简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ: เทรดเดอร์ Forex คงทราบกันดีอยู่แล้วว่าข่าวด้านเศรษฐกิจการเงินของประเทศที่เป็นเจ้าของสกุลเงิน มีความสำคัญต่อค่าเงินโดยตรง มันส่งผลให้ค่าเงินสูง-ต่ำ ตามตัวเลขต่าง ๆ ในข่าวได้นะ
เทรดเดอร์ Forex คงทราบกันดีอยู่แล้วว่าข่าวด้านเศรษฐกิจการเงินของประเทศที่เป็นเจ้าของสกุลเงิน มีความสำคัญต่อค่าเงินโดยตรง มันส่งผลให้ค่าเงินสูง-ต่ำ ตามตัวเลขต่าง ๆ ในข่าว แต่รู้หรือไม่ว่าจริง ๆ ข่าวนอกประเทศ ข่าวเศรษฐกิจจากประเทศอื่นเนี่ย ก็สามารถส่งผลไปยังค่าเงินของอีกประเทศได้ ถ้าไม่เชื่อลองมาดูเหตุการณ์ต่อไปนี้
1. สงครามเย็นครั้งใหม่ระหว่าง ‘จีน-ออสเตรเลีย’ ทำดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงทันที
จากข่าวที่ปัญหาระหว่างจีนและออสเตรเลียบานปลายออกไปเรื่อย ๆ ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศในปี 2563 ย่ำแย่ลงหลังจากการที่รัฐบาลออสเตรเลียเรียกร้องให้นานาชาติสอบสวนหาต้นตอของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้รัฐบาลจีนตอบโต้ด้วยนโยบายทางการค้า คณะกรรมาธิการด้านการพัฒนาและการปฏิรูปแห่งชาติจีน ออกแถลงการณ์ “ระงับกิจกรรมทั้งหมด” ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามกรอบการเจรจาภายใต้แผนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจจีน-ออสเตรเลีย อย่างไม่มีกำหนด ข่าวดังกล่าวส่งผลให้เงินดอลลาร์ออสเตรเลียร่วงลงทันที 0.6%
2. ค่าเงินปอนด์พุ่งแรง จากการเก็งว่าอังกฤษ – อียูจะบรรลุดีลการค้า
ช่วงเดือนมกราคมของปีนี้ ค่าเงินปอนด์ดีดตัวขึ้นเทียบดอลลาร์และยูโรใน ท่ามกลางความหวังที่ว่าอังกฤษและสหภาพยุโรป (EU) จะสามารถบรรลุข้อตกลงการค้า หลังจากที่ เลเยน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ซึ่งเป็นองค์กรบริหารของ EU กล่าวว่า การเจรจาการค้าระหว่างอังกฤษและ EU ประสบความคืบหน้า และอาจนำไปสู่การทำข้อตกลงการค้าที่จะมีผลบังคับใช้หลังจากที่อังกฤษแยกตัวออกจาก EU (Brexit) ในวันที่ 1 ม.ค.2564
3. วิกฤติค่าเงินลีราตุรกี ส่งผลต่อราคาทอง-ค่าเงินหลายประเทศ
ตุรกี เป็นหนึ่งในประเทศในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ที่มีปัญหาเศรษฐกิจและวิกฤตค่าเงิน เมื่อปี 2561 สกุลเงินลีราของตุรกีดิ่งลงเป็นประวัติการณ์หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ สั่งการให้เพิ่มอัตราภาษีสินค้าเหล็กและอลูมิเนียมที่นำเข้าจากตุรกีขึ้นอีกสองเท่า วิฤตนี้ทำให้ราคาทอง Gold spot ดิ่งลงต่ำกว่า 1,200 ดอลลาร์เป็นครั้งแรกในรอบ 18 เดือน แตะที่ระดับ 1,194 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ส่งผลให้นักลงทุนแห่เข้าซื้อพันธบัตรสหรัฐ และเงินดอลลาร์สหรัฐในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นมากที่สุดในรอบ 13 เดือนบริเวณ 96.32 ทั้งนี้ที่ผ่านมา นอกจากนี้วิกฤตค่าเงินลีราของตุรกี ยังไปกระทบค่าเงินยูโรให้อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ
