简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ: คงจะทราบกันดีว่าจริง ๆ เป้าหมายของสกุลเงินดิจิทัลคือ การลดการรวมศูนย์ของระบบชำระเงินผ่านสถาบันการเงิน นั่นคือการทำให้ “ไม่มีตัวกลาง” อะไรเลยนั่นแหละ แต่ธนาคารกลางส่วนใหญ่ยังไม่รับรองว่าบรรดาคริปโตที่เอกชนสร้างขึ้นมาจะมีเสถียรภาพเพียงพอ นำมาสู่การออกกฎ และเข้ามาควบคุมด้วยวิธีการต่าง ๆ
จากกรณีการออกเหรียญ ‘ไทยบาทดิจิทัล’ (THT) บน Terra Blockchain ในเกาหลีใต้ ซึ่งเป็น Stablecoin ที่มีมูลค่าตามค่าเงินบาทของไทย นำมาสู่สงครามย่อม ๆ ระหว่าง Terra และ ธปท. ซึ่งในไทยการออกเหรียญ Stablecoin ถือเป็นอะไรที่ค่อนข้างใหม่ หลายคนสงสัยว่าตกลงนโยบายเกี่ยวกับ Stablecoin ของไทยเป็นยังไงแน่ ออกได้หรือไม่ แล้วต้องทำยังไงบ้าง ล่าสุด ธปท. ออกมาอธิบายเรื่องนี้แล้ว
นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า วิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วได้เข้ามามีบทบาทสนับสนุนบริการทางการเงินยุคใหม่มากขึ้น ซึ่งรวมถึงการนำเทคโนโลยี Blockchain หรือ Distributed Ledger Technology (DLT) มาใช้ในภาคการเงิน ตลอดจนนำมาซึ่งการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลรวมถึงคริปโทเคอร์เรนซีหลากหลายประเภท เพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนหรือลงทุนในโลกของสินทรัพย์ดิจิทัล
ที่ผ่านมา มีการพัฒนาคริปโทเคอร์เรนซีที่รู้จักกันในชื่อ “Stablecoin” โดยอิงมูลค่ากับสินทรัพย์หรือเงินตราเพื่อให้มูลค่าผันผวนน้อยลง ซึ่งมีอยู่หลายประเภท บางประเภทอาจเข้าข่ายการนำมาใช้ทดแทนเงินบาทในวงกว้าง ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนและความมั่นคงของระบบเงินตราของประเทศ ขณะที่บางประเภทมีศักยภาพในการนำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในระบบการเงิน รวมถึงการนำไปใช้เพื่อต่อยอดบริการทางการเงินต่าง ๆ ที่สอดรับกับความต้องการของประชาชนในยุคดิจิทัล ด้วยเหตุนี้ ธปท. จึงมีแนวนโยบายกำกับดูแลการให้บริการทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับ Stablecoin แต่ละประเภท ดังนี้
1. Stablecoin ประเภทที่มีเงินบาทหนุนหลัง (Baht-backed Stablecoin) เป็นคริปโทเคอร์เรนซีประเภทหนึ่งที่พยายามลดความผันผวนโดยผูกมูลค่ากับเงินบาท และนำมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระเงิน ซึ่งอาจมีลักษณะเข้าข่ายเป็นบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) ภายใต้ พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน พ.ศ. 2560 ที่ ธปท. กำกับดูแลความเสี่ยงในมิติต่าง ๆ ได้แก่ ด้านการชำระราคา ด้านการฟอกเงิน ด้านความปลอดภัยทางเทคโนโลยี และด้านการคุ้มครองผู้ใช้บริการ จึงขอให้ผู้ที่ประสงค์จะให้บริการในลักษณะดังกล่าวหารือกับ ธปท. เพื่อพิจารณาก่อนเริ่มดำเนินการ
ทั้งนี้ นโยบายการกำกับดูแล Stablecoin ดังกล่าว สอดคล้องกับแนวทางการกำกับดูแลในหลายประเทศ อาทิ อังกฤษ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เป็นต้น
