简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ: รู้กันแล้วว่าต้องไปลงทุนกับโบรกเกอร์ Forex ที่มีใบอนุญาตเท่านั้น มิจฉาชีพเลยสรรหาหนทางมาตบตาคนว่าตัวเองมีใบอนุญาตนะ ซึ่งที่เอามาโชว์น่ะคือ ‘ใบจดทะเบียนบริษัท’ ซึ่งมันต่างกันมาก
เดี๋ยวนี้เทรดเดอร์ Forex ตาสว่างกันเยอะแล้ว รู้กันแล้วว่าต้องไปลงทุนกับโบรกเกอร์ Forex ที่มีใบอนุญาตเท่านั้น มิจฉาชีพเลยสรรหาหนทางมาตบตาคนว่าตัวเองมีใบอนุญาตนะ ซึ่งที่เอามาโชว์น่ะคือ ‘ใบจดทะเบียนบริษัท’ ซึ่งมันต่างกันมากกกกกก กับ ‘ใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex’ วันนี้เราจะพาทุกคนมาเจาะลึกเรื่องนี้กัน
ถ้าจะอธิบายง่าย ๆ หากเราทำสินค้าออกมาตัวนึง ใบจดทะเบียนคือใบที่จะบอกว่าเราเปิดบริษัทจริง เป็นนิติบุคคล มีตัวตนแบบนั้นแบบนี้ แต่เราจะเอาสินค้าออกมาขายไม่ได้ถ้าไม่มี ‘การรับรองจาก อย.’ หน่วยงานกำกับดูแลก็เหมือน อย. ในโลก Forex ถึงแม้โบรกนั้นจะจดทะเบียนบริษัทไปแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเปิดให้คนมาลงทุนได้ทันที ต้องผ่านการรับรองจนได้สิ่งที่เรียกว่า ‘ใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex’ โบรกเกอร์จึงจะเอาใบจดทะเบียนมาอ้างเป็นใบอนุญาตไม่ได้ เพราะมันคนละอย่างกัน ขอยากง่ายต่างกันมาก
สำหรับใบจดทะเบียน คุณสามารถยื่นคำขอได้ที่หน่วยงานเกี่ยวกับการค้าในพื้นที่นั้น ๆ สำหรับในไทยคือ
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยนำเอกสารต่าง ๆ ไปยื่นประกอบ อาทิ แบบจองชื่อนิติบุคคล, สําเนาบัตรประจําตัวของผู้เริ่มก่อการและกรรมการทุกคน, แผนที่แสดงที่ตั้งสํานักงานใหญ่ เป็นต้น ในไทยมีค่าธรรมเนียมตั้งแต่ 500 – 250,000 บาท
ใบจดทะเบียนมันออกง่ายกว่าใบอนุญาตมาก บางบริษัทก็ไปเปิดบริษัท Offshore หรือไปจดทะเบียนบริษัทประเทศอื่นเพื่อผลประโยชน์บางอย่าง เช่นประโยชน์ทางภาษี โดยในประเทษที่เขตอำนาจศาลนี้ไม่ได้มีควบคุมหรือออกใบอนุญาต Forex ทำให้หลาย ๆ โบรกเกอร์ไปตั้งบริษัทที่นั่น ที่เห็นกันบ่อย ๆ ก็ใน ประเทศเซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ นั่นเอง
แต่สำหรับใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex คือหินมากขอบอก การออกใบอนุญาตกำหนดให้โบรกเกอร์ Forex ต้องปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณที่เข้มงวด ปัจจุบันมีโบรกเกอร์ที่มีใบอนุญาตรวมกันทั้งโลก เพียงแค่ประมาณ 2,000 รายเท่านั้น การที่โบรกเกอร์จะได้ใบอนุญาตมา ต้องเริ่มจากการยื่นขอไปที่หน่วยงานกำกับดูแลในเขตประเทศ หรือเขตอำนาจศาลที่เหมาะกับตนเอง โดยแต่ละที่จะมีความซับซ้อนของเกณฑ์การพิจารณาต่างกัน มีความยากง่ายในการได้มาแตกต่างกัน โดยส่วนมากจะมีให้เตรียมการแสดงเอกสารแสดงตน, แสดงหลักฐานที่อยู่, ประวัติย่อ และการการตรวจสอบประวัติอาชญากรรม และการจ่ายค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียม หรือค่าดำเนินการต่าง ๆ ในแต่ละหน่วยงานกำกับดูแลก็แตกต่างกัน ซึ่งมันก็สัมพันธ์กันกับความน่าเชื่อถือของหน่วยงานนั้น ๆ ด้วย เช่น หน่วยงานชั้นนำอย่าง CySEC (กลต.