简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ส่องภาพเศรษฐกิจสหรัฐต่อจากนี้ หลังจากคนอเมริกันมีภูมิคุ้มกันโควิด-19 ภายในไตรมาส 3 ตามแผนแล้ว น่าจะทำให้เกิดการแย่งกันใช้เงิน เพราะมีการอั้นใช้จ่ายช่วงก่อนหน้า รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ประธานาธิบดีไบเดนกำลังเสนอต่อสภา 1.9 ล้านล้านดอลลาร์
ในเดือน ก.พ. ตลาดทุนกลับมาแสดงความกังวลในระดับหนึ่ง เกี่ยวกับความเสี่ยงที่เศรษฐกิจสหรัฐ อาจต้องเผชิญกับแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ปรับสูงขึ้นเกินกว่าคาดได้ในครึ่งหลังของปีนี้ ความกังวลดังกล่าวยังไม่ใช่ความเห็นของเสียงส่วนใหญ่ แต่มีความเป็นไปได้ว่าภายในกลางปีนี้เงินเฟ้อในสหรัฐจะเป็นเรื่องที่มีการกล่าวถึงกันอย่างแพร่หลาย และอาจเป็นข้อกังวลหลักของตลาดทุน ตลาดเงิน และประชาชนทั่วไปได้
ในเมื่อเราจะต้องระวังเงินเฟ้อ หลายคนจึงอาจคิดว่าจะต้องติดตามดูตัวเลขเงินเฟ้อที่ประกาศออกมาทุกเดือน เช่น ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index) หรือดัชนีการใช้จ่ายเพื่อบริโภคของบุคคล (Personal Consumption Expenditure Index) แต่หากทำเช่นนั้นก็น่าจะเข้าใจผิดและคิดว่าเงินเฟ้อปรับสูงขึ้นอย่างมากในไตรมาส 2 ของปีนี้เพราะราคาสินค้าและบริการจะปรับสูงขึ้นอย่างมาก เนื่องจากราคาสินค้า (รวมถึงพลังงาน) และราคาบริการด้านการท่องเที่ยวได้ปรับลดลงอย่างมากในไตรมาส 2 ของปีที่แล้ว
ดังนั้น ตัวเลขเงินเฟ้อในไตรมาส 2 ปีนี้จะปรับเพิ่มขึ้นอย่างมาก เพราะใช้ราคาในไตรมาส 2 ของปีที่แล้วเป็นฐานในการคำนวณ ตัวอย่างเช่น เนื่องจากราคาสินค้าโดยรวมในสหรัฐปรับลดลงประมาณ 1.2% ในไตรมาส 2 ของปี 2563 หากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นตามปกติเฉลี่ย 2% ในกรณีที่ไม่มีโรคระบาดโควิด-19 ก็จะทำให้ตัวเลขเงินเฟ้อในไตรมาส 2 ของปีนี้จะสามารถปรับเพิ่มขึ้นเกินกว่า 3% หรือถึง 4% ได้โดยง่าย
แต่จะไม่สามารถสรุปได้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐกำลังเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อที่ยืดเยื้อ เพราะจะเป็นเพียงการเพิ่มขึ้นของราคาเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน แต่ไม่จำเป็นต้องปรับเพิ่มขึ้นในระดับเดียวกันอย่างต่อเนื่องในครึ่งหลังของปีนี้
นอกจากนั้นก็ยังมีความเป็นไปได้อย่างมากว่าจะมีการใช้จ่ายเงิน (ทั้งในด้านการบริโภคและการลงทุน) ที่ทะลักออกมาอย่างมากและต่อเนื่องในครึ่งหลังของปี 2564 นี้ เพราะรัฐบาลสหรัฐแจกเงินและอัดเงินให้กับประชาชนอย่างมากมาย เช่นในปี 2563 รัฐบาลสหรัฐ “ใส่เงิน” เข้าไปในเศรษฐกิจด้วยนโยบายการคลังคิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 3.5 ล้านล้านดอลลาร์หรือเกือบ 18% ของจีดีพีในปี 2563 (รัฐบาลไทย “ใส่เงิน” โดยนโยบายการคลังไม่ถึง 4% ของจีดีพีในปี 2563)
จึงมีการอ้างตัวเลขที่ประเมินว่าในช่วงเดือน มี.ค.-พ.ย.2563 คนอเมริกันมีเงินออม (เหลือที่ยังไม่ได้ใช้) เพิ่มขึ้น 1.56 ล้านล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ยังไม่รวมเงินที่รัฐบาลทรัมป์แจกเพิ่มอีก 9 แสนล้านดอลลาร์ ที่ได้รับอนุมัติจากรัฐสภาเมื่อเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมา (โดยจะจ่ายเงินให้กับประชาชนอีกคนละประมาณ 600 ดอลลาร์)