2. Stablecoin ประเภทอื่น ได้แก่ ประเภทที่มีเงินตราต่างประเทศหนุนหลัง (FX-backed Stablecoin) หรือมีสินทรัพย์ที่มีมูลค่าอื่น ๆ หนุนหลัง (Asset-backed Stablecoin) หรือประเภทที่ใช้กลไกอื่น ๆ เพื่อประมวลผลให้สามารถคงมูลค่าได้แม้ไม่มีสินทรัพย์หนุนหลัง (Algorithmic Stablecoin) ที่มิได้เข้าข่ายผิดกฎหมาย ซึ่ง ธปท. จะเปิดรับฟังความคิดเห็นก่อนพิจารณาแนวทางกำกับดูแลที่เหมาะสมต่อไป
ทั้งนี้ เห็นประโยชน์ของเทคโนโลยีและพร้อมเปิดรับนวัตกรรมใหม่เพื่อยกระดับการให้บริการในภาคการเงิน ซึ่งขณะนี้ ธปท. อยู่ระหว่างการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลระดับประชาชน (Retail Central Bank Digital Currency: Retail CBDC) ให้มีความปลอดภัย ตอบโจทย์กับความต้องการของประชาชน และภาคธุรกิจสามารถนำไปต่อยอดเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการ เพิ่มการเข้าถึงบริการทางการเงิน และพัฒนานวัตกรรมทางการเงินใหม่ ๆ ได้ รวมทั้ง ธปท. จะยังติดตามพัฒนาการของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในภาคการเงินอย่างใกล้ชิด โดยพิจารณาถึงประโยชน์และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมากำหนดนโยบายที่จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับการรักษาเสถียรภาพระบบการเงินของประเทศ
สรุปว่าไม่ว่าจะเป็นเหรียญ Stablecoin ประเภทใด เข้าข่ายผิดหรือไม่ผิดกฎหมาย สำหรับประเทศไทยแล้วหากจะออกเหรียญดังกล่าวยังไงก็ต้องมีการปรึกษาหารือกับ ธปท. ก่อน เพื่อการกำกับดูแลที่เหมาะสมนั่นเอง ขณะนี้เหมือนว่า ธปท. จะค่อนข้างจับตามองเหรียญ Stablecoin เป็นพิเศษ น่าสนใจว่า ธปท. จะออกมาก Take Action อะไรอีกหรือไม่ ขณะที่เหรียญ ‘อินทนนท์’ ของ ธปท. เอง แฟนคลับก็เริ่มออกมาบ่นแล้วว่าจะได้ใช้จริงเมื่อไหร่ งานนี้หากมีอะไรอัพเดตเราจะรีบมารายงานด่วน ๆ เลย! คุณสามารถดาวน์โหลดแอป WikiFX เพื่อรับการแจ้งเตือนข่าวสาร และบทความที่ครอบคลุมทุกด้านของการลงทุนแบบนี้ ใครยังไม่มี WikiFX รีบดาวน์โหลดเลยตอนนี้ ฟรี!!
อย่าตกเป็นเหยื่อโบรกเกอร์ Forex เถื่อน! เพราะโบรกเกอร์ Forex เถื่อนชอบโกงเงินนักลงทุน คุณต้องดาวน์โหลด WikiFXเพื่อตรวจสอบว่าโบรกเกอร์ Forex ใดควรเทรดด้วย ไม่งั้นจะเสียใจทีหลัง ดาวน์โหลดฟรี!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกประกาศสั่งห้ามประชาชนใช้เหรียญ ไทยบาทดิจิทัล ขณะนี้ทางฝั่ง Terra ดูเหมือนจะไม่สนประกาศเตือนของ ธปท. แม้แต่น้อย และยืนยัน “THT จะมีการนำไปใช้งาน ไม่ว่า ธปท. จะชอบหรือไม่ก็ตาม”
หลังจากที่เราได้นำเสนอข่าวการเปิดตัว ‘ไทยบาทดิจิทัล’ (THT) บน Terra Blockchain ซึ่งเป็น Stablecoin ที่มีมูลค่าตามค่าเงินบาทของไทย ซึ่งหลายคนต่างจับตามองว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะมีท่าทีต่อเรื่องนี้อย่างไร ขณะนี้ ธปท. ได้ออกประกาศเกี่ยวกับประเด็นนี้แล้ว
เรียกว่าเป็นข่าวใหญ่ลั่นวงการเลยก็ว่าได้ ในที่สุดเหรียญคริปโตมูลค่า 1 บาท ‘ไทยบาทดิจิทัล’ (THT) ก็ได้ปรากฏขึ้นบน Terra Blockchain อย่างเป็นทางการแล้ว แต่ที่น่าจับตามองคือเหรียญ THT นี้ไม่ได้ออกโดยแบงค์ชาติ แต่ออกจากเอกชนในเกาหลีใต้
FxPro
Tickmill
FBS
TMGM
XM
FOREX.com
FxPro
Tickmill
FBS
TMGM
XM
FOREX.com
FxPro
Tickmill
FBS
TMGM
XM
FOREX.com
FxPro
Tickmill
FBS
TMGM
XM
FOREX.com