแง่มุมที่คุณต้องศึกษาก่อนลงทุนจริง ด้วยการนี้เราจึงอาสารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนจากทั่วโลกไว้หมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเกร็ดความรู้ สาระ เทคนิคการลงทุนที่มีให้แบบวันต่อวัน ไม่อยากพลาดทุกความเคลื่อนไว้ โหลดแอป WikiFX ไว้นะ โหลดฟรี!
เลือกโบรกเกอร์มันยากไม่รู้จะเอาอะไรดี ลองมาดูการจัดอันดับโบรกเกอร์ Forex จาก WikiFX ไหม เราได้จัดอันดับโบรกเกอร์ดีและไม่ดี ให้คุณได้เลือกโบรกง่ายขึ้น ถ้าโบรกเกอร์คุณติดอันดับ 50 ขึ้นไปถือว่าสามารถสบายใจได้เลยว่าโบรกเกอร์ของคุณนั้นมาตรฐานดี ดาวน์โหลดแอพ WikiFX เลย!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
OANDA
IB
FBS
IC Markets Global
ATFX
Neex
OANDA
IB
FBS
IC Markets Global
ATFX
Neex
OANDA
IB
FBS
IC Markets Global
ATFX
Neex
OANDA
IB
FBS
IC Markets Global
ATFX
Neex