简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:โดย Barani Krishnan Investing.com -- OPEC มักจะมีดราม่า ทว่าสิ่งที่กำลังแสดงอยู่ของกลุ่มประเทศผู้ผลิ
โดย Barani Krishnan
Investing.com -- OPEC มักจะมีดราม่า ทว่าสิ่งที่กำลังแสดงอยู่ของกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน 23 ชาติ ซึ่งเรียกตัวเองว่า OPEC+ กลับมีเรื่องดราม่ามากเกินไป
ที่สำคัญ คือ สายสัมพันธ์ที่ละเอียดอ่อนระหว่างซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงที่น้ำมันจะพุ่งสูงถึง 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หากการเพิ่มปริมาณการผลิตไม่เป็นไปตามข้อตกลงจากกลุ่ม OPEC และพันธมิตรอีก 10 ประเทศที่นำโดยรัสเซีย
เห็นได้ชัดว่า ซาอุดิอาระเบียต้องการราคาน้ำมันที่สูงกว่าตอนนี้ แม้ว่าจะสูงขึ้นเล็กน้อยก็ตาม ในขณะที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ต้องการเพิ่มปริมาณการผลิตเกินกว่าที่ซาอุดิอาระเบียและรัสเซียจะอนุญาต แต่ในท้ายที่สุด ทั้งคู่ต่างก็แสวงหาสิ่งเดียวกัน นั่นคือรายได้ที่เพิ่มขึ้นสำหรับน้ำมัน
ตามรายงานของ Financial Times ชาวซาอุดิอาระเบียต้องการให้ราคาน้ำมันสูงขึ้น เพื่อกระตุ้นให้มีการลงทุนระยะยาวในอุตสาหกรรมนี้มากขึ้น
การขาดแคลนน้ำมันไม่ได้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง ปริมาณการผลิตในปัจจุบันอยู่ในอัตราที่ซาอุดิอาระเบียและสมาชิกที่เหลือต้องการ และพยายามสกัดกั้นอุปทานจากอิหร่าน เพื่อผลักดันราคาให้สูงขึ้นทุกวัน
นอกจากนี้ ยังมีแรงกดดันจากฝ่ายบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ในเรื่องของปัญหาอัตราเงินเฟ้อที่เกิดจากราคาน้ำมัน
ในการแถลงข่าวเมื่อวันศุกร์ เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ฝ่ายบริหารเข้ามารับตำแหน่งในเดือนมกราคม เจน ซากี โฆษกทำเนียบขาวแสดงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นต่อผู้บริโภคชาวอเมริกัน แม้ว่าเธอไม่ได้บอกว่าจะมีการดำเนินการมากกว่านี้เพื่อระงับปัญหาหรือไม่
จากข้อมูลของแหล่งข่าว ซาอุดีอาระเบียและรัสเซียได้เสนอให้ค่อย ๆ เพิ่มการผลิต 400,000 บาร์เรลในแต่ละเดือนระหว่างเดือนสิงหาคมถึงธันวาคม ซึ่งประเทศอื่น ๆ ได้ให้การสนับสนุน
ก่อนหน้าสัปดาห์นี้ อับดุลอาซิซ บิน ซัลมาน รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของซาอุดิอาระเบีย พยายามตรึกตรองเกี่ยวกับผลกระทบที่ราคาน้ำมันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่า 50% ในปีนี้ว่า อาจมีต่อประเทศผู้บริโภค โดยกล่าวว่า “เรามีบทบาทในการควบคุมเงินเฟ้อ โดยการควบคุมราคาน้ำมันไม่ให้สูงเกินไป”
แม้ว่าน้ำมันคงคลังทั่วโลกจะกลับมาที่แนวโน้มตามฤดูกาลในรอบ 5 ปี แม้ว่าตลาดจะระบายอุปทานส่วนเกินทั้งหมดจากปริมาณที่มากเกินไป แม้ว่าแท่นขุดเจาะของสหรัฐจะสูบน้ำมันน้อยกว่า 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน และแม้ว่าวันนี้จะมีราคาซื้อขายต่อบาร์เรลสูงกว่าเมื่อ 15 เดือนที่แล้วถึง 3 เท่า รัฐมนตรีซาอุดีอาระเบียกล่าวว่า เขาก็ยังไม่มั่นใจเกี่ยวกับแนวโน้มอุปสงค์ เพราะมีความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์เดลต้า
ความจริงแล้ว การที่ราคาน้ำมันพุ่งขึ้น 25% ในช่วงสามเดือนที่ผ่านมานั้น เป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจ เมื่อเทียบกับราคาในช่วงการฟื้นตัวจากโรคระบาดในบางส่วนของโลก
