简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:คงปฏิเสธไม่ได้ว่าทั้งทองคำและคริปโทเคอร์เรนซี โดยเฉพาะบิตคอยน์ ที่ใครหลายคนนิยามว่าเป็นทองคำดิจิทัล ได้กลายมาเป็นหนึ่งในตัวเลือกการลงทุนของใครหลายคน ต้นทุนในการผลิตทองคำและบิตคอยน์ ประกอบไปด้วยอะไรบ้างและต่างกันอย่างไร ?
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าทั้งทองคำและคริปโทเคอร์เรนซี โดยเฉพาะบิตคอยน์ ที่ใครหลายคนนิยามว่าเป็นทองคำดิจิทัล ได้กลายมาเป็นหนึ่งในตัวเลือกการลงทุนของใครหลายคน หากเรามาดูมูลค่าทองคำ แร่ต่าง ๆ และคริปโทเคอร์เรนซี ทองคำ 374 ล้านล้านบาท เงิน 44 ล้านล้านบาท บิตคอยน์ 29 ล้านล้านบาทแพลเลเดียม 14 ล้านล้านบาท อีเทอเรียม 12 ล้านล้านบาท จะเห็นได้ว่าคริปโทเคอร์เรนซี มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมูลค่าที่เราเห็นนั้น นอกจากจะเป็นผลมาจากความต้องการซื้อและความต้องการขายของตลาดแล้ว ส่วนหนึ่งยังมาจาก “ต้นทุน” ในการผลิต ซึ่งสำหรับทองคำและบิตคอยน์ ถูกเรียกเหมือนกันว่าการขุด ต่างกันตรงที่เราจะขุดทองคำในโลกจริง แต่ขุดบิตคอยน์ในโลกเสมือนแล้วเราเคยสงสัยไหมว่า ต้นทุนในการผลิตทองคำและบิตคอยน์ ประกอบไปด้วยอะไรบ้างและต่างกันอย่างไร ?
เริ่มกันที่ต้นทุนในการผลิตทองคำ สำหรับทองคำ เราจะมีศัพท์เฉพาะในอุตสาหกรรมนี้ เรียกว่า “All-In Sustaining Cost” All-In Sustaining Cost หมายถึง ต้นทุนในการผลิตทองคำเพื่อความยั่งยืน ซึ่งจะเป็นการประเมินต้นทุนสำหรับผู้ผลิตทองคำแต่ละรายว่าจะยังคงมีกำไรและมีความสามารถในการผลิตทองคำต่อไปได้หรือไม่ในอนาคต โดย All-In Sustaining Cost จะประกอบไปด้วยค่าใช้จ่ายทุกอย่างของบริษัทที่ใช้ไปในกิจการเหมืองขุด รวมถึงกระบวนการแปรรูปทองคำ เช่น ค่าแรงงานและพลังงาน ค่าขนส่ง ค่าสัมปทาน ค่าสำรวจ ค่าอุปกรณ์ รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับอาคารสำนักงาน
หากอ้างอิงจากต้นทุนของเหมืองทอง Polyus ในประเทศรัสเซีย ซึ่งมีต้นทุนในการผลิตทองคำ ถูกที่สุดในโลก จะมี All-In Sustaining Cost ต่อหน่วยประมาณ 604 ดอลลาร์สหรัฐต่อทรอยออนซ์ ในขณะที่ราคาทองคำ ณ ปัจจุบันอยู่ที่ 1,800 ดอลลาร์สหรัฐต่อทรอยออนซ์ เท่ากับว่าต้นทุนในการผลิตทองคำที่ถูกที่สุดในโลก จะคิดเป็นสัดส่วนราว 34% ของมูลค่าทองคำที่ซื้อขายกันในตลาด ณ ตอนนี้ ในขณะที่ต้นทุนในการขุดของบิตคอยน์นั้น จะไม่ได้มีมาตรฐานการหาต้นทุนแบบทองคำ แต่หลัก ๆ ต้นทุนของการขุดบิตคอยน์ ก็จะมาจาก
