简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ทำความรู้จักพันธบัตร และสัมพันธ์กับเศรษฐกิจ ส่งผลต่อ เศรษฐกิจ, หุ้น, Forex อย่างไร?
พันธบัตร เป็นกระดาษออกโดยรัฐบาลหรือเอกชน เพื่อขอยืมเงิน และจะจ่ายดอกเบี้ยให้ตามระยะเวลาที่กำหนด
2. พันธบัตรมีทั้งของบริษัท และของรัฐบาล ในที่นี้เราจะพูดถึงรัฐบาลเป็นหลัก โดยพันธบัตรมีทั้งอายุสั้นและยาว ตั้งแต่ 1 เดือนจนถึง 30 ปี
3. พันธบัตร อายุเกิน 1 ปี เรียกว่า Treasury Bill พันธบัตรอายุ 2-10 ปีเรียก note และเกิน 10 ปี เรียก Bond และผลตอบแทนพันธบัตรเราจะเรียกว่า Yield
4. เวลาเราพูดถึง bond yield ขึ้นลง ให้คิดเหมือนหุ้น ถ้าราคาพันธบัตรซื้อขายกันที่ 100 บาท ปันผล 2 บาท คือ 2% ถ้ามีคนซื้อ bond เยอะๆ ราคาวิ่งไป 110 เราปันผล 2 บาท Yield เราก็จะลดลง นั่นคือ ถ้า ราคา bond ขึ้น Yield จะลด และถ้า Bond ลง Yield ก็จะขึ้นนั่นเอง
5. ปกติเรามักจะชอบใช้ Bond Yield อายุ 10 ปี ในการใช้วัดความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ และยังมักจะผูกติดกับ อัตราการกู้ซื้อบ้านอีกด้วย
6. เวลาเราพูดถึง พันธบัตรรัฐบาล ให้เรามองว่า นี่คือการลงทุนที่ปลอดภัยที่สุด เพราะจะมีผลต่อการโยกย้ายเงินในสภาพเศรษฐกิจต่างๆ
Case Study
ในปัจจุบัน 2021 ก็จะเป็นลักษณะ Yield ระยะยาว > Yield ระยะสั้น เพราะคนเชื่อว่าเศรษฐกิจดี ดอกเบี้ยจะเริ่มเป็นขาขึ้น ดังนั้นคนจะไม่ชอบลงทุนพันธบัตรที่มีอายุยาวมากๆ ก็จะหันมาซื้อพันธบัตรระยะสั้นกัน (ทำให้ bond yield ระยะสั้นขึ้นน้อยมาก) เพราะเชื่อว่า ดอกเบี้ยกำลังจะขึ้น ถือสั้นๆจะได้เปรียบกว่า ดังนั้นพันธบัตร 10 ปีความต้องการเลยน้อย Yield ก็เลยขึ้น ก็แสดงว่าคนเชื่อมั่นในเศรษฐกิจ หุ้นก็เลยขึ้นมาเรื่อยๆ (แต่ที่หุ้นปรับฐานเพราะ Yield หุ้นกับพันธบัตรใกล้เคียง คนกลัวเงินจะไหลกลับไป Bond บ้าง )
2. ช่วง Trade war 2018-2019 จะเห็นว่า หลังจาก FED เริ่มดึงเงินออก และขึ้นดอกเบี้ยรัวๆ + Trade war อีก คนก็เชื่อว่าเศรษฐกิจจะไม่ดี หรือมีความเสี่ยงมากเกินไป เงินก็เลยถูกย้ายไปซื้อ ทรัพย์สินปลอดภัยนั่นคือพันธบัตรระยะยาวมากแบบผิดปกติ ทำให้ Yield 10 ปีร่วงแรงมาก จนให้ Yield น้อยกว่าพันธบัตรระยะสั้น 2 ปี
3.ทั้งนี้ เมื่อ Bond Yield ขยับสูงขึ้น ย่อมส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นด้วย สาเหตุเพราะอาจเห็นการขายสินทรัพย์ในประเทศเสี่ยง และกลับไปถือสินทรัพย์ในสกุลเงินดอลลาร์ ซึ่งทำให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น (เหมือนสถานการณ์ในปี 2556 ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ถอน QE) จึงต้องจับตาดูตลาดว่าจะมองนโยบายการเงินและเงินเฟ้อสหรัฐฯ
รู้ยังตอนนี้แอป WikiFX จะมีส่งแจ้งเตือน “แนวโน้มคู่เงินหลักในตลาด” ทุกวันตอนเช้า พร้อมแนะนำช่วงเวลาที่ควรออกออเดอร์ด้วยนะ ต้องดาวน์โหลดแอป WikiFX แล้วแหละ
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
TMGM
EC Markets
ATFX
FXTM
FP Markets
Exness
TMGM
EC Markets
ATFX
FXTM
FP Markets
Exness
TMGM
EC Markets
ATFX
FXTM
FP Markets
Exness
TMGM
EC Markets
ATFX
FXTM
FP Markets
Exness