ในขณะเดียวกัน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ยังคงมีปัญหาอื่น ๆ ด้วย พวกเขาคัดค้านการยืดเวลาของข้อตกลงด้านความสามารถในการส่งออกระดับสูงสุด ซึ่งตั้งไว้ก่อนเกิดวิกฤตโควิด
เจ้าหน้าที่ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์รู้สึกเป็นการส่วนตัวว่าพวกเขาสูญเสียรายได้จากการผลิตโดยถูกขอให้ลดสัดส่วนมากกว่าซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเผยให้เห็นความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นระหว่างสองพันธมิตรดั้งเดิม
นักวิเคราะห์ของ Enverus กล่าวว่า ความตึงเครียดบางอย่างในความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์กับซาอุดีอาระเบีย อาจมีอะไรมากกว่ามุมมองที่แตกต่างกันเกี่ยวกับข้อตกลงของ OPEC+
Investing.com มีตรรกะที่เรียบง่ายในเรื่องนี้ ซึ่งก็คือ ผู้บริโภคกำลังจะหมดความอดทนกับราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น
ประเด็นของเราคือ ภายใต้สถานการณ์ที่รุนแรง คนเรามักจะใช้วิธีแก้ปัญหาแบบสุดโต่ง
การระบาดของโควิดเป็นตัวอย่างเปรียบเทียบที่ดี ในช่วงดังกล่าวความต้องการน้ำมันทั่วโลกหยุดชะงัก ส่งผลให้กลุ่มโอเปกต้องยอมจำนน หาภายในช่วงหนึ่งปีนับจากนี้ 50% ของประชากรหวนกลับไปใช้บริการขนส่งสาธารณะ จะเกิดอะไรขึ้นกับตลาดน้ำมัน?
บทสรุปราคาน้ำมัน
ราคา น้ำมันดิบ WTI ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานสำหรับน้ำมันของสหรัฐฯ ทะยานขึ้นสู่ระดับสูงสุดที่ 75.62 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดที่ไม่เคยเกิดขึ้นมานับตั้งแต่ปี 2018 ก่อนปิดการซื้อขายในวันศุกร์ที่ 75.16 ดอลลาร์ ลดลง 7 เซนต์ โดยทำการซื้อขายช่วงก่อนสุดสัปดาห์ที่ 75.04 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 1.5% สำหรับสัปดาห์นั้น
ราคา น้ำมันเบรนท์ ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานน้ำมันทั่วโลก อยู่ที่ 76.17 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 0.4% ต่อวันและทรงตัวในสัปดาห์ โดยมีการซื้อขายช่วงก่อนสุดสัปดาห์ที่ 76.06 ดอลลาร์
ปฏิทินตลาดพลังงาน
วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม
วันหยุดพิเศษของสหรัฐฯ เนื่องในวันประกาศอิสรภาพ
อังคารที่ 6 กรกฎาคม
ข้อมูลน้ำมันคงคลังในเมืองคุชชิง จากการสำรวจของ Genscape
วันพุธที่ 7 กรกฎาคม
รายงานประจำสัปดาห์ของ สถาบันปิโตรเลียมอเมริกัน
วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม
รายงาน EIA รายสัปดาห์เกี่ยวกับ น้ำมันดิบคงคลัง
รายงาน EIA รายสัปดาห์เกี่ยวกับ น้ำมันเบนซินคงคลัง
รายงาน EIA รายสัปดาห์เกี่ยวกับ กลั่นสินค้าคงคลัง
รายงาน EIA รายสัปดาห์เกี่ยวกับ การจัดเก็บก๊าซธรรมชาติ
วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม
การสำรวจรายสัปดาห์ของ Baker Hughes เกี่ยวกับ แท่นขุดเจาะน้ำมันสหรัฐ
บทสรุปตลาดและราคาทองคำ
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าทองคำ ของตลาด Comex ในนิวยอร์กปิดการซื้อขายในวันศุกร์ที่ 1,783.30 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 6.50 ดอลลาร์หรือ 0.4% สำหรับสัปดาห์นั้น เพิ่มขึ้น 0.3% การซื้อขายช่วงก่อนสุดสัปดาห์สุดท้ายอยู่ที่ 1,787.55 ดอลลาร์
