简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ: ในตลาด Forex มีสกุลเงินที่ใช้เทรดอยู่มากมายจากทั่วโลก แต่ก็มีสกุลเงินเพียงไม่กี่สกุลที่เป็นที่นิยมอย่างมาก วันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักสกุลเงินเหล่านั้นกัน
ในตลาด Forex มีสกุลเงินที่ใช้เทรดอยู่มากมายจากทั่วโลก แต่ก็มีสกุลเงินเพียงไม่กี่สกุลที่เป็นที่นิยมอย่างมาก วันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักสกุลเงินเหล่านั้นกัน
United State Dollar
ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา หรือตัวย่อ USD เป็นค่าเงินที่มีปริมาณการซื้อขายอันดับ 1 ของโลกในตลาดอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากสภาพคล่องที่สูง มันยังเป็นค่าเงินที่มีสัดส่วนในการเป็นเงินสำรองระหว่างประเทศสูงอีกด้วย ทำให้มันเป็นค่าเงินที่ได้รับความนิยมสูง และมีปริมาณซื้อขาย นอกจากนี้ในการแปลงค่าเงิน ค่าเงิน USD ยังเป็นค่าเงินที่ใช้เป็นฐานในการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคำ น้ำมัน หรือสินค้าอื่น ๆ ค่าเงินดอลลาร์มีบทบาทมากกว่าค่าเงินอื่น ๆ ปัจจัยที่ขับเคลื่อนค่าเงินไม่ได้อยู่เพียงแค่ เศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ยังรวมถึง ปัจจัยการเคลื่อนไหวของเงินระหว่างประเทศ ภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ ไม่ว่าธุรกรรมการเงินใด ๆ ของโลก ล้วนกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาค่าเงิน ดอลลาร์สหรัฐฯ แทบทั้งสิ้น
EURO
ค่าเงินยูโร หรือ EUR เป็นค่าเงินที่ใช้ในกลุ่มประเทศยุโรป ซึ่งเป็นค่าเงินอย่างเป็นทางการของ 19 ประเทศ จากประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป 28 ประเทศ ซึ่งเรียกตัวเองว่า ยูโรโซน ค่าเงิน EURO เป็นค่าเงินที่มีการค้าขายมากเป็นอันดับ 2 รองจากค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐอเมริกาในตลาดอัตราแลกเปลี่ยน โดยสามารถแบ่งเป็นหน่วยย่อยจาก 1 ยูโร คือ 100 เซนต์ ค่าเงินยูโร เป็นค่าเงินที่มีการใช้สำรองมากเป็นอันดับ 2 ตามหลังค่าเงินดอลล่าร์เช่นเดียวกัน ด้วยสาเหตุที่มันเป็นผูกกับสหภาพยุโรป ทำให้ค่าเงินยูโร เป็นค่าเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพเศรษฐกิจหลายประเทศ ทั้ง ฝรั่งเศส เยอรมัน สเปน อิตาลี กรีซ ซึ่งแต่ละประเทศมีอุตสาหกรรรมหลายประเภทด้วยกัน
Japanese Yen
ค่าเงินเยน หรือตัวย่อ JPY เป็นค่าเงินของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นค่าเงินที่มีการซื้อขายมากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของตลาดค้าเงิน และเป็นค่าเงินที่มีการใช้เป็นเงินสำรองเป็นอันดับ 3 ของค่าเงินสำรอง แนวคิดของค่าเงินนั้นผูกกับเศรษฐกิจญี่ปุ่น ดูแลนโยบายทางการเงินโดย ธนาคารกลางญี่ปุ่น ซึ่งปัจจุบันมีอัตราดอกเบี้ยเข้าใกล้ 0 และอย่างที่ทราบกันดี ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นนั้น ขึ้นอยู่กับการพัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีในประเทศเป็นหลัก อุตสาหกรรมหลักในประเทศได้แก่ อุตสาหกรรมอีเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งเป็นกำลังขับเคลื่อนหลักของประเทศ
Great Britain Pound
