简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:วันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จัก ‘Andrew J. Krieger หรือ Andy’ เทรดเดอร์ระดับตำนาน ที่สามารถทำเงินจากการชอร์ตค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ในช่วงที่เกิดวิกฤติการณ์ Black Monday จนได้ฉายาว่าเป็น “จอร์จ โซรอส” คนที่ 2
วันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จัก ‘Andrew J. Krieger หรือ Andy’ เทรดเดอร์ระดับตำนาน ที่สามารถทำเงินจากการชอร์ตค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์ในช่วงที่เกิดวิกฤติการณ์ Black Monday จนได้ฉายาว่าเป็น “จอร์จ โซรอส” คนที่ 2 เพราะการที่เขาเก็งกำไรค่าเงินนิวซีแลนด์นั้น สร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจอย่างใหญ่หลวงภายในประเทศนิวซีแลนด์ เช่นเดียวกับจอร์จ โซรอสที่เคยทำเอาไว้ในกรณีประเทศอังกฤษและไทย
Andy เป็นเทรดเดอร์สายกล้าได้กล้าเสีย ซึ่งหมายความว่าหากเขาเดินเกมถูก เขาก็จะทำกำไรได้อย่างมหาศาล แต่หากเขาเดินเกมผิด เขาก็จะสูญเสียมหาศาลเช่นกัน แต่ความสำเร็จที่เขาทำนั้น มาจากการคิดและตัดสินใจที่ดีในแต่ละช่วงเวลา และสามารถคาดการณ์ทิศทางตลาดได้อย่างถูกต้องแม่นยำ Andy เริ่มทำงานเป็นเทรดเดอร์ให้กับ Salomon Brothers ทำผลงานได้ดีมีชื่อเสียง จนถูกซื้อชักชวนมาทำงานให้กับ Bankers' Trust ในปี 1986 ซึ่งด้วยผลงานที่ดีทำให้บอร์ดอนุมัติวงเงินเทรด $700 million ซึ่งถือว่าเป็นเทรดเดอร์ค่เงินที่มีวงเงินเทรดสูงกว่าเทรดเดอร์ทั่วไปในบริษัทมากที่เดียว
เขามาสร้างชื่อเป็นตำนานจากการถล่มค่าเงิน Kiwi หรือ New Zealand dollar (NZD) ในช่วง Black Monday ปี 1987 ที่ตลาดหุ้นสหรัฐถล่มรุนแรงกว่า -22% ตามด้วยการ panic และการตกลงของค่าเงิน USD ผู้เล่นในตลาดกลัวที่ถือค่าเงิน USD ก็ทำให้ค่าเงินสกุลต่างๆดีดตัวขึ้นสูง เช่นเดียวกับ NZD การบวกรุนแรงทำให้เกิด short-term overvalue โดย Krieger มองไปที่ New Zealand ประเทศเศรษฐกิจขนาดเล็กกว่าสหรัฐมาก และมีความอ่อนแอ แต่ด้วยความไม่ปกติของสถานทำให้ค่าเงิน New Zealand dollar แข็งค่ามากกว่า US dollar
Andy ใช้ currency options (Leverage 400:1) ในการ short ค่าเงิน NZD คิดเป็นมูลค่าราว ๆ $700 million - $1 billion ทำให้มูลค่าสัญญาของเขาใหญ่กว่า money supply ในระบบของ New Zealand ซึ่งปิดวันค่าเงิน NZD ถล่มลงรุนแรง -5% ระหว่างวันค่าเงินเกิดความผันผวนระดับ 10% จากการเก็งกำไรที่เกิด โดยวีรกรรมนั้น Krieger ชนะเขาได้รับกำไร 300 ล้านดอลลาร์ แน่นอนว่าสร้างความไม่พอใจให้กับ Bank of New Zealand จนมีการแถลงเรื่องการโจมตีค่าเงิน ตามมาซึ่งการแถลงโต้ตอบอย่างดุเดือดของ Andy ที่ระบุว่าประเทศ New Zealand เล็กเกินกว่าจะต่อสู้กับพอร์ตของ Bankers' Trust