1. อุปกรณ์ที่ใช้ในการขุดซึ่งที่นิยมใช้มีทั้งการใช้การ์ดจอหรือการใช้เครื่องขุดโดยเฉพาะ
ที่เรียกว่า Application-Specific Integrated Circuit หรือ ASIC
2. พลังงานที่ใช้ในการขุด หรือก็คือพลังงานไฟฟ้า
สำหรับคำศัพท์เฉพาะของวงการขุดบิตคอยน์ ก็จะมีคำว่า “Hash Rate” หรือกำลังการคำนวณที่ผู้ขุดใช้เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของการทำธุรกิจบนบล็อกเชน ซึ่งก็ใช้วัดตั้งแต่ระดับอุปกรณ์ในการขุดและของทั้งระบบ ทุกอุปกรณ์จะต้องการพลังงานไฟฟ้าที่มีหน่วยเป็น Watt ถ้าหากอุปกรณ์มี Hash Rate ที่ต่ำภายใต้การใช้ Watt เท่ากัน ก็แปลว่าอุปกรณ์นั้นจะมีประสิทธิภาพที่ไม่ดี ก็จะทำให้เราต้องใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้นในการขุดบิตคอยน์จำนวนเท่ากัน นั่นหมายถึงต้นทุนของเราก็จะเพิ่มขึ้น ตามไปด้วย
ซึ่งเราก็ต้องมาดูต่อว่ากำลังในการผลิต ค่าไฟฟ้าที่เราใช้ เมื่อเทียบกับอายุการใช้งานของเครื่องขุดเรา จะคุ้มกับมูลค่าของบิตคอยน์ ณ เวลานั้น ๆ หรือไม่ นั่นเอง ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ประเทศจีนนับเป็นประเทศแห่งการขุดบิตคอยน์ สะท้อนให้เห็นจากในปี 2019 ประเทศแห่งนี้ มีส่วนแบ่งการขุดบิตคอยน์มากถึง 75% ของการขุดทั่วโลก แต่หลังจากที่รัฐบาลจีนมีนโยบายปราบปรามเหมืองขุดคริปโทเคอร์เรนซีทั่วประเทศ ก็ได้ทำให้บรรดาเหมืองขุด ต่างพากันเทขายอุปกรณ์ขุด ในขณะที่บางส่วนได้ย้ายฐานไปยังประเทศอื่น ซึ่งประเทศสหรัฐอเมริกา นับเป็นฐานการขุดบิตคอยน์แห่งใหม่ที่กำลังเติบโต ที่บอกแบบนี้ก็เพราะว่าส่วนแบ่งการขุดบิตคอยน์ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ในช่วงต้นปี 2020 ที่มีเพียง 5% ได้ขยับขึ้นมาเป็น 17% ในปี 2021 แต่จากการย้ายฐานการผลิตดังกล่าวก็ทำให้ต้นทุนรวมของการขุดบิตคอยน์สูงขึ้น จากต้นทุนค่าพลังงานที่แตกต่างไปจากเดิม ซึ่งสหรัฐอเมริกามีค่าไฟฟ้าประมาณ 0.15 ดอลลาร์สหรัฐต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ในขณะที่จีนมีค่าไฟฟ้าเพียง 0.09 ดอลลาร์สหรัฐต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง
ทีนี้ เราลองมาดูกันว่าต้นทุนในการขุดบิตคอยน์หนึ่งเหรียญ จะมีมูลค่าเท่าไร ? จริง ๆ แล้ว การหาต้นทุนในการขุดบิตคอยน์นั้นทำได้ค่อนข้างยาก เพราะผู้ขุดแต่ละคน ก็จะมีวิธีการจัดอุปกรณ์ขุดที่ต่างกันออกไป และส่วนใหญ่จะใช้เครื่องขุดเป็นจำนวนมาก ในที่นี้ เราจึงนำสมมติฐานของ Miner Daily ที่ได้ระบุว่าโดยทั่วไป เครื่องขุดบิตคอยน์ ASIC จะมีอายุการใช้งานราว 4 ปี และหากเราใช้เครื่อง ASIC เครื่องเดียว ก็จะใช้เวลาขุด 4 ปี ถึงจะได้มา 1 บิตคอยน์