4. Trade war ระหว่างจีน-สหรัฐ ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าที่สุดในเอเชีย
ในปี 2019 Trade War ระหว่างสหรัฐ-จีน ยังค้างคา การเจรจาการค้าไม่ชัดเจน ทำให้ทั่วโลกกังวลว่าเศรษฐกิจและการค้าในตลาดโลกจะแย่ลง โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทำให้นักลงทุนเทขายสินทรัพย์ในสหรัฐ เช่น ขายพันธบัตร ขายเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แล้วเข้าซื้อ Safe Haven เช่น สกุลเงินต่างประเทศ ทองคำ โดยราคาทองคำโลกเพิ่มขึ้นภายใน 3 วัน หลังจากข่าวนี้ โดยนักลงทุนต้องซื้อทองผ่านสกุลเงินเอเชีย ทำให้ค่าเงินในเอเชียปรับตัวแข็งค่าขึ้น Trade war นี้ทำให้ภาพรวมการค้าทั่วโลกชะลอตัว ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันในภาคธุรกิจลดลงทั่วโลกทำให้ราคาน้ำมันลดลง ซึ่งทำให้มูลค่าการนำเข้าน้ำมันของไทยลดลง และอาจจะทำให้ประเทศไทยกลับมาเกินดุลการค้าและค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น
นี่เป็นเพียงไม่กี่เหตุการณ์ที่เรายกตัวอย่างมาให้ดู ในประวัติศาสตร์การเงินยังมีเหตุการณ์ในลักษณะนี้อีกมากมาย ที่น่าจะยืนยันได้ว่า ข่าวเศรษฐกิจจากต่างประเทศ สามารถส่งผลต่อค่าเงินอีกประเทศหนึ่ง หรือสินทรัพย์หนึ่งได้จริง ๆ ดังนั้นจะเกาะติดแค่ข่าวสารของประเทศเจ้าของสกุลเงินที่เราสนใจอย่างเดียวไม่ได้ เทรดเดอร์ Forex ต้องไม่พลาดข่าวสารเศรษฐกิจทั่วโลก
WikiFX อยากให้การตามข่าวของคุณง่ายขึ้น จึงให้บริการเครื่องมือที่เรียกว่า “ปฏิทินข่าว” เพื่อเป็นตัวช่วยในการทำนายทิศเศรษฐกิจทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีบทความเทคนิค กลยุทธ์ ความรู้ แนวโน้มตลาด และข่าวสารอัพเดตทุกวันด้วยนะ ทุกหมดนี้ฟรีแค่มีแอป WikiFX โหลดเลย!!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ความกระหายความเสี่ยงของนักลงทุนแย่ลงในวันนี้เนื่องจาก ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ปิดตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบเก้าวันทำการ ค่าเงินที่ลดลงพร้อมกันและผลตอบแทนของพันธบัตรยืนยันมุมมองของเราว่านักลงทุนมีความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น
ค่าเงินใดจะผันผวนแรงเพราะข่าวในวันนี้
ค่าเงินลีราร่วง 17% หลังปธน.ตุรกีปลดผู้ว่าแบงก์ชาติเหตุขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพื่อรับมือเงินเฟ้อสู่ระดับ 19%
ค่าเงินผันผวนแรงจากตัวเลขวันนี้ (12 มีนาคม)
EC Markets
XM
HFM
Pepperstone
VT Markets
FBS
EC Markets
XM
HFM
Pepperstone
VT Markets
FBS
EC Markets
XM
HFM
Pepperstone
VT Markets
FBS
EC Markets
XM
HFM
Pepperstone
VT Markets
FBS