ค่าเงินปอนด์อังกฤษ หรือเรียกอีกอย่างว่า Pound Sterling มีชื่อย่อคือ GBP ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า Sterling ค่าเงิน 1 ปอนด์จะถูกขยายเป็น 100 Pence นั่นคือหน่วยย่อยสำหรับการเรียกค่าเงิน บางครั้งก็เรียกว่า ปอนด์ หรือชื่อเล่นที่วงการนักเทรดมักจะเรียกกันก็คือ Cable สาเหตุก็เพราะว่า การซื้อขายค่าเงิน GBPUSD นั้นจะทำการโอนถ่ายผ่าน Transatlantic Cable ส่วนคนที่ซื้อขายค่าเงิน GBPUSD ก็ถูกเรียกว่า Cable Dealers ค่าเงินปอนด์ มีประวัติยาวนาน เนื่องจากเป็นค่าเงินที่ใช้กันในกลุ่มประเทศอาณานิคมของอังกฤษ และยังใช้เป็นค่าเงินที่อ้างอิงกับค่าเงินมาตรฐานทองคำ ในช่วงก่อนสงครามโลก และได้รับความนิยมในการซื้อขายในตลาดอัตราแลกเปลี่ยน เป็นอันดับ 4
Australian dollar
ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย หรือ AUD เป็นของประเทศออสเตรเลียและหมู่เกาะในบริเวณใกล้เคียง มีชื่อเล่นว่า Aussie ในปี 2016 ค่าเงินออสเตรเลียถือเป็นค่าเงินที่มีการซื้อขายมากที่สุดอันดับ 5 ในตลาดอัตราแลกเปลี่ยน เป็นค่าเงินที่ได้รับความนิยมในกลุ่มนักเทรดค่าเงิน เพราะว่ามันให้อัตราดอกเบี้ยที่สูง ประเทศออสเตรเลียเป็นประเทศที่มี GDP ต่อหัวสูง มีคนจนน้อย ผลิตภัณฑ์หลักจากออสเตรเลียที่นำสินค้ามาขายคือ ผลิตภัณฑ์จากการเกษตร เช่น ฟาร์มปศุสัตว์ เนื้อสัตรว์ หนังสัตว์ ข้าวสาลี เมืองแร่ เช่น ทองคำ แร่เหล็ก โดยประเทศคู่ค้าขนาดใหญ่ของ Australia คือ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐ เกาหลีใต้ และ นิวซีแลน ด้วยเหตุนี้ โดยเฉพาะประเทศ นิวซีแลนด์ที่เป็นคู่ค้ากันจนทำให้เศรษฐกิจเป็นแบบพึ่งพิงกัน การเคลื่อนไหวของค่าเงิน 2 ค่านี้แทบจะไม่มีค่าแตกต่างกัน
จะเห็นได้ว่าเบื้องหลังเศรษฐกิจของแต่ละประเทศสอดคล้องกันกับค่าเงินที่เป็นเหมือนเชื้อเพลิงขับเคลื่อนความเชื่อมั่นของประเทศ เทรดเดอร์ Forex จึงต้องสนใจภาวะเศรษฐกิจต่าง ๆ เกาะติดการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และที่พิเศษคือตอนนี้เรามีสิ่งที่เรียกว่า “ปฏิทินข่าวเศรษฐกิจ” ที่จะช่วยให้คุณคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้น และช่วยวางแผนการเทรด Forex ของคุณ รับปฏิทินข่าวเศรษฐกิจได้เลยตอนนี้ ฟรี ๆ ที่แอป WikiFX
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
รวมรีวิวโบรกเกอร์ประจำสัปดาห์
ตลาดการเงินทั่วโลกจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในวันที่ 28-29 ม.ค. นี้ ซึ่งเป็นการประชุมครั้งแรกของปี 2568 รวมทั้งจับตาถ้อยแถลงของเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด โดยคาดว่าการแสดงความเห็นของพาวเวลอาจจะบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟดในปีนี้
เหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจ
เมื่อเทศกาลตรุษจีนใกล้เข้ามา WikiFX ขอส่งความปรารถนาดีอย่างจริงใจถึงคุณ ด้วยการสนับสนุนอย่างแข็งขันจากคุณในเส้นทางการลงทุน WikiFX มุ่งมั่นที่จะสร้างแพลตฟอร์มข้อมูลฟอเร็กซ์ที่ปลอดภัย โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ
IB
Vantage
FOREX.com
FXTM
Pepperstone
FBS
IB
Vantage
FOREX.com
FXTM
Pepperstone
FBS
IB
Vantage
FOREX.com
FXTM
Pepperstone
FBS
IB
Vantage
FOREX.com
FXTM
Pepperstone
FBS