ไซปรัส) ซึ่งหากใครได้ใบอนุญาตจากที่นี่ จะสามารถให้บริการกับทุกประเทศสมาชิกในสหภาพยุโรป โดยมีค่าใช้จ่ายของใบอนุญาตบริษัทการลงทุนแห่งไซปรัส (CIF) อยู่ระหว่าง 40,000 - 100,000 ยูโร (1.5-3.7 ล้านบาท) โดยกระบวนการทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 6 เดือนจึงจะเสร็จสมบูรณ์ ขณะที่ใบอนุญาตจาก NFA ของสหรัฐมีค่าธรรมเนียมรายปีอยู่ที่หลักล้านไปจนถึงหลายสิบล้าน
เมื่อโบรกเกอร์มีใบอนุญาตในมือแล้วก็ไม่ใช่จะทำอะไรก็ได้นะ พวกเขาต้องทำตามกฎของหน่วยงานกำกับดูแล ต่ออายุใบอนุญาต ชำระค่าธรรมเนียมบริษัทรายปี รายงานภาษีและรายได้ หากมีการดำเนินงานที่ผิดไปจากมาตรฐานหน่วยกำกับดูแลมีสิทธิ์ที่จะเรียกปรับ หรือถอดถอนใบอนุญาตนั้น
ด้วยความที่ใบอนุญาตได้มายากมาก โบรกเกอร์จึงต้องรักษามาตรฐานของตนเอง การฉ้อโกงเทรดเดอร์จึงเกิดขึ้นน้อยมาก แต่ถ้าหากมีความผิดปกติเกิดขึ้น หน่วยงานกำกับดูแลเหล่านี้แหละ จะออกมาชดเชยความเสียหายให้เทรดเดอร์ รู้อย่างนี้แล้วถ้าอยากเทรด Forex แบบปลอดภัยไว้ใจได้ ก็ต้องเลือกโบรกเกอร์ที่มีใบอนุญาตเท่านั้น
ใครไม่แน่ใจว่าโบรกที่เทรดด้วยโชว์ใบอนุญาตปลอมให้ดูรึเปล่า หรือแยกไม่ออกว่านั่นเป็นใบจดทะเบียนที่เอามาอ้างว่าเป็นใบอนุญาตหรือไม่ คุณสามารถไปตรวจสอบได้เองให้กระจ่างใจเลย โดยไปค้นหาชื่อโบรกเกอร์ในแอป WikiFX คุณก็จะเจอข้อมูลใบอนุญาตที่เราเช็คมาให้แล้ว แถมยังมีรีวิวข้อมูลอื่น ๆ ที่ช่วยให้คุณเลือกโบรกเกอร์ได้ง่ายขึ้น แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ยึด ยึด ยึด ช่วงนี้หน่วยงานกำกับดูแลระดับโลกทำงานกันหนักมาก ไล่ยึดใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex ที่ทำงานผิดมาตรฐานกันไม่หยุด วันนี้ถึงคิวของ 2 โบรกเกอร์ชั้นนำ ที่เคยขึ้นชื่อว่าน่าเชื่อถือสุด ๆ แต่ใยวันนี้พลาดท่ากลายร่างมาเป็นโบรกเกอร์เถื่อนได้นะ!
หลังจากที่เราได้นำเสนอข่าวการถูกระงับใบอนุญาตของโบรกเกอร์ Depaho ไปแล้ว ตอนนี้ถึงคิวของโบรกเกอร์ FXGM ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียวกันบ้าง ใครที่กำลังเทรดกับเจ้านี้อยู่ อย่าพลาดข่าวนี้!
GO MARKETS
FP Markets
FBS
Octa
IC Markets Global
OANDA
GO MARKETS
FP Markets
FBS
Octa
IC Markets Global
OANDA
GO MARKETS
FP Markets
FBS
Octa
IC Markets Global
OANDA
GO MARKETS
FP Markets
FBS
Octa
IC Markets Global
OANDA