简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:วันนี้เราจะมาเจาะลึกเรื่องการออกแบบระบบเทรด และประโยชน์ที่จะได้จากระบบเทรดกัน!
ถ้าพูดถึงระบบเทรด หรือ Trading System หลายคนอาจเข้าใจว่ามันต้องเกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์โปรแกรมอะไรซักอย่าง หรือใช้ EA ในการเทรดรึเปล่า? แต่ความหมายที่แท้จริงของระบบเทรด มันคือการ “สร้างเงื่อนไขที่ใช้ในการเปิดออเดอร์ในทุกครั้ง” ซึ่งอันที่จริงคุณอาจจะกำลังมีระบบเทรดใช้อยู่แบบไม่รู้ตัวก็ได้ วันนี้เราจะมาเจาะลึกเรื่องการออกแบบระบบเทรด และประโยชน์ที่จะได้จากระบบเทรดกัน!
ปกติแล้ว การตัดสินใจของนักลงทุนสามารถแบ่งได้เป็นสองแบบ คือตัดสินใจแบบกลไก และตัดสินใจด้วยตัวเอง และทั้งสองประเภทต่างก็สามารถทำเงินได้ดีทั้งคู่ แต่การตัดสินใจด้วยตัวเองนั้นมีจุดอ่อนอยู่อย่างหนึ่งที่เป็นทั้งข้อได้เปรียบในเวลาเดียวกัน นั่นคือ ‘อคติ’ และนี่คือเหตุผลว่าทำไมระบบเทรดอาจมีความสำคัญมากกว่า
ระบบเทรด คือสิ่งที่เตรียมไว้ในการรองรับการเคลื่อนไหวของราคาเมื่อเกิดสถานการณ์ไม่เป็นไปอย่างที่คาดหวัง การเทรดเป็นระบบนั้นต้องออกแบบมาให้ครอบคลุมทุกสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้และเหมาะกับสถานการณ์ใด สถานการณ์หนึ่งเท่านั้นไม่ได้เหมาะสำหรับทุกสถานการณ์องค์ประกอบของระบบเทรด หากจะออกแบบระบบเทรดซักระบบขึ้นมา คุณจำเป็นต้องพิจารณาองค์ประกอบเหล่านี้
1. การกำหนดเงื่อนไข (Trading Algorithm)
คือ ขั้นตอน ตรรกกะวิธี หรืออะไรก็แล้วแต่ที่ใช้เป็นสัญญาณซื้อขายได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นการวิเคราะห์ด้วยกราฟ ซึ่งเงื่อนไขนี้อาจจะมาจากความรู้เรื่องเทคนิคอล, การใช้อินดิเคเตอร์, ความรู้ในเรื่อง Money Management การสังเกตพฤติกรรมราคา หรือแม้แต่การเรียงตัวของดวงดาวยันโยนหัวก้อย ก็ยังนับเป็น Algorithm ได้ อะไรก็ได้ที่ท่านศึกษาอยู่ หรือมีความเข้าใจในการใช้เครื่องมือตัวนั้น ๆ เพื่อนำมาสร้างเงื่อนไข หรือ“สมมติฐาน” ขอแค่สร้างเงื่อนไขสำหรับการกำหนดจุดเข้า ออกของการเทรดได้ก็พอ
2. การทดสอบระบบ (System Test)
ขั้นตอนต่อไปคือ การทดสอบระบบตามเงื่อนไขที่เรากำหนด ซึ่งตรงนี้ อาจจะใช้การ “back test” ใครที่สามารถเขียนโปแกรมได้ ก็สามารถสร้าง EA ตาม algorithm ขึ้นมาเพื่อทดสอบ “back test” หรือถ้าเขียนโปรแกรมไม่เป็น ท่านก็สามารถ back test ด้วยการ ดูกราฟย้อนหลังและนั่งจดข้อมูลสถิติต่าง ๆ ว่ากำไร ขาดทุน กี่ครั้ง ครั้งละเท่าไหร่ ระบบเทรดที่ดี ควรมีการทดสอบมาอย่างดีแล้วว่าสามารถอยู่รอดในตลาดได้จริง และมีกำไรต่อเนื่อง ไม่ใช่ได้ ๆ เสีย ๆ วนไปวนมาไม่สิ้นสุด
