简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:วันนี้เราจะพาไปย้อนรอยดูวีรกรรมของ โบรกเกอร์ KDFX ว่าอะไรคือสิ่งที่ทำให้นักลงทุนนับร้อยหลงเชื่อสนิทใจได้ขนาดนี้
หลังจากเป็นคดียืดเยื้อมา 2 ปี ในที่สุดตำรวจก็ได้เข้าจับกุมเจ้าของ โบรกเกอร์ Forex ‘KDFX’ ที่มีเรื่องฉาว โกงเงินนักลงทุนไทย สร้างความเสียหายมูลค่ากว่า 50 ล้านบาท วันนี้เราจะพาไปย้อนรอยดูวีรกรรมของพวกเขา ว่าอะไรคือสิ่งที่ทำให้นักลงทุนนับร้อยหลงเชื่อสนิทใจได้ขนาดนี้
โบรกเกอร์ KDFX เกิดขึ้นโดย CEO ที่รู้จักกันในชื่อ ‘ไทเกอร์’ และพรรคพวก มีการชักชวนให้คนมาลงทุน Forex โดยมีการจ่ายปันผล การันตีกำไรกว่า 20% ต่อเดือน และนี่คือวิธีการที่โบรกเกอร์ KDFX ใช้หลอกล่อนักลงทุน
1. สร้างภาพลักษณ์ว่าเก่ง จัดกิจกรรมดูน่าเชื่อถือ
เริ่มจากไทเกอร์นั้น ได้โชว์ว่าตนเองมีทักษะในการเก็บกำไรหลายหมื่นดอลลาร์ต่อวัน จนเริ่มมีชื่อเสียง ไทเกอร์ก็ได้มีการทัวร์ทั่วไทยเพื่อโปรโมทโบรกเกอร์ KDFX นอกจากนี้ยังมี การเรียน การสอน จัดงานสัมมนา เพื่อเพิ่มฐานลูกศิษย์ไปในตัว ซึ่งกิจกรรมเหล่านั้นก็ดูเป็นเรื่องเป็นราว จนไม่แปลกใจถ้าใครจะหลงเชื่อ
2. คำคมสวยหรู ปลุกใจนักลงทุน!
โบรกเกอร์ KDFX มักปล่อยคำคมปลุกใจต่าง ๆ มาทำให้นักลงทุนคล้อยตาม ให้จริงจังกับเส้นทางนี้ เส้นทางที่พวกเขาเลือกให้ ให้เชื่อมั่นว่าจะทำสำเร็จตามเป้าหมายถ้าพยายาม เรื่องเล็ก ๆ แบบนี้ก็ทำให้ให้นักลงทุนหลงผิดโดยไม่รู้ตัวเลยนะ เพราะว่าคำพูดไม่กี่คำ ก็สร้างความหวังได้มากมายเลยแหละ
3. กำไรงาม สร้างความโลภ!
อย่างที่บอกว่าโบรกเกอร์ KDFX การันตีผลตอบแทนสูงถึง 20% ของเงินลงทุนต่อเดือน ในช่วงแรกนักลงทุนพูดตรงกันว่าได้ผลตอบแทนดีทุกราย พอเห็นว่าได้เงินจริง และยังได้เป็นกอบเป็นกำ ก็ยิ่งเกิดความโลภ ถมเงินลงไปลงทุนเยอะขึ้น ๆ ไปอีก จนสุดท้ายเริ่มถอนไม่ได้ด้วยข้ออ้างต่าง ๆ
4. เอาใบจดทะเบียน ทำเนียนเป็นใบอนุญาต
ในตลาด Forex จะมีหน่วยงานในประเทศต่าง ๆ กำกับดูแลการทำงานของโบรกเกอร์อยู่ ถ้าโบรกเกอร์ไหนมีใบอนุญาตจากหน่วยงาน ก็จะการันตีได้ว่าจะไม่โดนโกง เมื่อลูกค้าถามหาใบนี้จากโบรกเกอร์ KDFX พวกเขาก็ไปสรรหามาจนได้ แต่เอา ‘ใบจดทะเบียนบริษัท’ มาโชว์ ตบตาว่านี่แหละคือใบอนุญาต ซึ่งมันคนละอย่างเลย ใบจดทะเบียนคือใบที่จะบอกว่าเราเปิดบริษัทจริงเฉย ๆ ซึ่งมันจดง่ายมาก แต่ใบอนุญาตในที่นี้ กว่าจะได้มา ต้องผ่านการมาตรฐานการรับรองมากมายจากหน่วยงาน มันคนละอย่างกัน ของอย่างงี้ต้องดูดี ๆ นะ อย่าสับสน!
ก่อนหน้านี้ WikiFX ก็ได้ออกมาเตือนถึงความเสี่ยงของโบรกเกอร์รายนี้อยู่เป็นระยะ โดยจากข้อมูลในแอป WikiFX พบว่า โบรกเกอร์ KDFX นั้นดำเนินการโดยไม่มีใบอนุญาตจากหน่วยงานใดทั้งนั้น ถือว่าไม่มีการควบคุมดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ และเข้าข่ายเป็นโบรกเกอร์ Forex เถื่อน ทั้งนี้ยังถูกร้องเรียนจากคนไทยว่าถอนเงินไม่ได้อยู่เป็นระยะ จึงจัดว่ามีความน่าเชื่อถือต่ำมาก และมีคะแนนจากเราอยู่ที่ 1.09/10 เท่านั้น
หากไม่อยากตกเป็นเหยื่อเหมือนเคสนี้ ก่อนจะเลือกลงทุนกับโบรกเกอร์เจ้าไหน เช็คให้ดีก่อนว่าเขาได้รับอนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูแลที่ถูกต้องหรือไม่ และใบอนุญาตที่เอามาโชว์นั้นน่ะ ใช่ใบอนุญาตจริง ๆ รึเปล่า? และวิธีที่ง่ายที่สุดในการตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex คือเข้าไปที่แอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อ ก็เจอข้อมูลหมดไส้หมดพุง แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี!
แนะนำฟีเจอร์ “การเปิดเผย” เราแนะนำถ้าคุณอยากดูรีวิวโบรกเกอร์จากผู้ใช้จริง สามารถกดเข้าไปที่ ‘การเปิดเผย’ และคุณจะเจอการร้องเรียนโบรกเกอร์ Forex จากทั่วทุกมุมโลก อีกทั้งถ้าคุณโดนโกงมาละก็ นี้เป็นฟีเจอร์ที่คุณสามารถมาร้องเรียนโบรกเกอร์เพื่อเป็นการเตือนนักลงทุนคนอื่นอีกด้วย!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
OANDA
EC Markets
Exness
FXCM
Vantage
FP Markets
OANDA
EC Markets
Exness
FXCM
Vantage
FP Markets
OANDA
EC Markets
Exness
FXCM
Vantage
FP Markets
OANDA
EC Markets
Exness
FXCM
Vantage
FP Markets