นั่นเท่ากับว่าเราสามารถนำมูลค่าเฉลี่ยของ ASIC มาบวกกับค่าไฟเพื่อเป็นต้นทุนได้ ซึ่งวิธีนี้ก็ถือเป็นเพียงตัวอย่างการคำนวณต้นทุน เพราะในทางปฏิบัติคงมีน้อยคนที่ใช้เครื่อง ASIC 1 เครื่องขุดบิตคอยน์เป็นเวลา 4 ปี สำหรับค่าเฉลี่ยของเครื่องขุดที่ Miner Daily เฉลี่ยเอาไว้อยู่ที่ 7,946 ดอลลาร์สหรัฐต่อเครื่อง
ในขณะที่ค่าไฟตลอดระยะเวลาการขุดเพื่อให้ได้ 1 บิตคอยน์ ที่ 0.09 ดอลลาร์สหรัฐต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ตามค่าไฟในประเทศจีน ต้นทุนทั้งหมดจะอยู่ที่ 26,693 ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 56% ของมูลค่าบิตคอยน์ (ให้ปัจจุบัน บิตคอยน์ 47,369 ดอลลาร์สหรัฐต่อเหรียญ) ที่ 0.15 ดอลลาร์สหรัฐต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ตามค่าไฟในประเทศสหรัฐอเมริกา ต้นทุนทั้งหมดจะอยู่ที่ 39,191 ดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นราว 83% ของมูลค่าบิตคอยน์ (ให้ปัจจุบัน บิตคอยน์ 47,369 ดอลลาร์สหรัฐต่อเหรียญ)
จากสมมติฐานดังกล่าว ก็จะเห็นได้ว่า ทั้งต้นทุนในการขุดทองคำจะถูกกว่าราคาตลาดอยู่พอสมควร แต่สำหรับการขุดบิตคอยน์นั้น ต้นทุนจะมีความแตกต่างกันมาก ตามค่าไฟในแต่ละประเทศ ถึงตรงนี้ เราก็คงจะพอเห็นภาพว่าทั้งการขุดทองคำและขุดบิตคอยน์ก็จะมีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง และแต่ละประเภท ก็มีความผันผวนและความเสี่ยงที่ไม่เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่ทั้ง 2 สินทรัพย์ ยังมีจุดร่วมเดียวกันก็คือ “การมีอยู่อย่างจำกัด” ซึ่งก็ถือเป็นคุณสมบัติ ที่ทั้งนักลงทุนและใครหลายคน เชื่อมั่นว่าจะช่วยให้เรากักเก็บความมั่งคั่งเอาไว้ได้ ซึ่งบางที ความเชื่อของเราที่สร้างขึ้นมาเองนั้น อาจจะเป็นส่วนที่สร้างมูลค่าเพิ่ม ให้กับทั้งทองคำและบิตคอยน์ มากกว่าต้นทุนในการผลิต ก็เป็นได้..
อย่าตกเป็นเหยื่อโบรกเกอร์ Forex เถื่อน! เพราะโบรกเกอร์ Forex เถื่อนชอบโกงเงินนักลงทุน คุณต้องดาวน์โหลด WikiFX เพื่อตรวจสอบว่าโบรกเกอร์ Forex ใดควรเทรดด้วย ไม่งั้นจะเสียใจทีหลัง ดาวน์โหลดฟรี!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
Exness
STARTRADER
FXCM
Neex
Doo Prime
HFM
Exness
STARTRADER
FXCM
Neex
Doo Prime
HFM
Exness
STARTRADER
FXCM
Neex
Doo Prime
HFM
Exness
STARTRADER
FXCM
Neex
Doo Prime
HFM