3. การบริหารจัดการเงินทุน (Money Management)
คือการวางแผนทางการเงิน ความเหมาะสมในการใช้เงินแต่ละครั้งในการซื้อขาย ซึ่งจะได้ผลดีที่สุดก็ต่อเมื่อมันสอดคล้องและเข้ากันได้ดีกับ Algorithm เมื่อเจอช่วงเวลาที่ระบบเจอช่วงเวลาที่ขาดทุน Money Management จะมาช่วยปกป้องพอร์ทของ และเพิ่มความเสถียรของระบบให้มากขึ้นได้
4. จิตใจ (Mindset)
จิตใจในที่นี้ไม่ได้หมายถึงความกล้า ความฮึกเหิม แต่เป็นเรื่องของ วิธีคิด ความเข้าใจ ความอดทน ความเชื่อมั่น ที่มีต่อระบบ และที่สำคัญที่สุดของเรื่องจิตใจคือ “วินัย” ในการเทรด นอกจากนี้ Mind ยังรวมถึง ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องของ ธรรมชาติในการเทรด ธรรมชาติของสินค้า พื้นฐานของราคา มูลค่าต่าง ๆ
ระบบเทรดนั้นเป็นสิ่งที่หลาย ๆ คนเข้าใจว่ามันเหมือนกับแผนการเทรด แต่ระบบเทรด มันประกอบด้วยกฎจำนวนมากมายที่แตกต่างจากแผนการเทรด ระบบเทรดจะไม่มีความยืดหยุ่นของกฏ ในสถานการณ์ต่าง ๆ เหมือนแผนการเทรด การออกแบบระบบเทรดนั้น จะต้องสอดคล้องกับลักษณะของเทรดเดอร์ เทรดเดอร์ทุกคนไม่สามารถประสบความสำเร็จจากระบบเทรดเดียวกันได้ ทั้งนี้ก็ไม่ได้รับประกันว่าจะสามารถทำเงินจากตลาด Forex ได้ เพราะถึงแม้เราจะมีระบบการลงทุนที่เป็นแบบแผน แต่ถ้าวิธีการมันไม่ดีแต่แรก ท้ายที่สุดก็ต้องขาดทุน เราก็เพียงแค่ขาดทุนอย่างเป็นระบบเท่านั้นเอง
หากเทรดเดอร์มั่นใจในระบบเทรดของคุณแล้ว ขั้นตอนแรกก่อนไปเทรดจริง ๆ คือคุณต้องเลือกโบรกเกอร์ที่ไว้ใจได้ก่อน แต่ละโบรกเกอร์ มีค่าสเปรด เงินขั้นต่ำในการฝากเงินถอน เงื่อนไข หรือโปรโมชั่นที่ต่างกัน คุณต้องเลือกโบรกที่เหมาะและคุ้มค่ากับคุณมากที่สุด และที่สำคัญคือ “ต้องเลือกโบรกเกอร์ที่มีใบอนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูแลเท่านั้น” เพราะมันคือสิ่งเดียวที่จะบอกได้ว่าโบรกเกอร์ Forex นั้น ๆ มีความน่าเชื่อถือ มั่นคงปลอดภัย ห้ามไปเลือกโบรกเกอร์เถื่อนเด็ดขาด ไม่งั้นอาจโดนโกงได้
ตอนนี้คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex อ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูลหมดไส้หมดพุง แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
FxPro
FXTM
EC Markets
FBS
VT Markets
OANDA
FxPro
FXTM
EC Markets
FBS
VT Markets
OANDA
FxPro
FXTM
EC Markets
FBS
VT Markets
OANDA
FxPro
FXTM
EC Markets
FBS
VT Markets
OANDA