เหตุการณ์นั้นสร้างชื่อให้กับ Andy ได้รับโบนัสส่วนแบ่งจากการเทรดเป็นเงิน $3 million (ส่วนแบ่ง 1% จากผลงานกำไรมหาศาลถือว่าน้อยจริง ๆ สร้างชื่อจนกลายเป็นตำนานเทรดเดอร์ค่าเงิน แต่จากข้อมูลจะพบเพียงแค่ 1ปี ช่วง 1988 ค่าเงิน NZD ก็เข้าสู่ภาวะขาขึ้น ค่เงินวิ่งขึ้นทำจุดสูงสุดเพิ่มจากเดิมหลายสิบเปอร์เซนต์ แน่นอนว่าถ้าเขาถือ position ยาวเกินไป (ถือจนหมดอาย) เขาก็อาจจะไม่ได้กำไรหรือขาดทุนหนักก็เป็นได้ ดังนั้นมองในแง่ฝีมือในการเข้าออกก็ต้องยกให้กับ Andy จริง ๆ ปีต่อมาเขาได้ลาออกจาก Bankers' Trust ไปทำงานให้กับ Soros Fund Management ของ George Soros แทน หลังจากนั้นไม่นานก็ลาออกมาตั้งบริษัท Krieger & Associates Ltd ของตัวเอง
หวังว่าเรื่องราวของมหาเศรษฐีคนนี้จะเป็นเป็นแรงบันดาลใจให้ว่าที่เศรษฐีทุกคนนะ WikiFX ยังมีบทความดี ๆ จากนักลงทุนทั่วโลกแบบนี้อีกเยอะ ใครไม่อยากพลาด รับได้ทุกวันแบบฟรี ๆ แค่มีแอป WikiFX โหลดเลยนะ ฟรี!
อย่าตกเป็นเหยื่อโบรกเกอร์ Forex เถื่อน! เพราะโบรกเกอร์ Forex เถื่อนชอบโกงเงินนักลงทุน คุณต้องดาวน์โหลด WikiFXเพื่อตรวจสอบว่าโบรกเกอร์ Forex ใดควรเทรดด้วย ไม่งั้นจะเสียใจทีหลัง ดาวน์โหลดฟรี!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
เมื่อ 26 ปีที่แล้ว ‘Barings Bank’ ธนาคารเพื่อการลงทุนที่เปิดมานานกว่า 223 ปี ซึ่งนับว่าเก่าแก่ที่สุดในสหราชอาณาจักร ถูกประกาศล้มละลายจากการขาดทุนกว่า 4 หมื่นล้านบาทจากน้ำมือ ‘เทรดเดอร์ขี้โกง’ เพียงคนเดียว
วันนี้เราจะพามารู้จัก ‘Sandile Shezi’ เทรดเดอร์ Forex มหาเศรษฐีชาวแอฟริกาใต้ เชื่อหรือไม่ว่าเขาคนนี้เกิดในสลัมยากจนในเมืองเดอร์บัน เริ่มหาเงินโดยการขายเค้กตอนอายุ 12
ไม่ว่าคุณจะเป็นเทรดเดอร์สายไหนในโลกแห่งการเงิน วันหยุดสบาย ๆ แบบนี้ เราอยากพาคุณไปดูภาพยนตร์ที่สร้างแรงบันดาลใจ ปลุกไฟในตัวเทรดเดอร์อย่างคุณให้กลับมาลุกโชน จะมีเรื่องไหนบ้าง ไปตำ!!!
‘Tim Grittani’ เริ่มซื้อขายหุ้นเพนนีด้วยเงิน 1,500 ดอลลาร์ (ราว ๆ 5 หมื่นบาท) ตามบทเรียนของกูรูหุ้นเพนนี ‘Tim Sykes’ โดย Grittani ทำกำไรได้มากกว่า 1 ล้านดอลลาร์ (ราว ๆ 33 ล้านบาท) ใน 3 ปี! ตอนนั้นเขาอายุ 24 ปีเท่านั้น!
EC Markets
FXCM
STARTRADER
FP Markets
VT Markets
FXTM
EC Markets
FXCM
STARTRADER
FP Markets
VT Markets
FXTM
EC Markets
FXCM
STARTRADER
FP Markets
VT Markets
FXTM
EC Markets
FXCM
STARTRADER
FP Markets
VT Markets
FXTM