ดังนั้น เมื่อมีการฉีดวัคซีนกันอย่างทั่วถึง ทำให้คนอเมริกันมีภูมิคุ้มกันโควิด-19 อย่างแพร่หลายภายในไตรมาส 3 ตามแผนแล้ว ก็น่าจะทำให้เกิดการแย่งกันใช้เงินอย่างกว้างขวางเพราะมีการ “อั้น” การใช้จ่ายอย่างมากและประชาชนก็ยังมีเงินออมเหลือใช้เต็มกระเป๋า ทั้งนี้ยังไม่รวมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ประธานาธิบดีไบเดนกำลังเสนอต่อสภาที่มีมูลค่าอีก 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ หรือเกือบ 9% ของจีดีพี (ที่อาจถูกลดทอนลงบ้าง) แต่ก็น่าจะแจกเงินให้ประชาชนอีก 1,400 ดอลลาร์ต่อคน ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวน่าจะนำออกมาแจกจ่ายให้กับประชาชนได้ตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปีนี้เป็นต้นไป
ถามว่าการแย่งกันกินและแย่งกันใช้เนื่องจาก pent-up effective demand นี้จะทำให้เกิดเงินเฟ้อมากไหม ก็ต้องบอกว่ามีโอกาสทำให้ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นได้อย่างมาก เพราะส่วนที่ “อั้น” หรือ pent-up มากที่สุดคือ “การบริการ” เช่น การท่องเที่ยวและร้านอาหารซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่สามารถผลิต “สินค้า” (บริการ) สต็อกเอาไว้ก่อนเพื่อรองรับอุปสงค์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นได้ ตรงกันข้ามร้านอาหารที่ต้องปิดตัวลงไปแล้วหลายแห่งจะลดกำลังการผลิตบริการลงจากยุคก่อนการระบาดของโควิด-19 ดังนั้น เงินเฟ้อในส่วนของภาคบริการจึงน่าจะรุนแรงและยืดเยื้อกว่าภาคส่วนอื่นๆ ของเศรษฐกิจอีกด้วย
ประเด็นที่ตามมาคือการคำนวณ Output Gap หรือปริมาณสินค้าและบริการที่เศรษฐกิจมีศักยภาพที่สามารถผลิตได้ (potential output) เทียบกับปริมาณสินค้าและบริการที่เศรษฐกิจกำลังผลิตอยู่ในขณะนี้ ซึ่งในสหรัฐนั้น Congressional Budget Office ประเมินว่า Output Gap ในปี 2564 นั้นอาจมีเพียง 1.7% น้อยกว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ประธานาธิบดีไบเดนกำลังเสนอต่อสภาที่มีมูลค่าเท่ากับ 9% ของจีดีพี กล่าวคือสูงกว่า Output Gap ประมาณ 5 เท่า ดังนั้นจึงน่าจะขับเคลื่อนให้เงินเฟ้อสูงได้อย่างมากในปี 2564
สิ่งที่ต้องประเมินคือเงินเฟ้อที่สหรัฐจะ “ติดลมบน” และยืนอยู่ที่ระดับสูงเกินกว่า 2.5% (ที่เป็นเป้าเฉลี่ยของธนาคารกลางสหรัฐ) อย่างต่อเนื่องไปในปี 2565 และ 2566 หรือ เพราะหากเป็นเช่นนั้นธนาคารกลางสหรัฐก็คงน่าจะต้องเปลี่ยนท่าทีในเชิงของอัตราดอกเบี้ยนโยบายและการทำคิวอี (พิมพ์เงินใหม่ออกมาซื้อพันธบัตร) ซึ่งบางคนอาจสรุปว่า เงินเฟ้อจึงน่าจะเป็นปัญหาของปี 2565 ไม่ใช่ปี 2564 แต่หากเงินเฟ้อจะ “ติดลมบน” ในปี 2565 ตลาดทุนก็จะต้องคาดการณ์และปรับตัวไปก่อนแล้วประมาณไตรมาส 3 ของปีนี้
อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญคือ ตัวทวีคูณของประมาณเงิน (money multiplier) ที่ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือในสหรัฐนั้นปริมาณฐานเงินที่มีอยู่นั้นเคยหมุนประมาณ 9 รอบต่อปี แต่ปรับลดลงมาตลอด หมายความว่าเมื่อธนาคารกลางพิมพ์เงินออกมาเพิ่ม ธนาคารพาณิชย์ไม่ยอมปล่อยสินเชื่อเพิ่มโดยนำเงินกลับไปฝากเอาไว้ในบัญชีของตนที่ธนาคารกลาง แต่ในกรณีที่เศรษฐกิจร้อนแรงและธนาคารพาณิชย์เปลี่ยนพฤติกรรมรีบนำเอาเงินส่วนเกินกลับมาปล่อยกู้ ก็จะเป็นการกระตุ้นให้เงินเฟ้อทวีความรุนแรงขึ้นได้อย่างรวดเร็วครับ
ขอขอบคุณบทความจาก BangkokBiznews
คุณกำลังมองหาโบรกเกอร์ Forex แนะนำอยู่หรือไม่ ถ้าใช้ให้ดาวน์โหลดแอพ WikiFX เพื่อตรวจสอบโบรกเกอร์หรือดูการจัดอันดับ โบรกเกอร์ Forex เพราะแอพ WikiFX ได้ตรวจสอบโบรกเกอร์และคัดสรรมาให้หมดแล้ว ว่าโบรกเกอร์ไหนดีหรือไม่ดี
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
HFM
Tickmill
IC Markets Global
FP Markets
Pepperstone
ATFX
HFM
Tickmill
IC Markets Global
FP Markets
Pepperstone
ATFX
HFM
Tickmill
IC Markets Global
FP Markets
Pepperstone
ATFX
HFM
Tickmill
IC Markets Global
FP Markets
Pepperstone
ATFX