เมื่อต้นสัปดาห์ที่แล้ว ราคาสัญญาซื้อขายล่วงหน้าทองคำลดลงรายเดือนมากที่สุดในรอบเกือบห้าปี โดยร่วงลงเกือบ 135 ดอลลาร์หรือ 7% ในเดือนมิถุนายน ซึ่งสูงสุดนับตั้งแต่ที่ลดลง 7.2% ในเดือนพฤศจิกายน 2016
การซบเซาลงมาจากตลาดกระทิงได้รับผลกระทบจากการเก็งกำไรอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ แม้ว่าจะยังไม่ได้เกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ก็ตาม
สำหรับไตรมาสที่สอง ราคาทองคำในตลาด Comex ลดลงประมาณ 45 ดอลลาร์หรือเกือบ 3%
ความเชื่อมั่นในทองคำเริ่มลดน้อนลง ขณะที่นักลงทุนที่ซื้อมาถือครองพยายามยามฝ่าฟันวิกฤตตลอดช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา
ตั้งแต่เดือนมกราคม ตลาดทองคำอยู่ในเส้นทางที่ยากลำบากซึ่งเริ่มเกิดขึ้นจริง ๆ ในเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว โดยร่วงลงจากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 2,000 ดอลลาร์ และผันผวนเป็นเวลาสองสามเดือนก่อนที่จะสะดุดลงตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่วัคซีนโควิดถูกพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรก จนถึงจุดหนึ่ง ราคาทองคำพุ่งแตะจุดต่ำสุดในรอบ 11 เดือนที่ต่ำกว่า 1,674 ดอลลาร์
หลังจากที่ดูเหมือนว่าจะดีดตัวกลับมาที่ 1,905 ดอลลาร์ในเดือนพฤษภาคม ก็มีการเทขายทองคำรอบใหม่ซึ่งนำกลับลงมาสู่ระดับ 1,800 ดอลลาร์ ก่อนที่จะมีแถลงการณ์จากเฟดที่ทำให้ราคาตกไปที่ระดับต่ำสุดในรอบสองเดือนที่ ประมาณ 1,750 ดอลลาร์ในสัปดาห์ที่แล้ว
โดยทั่วไปแล้ว ท่าทีในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยแต่ละครั้งของเฟด จะจบลงด้วยการร่วงลงของราคาทองคำ
นอกจากนี้ นักลงทุนยังเริ่มมองว่าทองคำไม่ใช่สินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ ดัชนีการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลซึ่งเฟดใช้เป็นตัวชี้วัดเงินเฟ้อ เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบหลายปีที่ 3.4% ในช่วง 12 เดือนถึงเดือนพฤษภาคม และดัชนีราคาผู้บริโภค พุ่งขึ้น 5% ในเดือนพ.ค. สูงสุดนับตั้งแต่ปี 2008
ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ส่วนใหญ่ ตั้งแต่น้ำมันไปจนถึงธัญพืช เช่น ถั่วเหลือง ข้าวโพด และข้าวสาลี อยู่ที่ระดับสูงสุดในรอบหลายปี
แต่ราคาทองคำยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ ดัชนีดอลลาร์สหรัฐ และ ผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี ได้ปรับตัวสูงขึ้นเป็นระยะ ๆ ซึ่งมักเกิดจากการถกเถียงและวิเคราะห์เกี่ยวกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยและการลดสัดส่วนสินทรัพย์ แม้ว่ารัฐบาลจะกระตุ้นการใช้จ่ายเป็นจำนวนหลายล้านล้านดอลลาร์ นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโควิดก็ตาม
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ: Barani Krishnan ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในสินค้าโภคภัณฑ์และหลักทรัพย์ที่เขาเขียนถึง
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
FOREX.com
XM
Vantage
FP Markets
FBS
FXTM
FOREX.com
XM
Vantage
FP Markets
FBS
FXTM
FOREX.com
XM
Vantage
FP Markets
FBS
FXTM
FOREX.com
XM
Vantage
FP Markets
FBS
FXTM