简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:วันนี้เราจะพาคุณย้อนไปดูเหตุการณ์ฟองสบู่แตกครั้งแรกของโลก ซึ่งไม่น่าเชื่อเลยว่ามันเกิดขึ้นเพราะ ‘ดอกไม้’ ใครจะไปคิดว่าเมื่อ 400 ปีก่อน ดอกทิวลิป 1 ดอกจะมีค่าเป็นหลักล้าน
วันนี้เราจะพาคุณย้อนไปดูเหตุการณ์ฟองสบู่แตกครั้งแรกของโลก ซึ่งไม่น่าเชื่อเลยว่ามันเกิดขึ้นเพราะ ‘ดอกไม้’ ใครจะไปคิดว่าเมื่อ 400 ปีก่อน ดอกทิวลิป 1 ดอกจะมีค่าเป็นหลักล้าน ซึ่งสามารถนำไปซื้อบ้าน ซื้อรถ ซื้อบิทคอยน์ได้เลย เพราะอะไรดอกไม้ที่วันนึงก็ต้องเหี่ยวเฉาตามกาลเวลา ถึงมีมูลค่ามหาศาล และกลายมาเป็นตำนานฟองสบู่แตกครั้งแรกของโลกแบบนี้ ไปดูกัน!
“วิกฤตฟองสบู่ทิวลิป” หรือ “The Dutch Tulip Mania Bubble” เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างยุคทองของเนเธอร์แลนด์ เมื่อเกิดการตั้งราคาสัญญาการค้าขาย ‘หัวทิวลิปสายพันธุ์ใหม่’ กันอย่างสูงผิดปกติ จนถึงจุดสูงสุดก่อนที่ราคาจะตกฮวบลงมาอย่างฉับพลัน ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1637 เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นเหตุการณ์แรกของภาวะฟองสบู่จากเก็งกำไร คำว่า “ความคลั่งทิวลิป” กลายมาเป็นคำที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นอุปมาเมื่อกล่าวถึงภาวะฟองสบู่ขนาดใหญ่
ในยุคที่เศรษฐกิจเนเธอร์แลนด์กำลังรุ่งเรือง คนมีเงินต้องการซื้อของที่แสดงถึงฐานะความร่ำรวย และเป็นช่วงที่ดอกทิวลิปนำเข้ามาพอดีซึ่งดอกทิวลิปนั้นไม่ใช่พืชพื้นเมืองยุโรป มันจึงดูสวยงามแปลกตา สมัยนั้นถ้าใครมีดอกทิวลิป คือไฮโซแน่นอน แบบเศรษฐีเซเลปในยุคนี้ที่ขับรถซุปเปอร์คาร์ ถือกระเป๋าแบรนด์เนมอะไรประมาณนั้นเลย
ชาวดัตช์จึงเห็นว่าถ้านำดอกทิวลิปมาปลูกขาย คงจะได้ราคาดีแน่ ๆ จึงเริ่มอยากได้หัวทิวลิปสำหรับการนำมาปลูก ซึ่งดอกทิวลิปนั้นจะออกเดือนมิถุนายน-กันยายน เท่านั้น จากนั้นถึงจะได้หัวทิวลิปไปปลูกต่อได้กำไรพอถึงเดือนตุลาคม จะมีคนมารอซื้อหัวทิวลิปกันเพียบ ซึ่งแน่นอนมันหายากในตอนนั้น มันมีจำนวนจำกัด เพราะพึ่งเข้ามาได้ไม่นาน จึงเกิดการซื้อ-ขายใบจองขึ้น หรือเรียกอีกอย่างว่า สัญญาซื้อขายทิวลิปล่วงหน้า (Future Contract)
เมื่อมีสัญญาซื้อขายเกิดขึ้น ก็เกิดการเก็งกำไรจากพ่อค้า จากแรก ๆ ราคาหัวทิวลิป 1 หัว เท่ากับ 5-15 กิลเดอร์ (ค่าเงินของชาวดัช) แต่แล้ว ราคาของมันก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะมีผู้คนต้องการจำนวนมาก จาก 15 ก็เป็น 50 เป็น 100 กิลเดอร์ จนกระทั้งพุ่งขึ้นเรื่อย ๆ จึงทำให้นักลงทุนต่าง ๆ หรือแม้แต่ประชาชนทั่วไปก็เข้ามาซื้อขายเก็งกำไรในครั้งนี้ มีบันทึกไว้ว่า มีการนำที่ดินถึง 12 เอเคอร์ (49,000 ตารางเมตร) มาแลกหับ หัว “Semper Augustus” เพียงหัวเดียว
ในช่วงหนึ่งมีการบันทึกมูลค่าการขายหัวทิวลิป 40 หัวเป็นจำนวนเงิน 100,000 กิลเดอร์ เมื่อเทียบเป็นเงินปัจจุบัน สรุปได้ว่าหัวทิวลิป 1 หัวจะมีค่าเท่ากับ 1,886,544 บาท พอ ๆ กับราคา 1 บิทคอยน์เลยนะเนี่ย ยิ่งถ้าหัวดอกทิวลิปไหนที่มีหลายสี มีลาย หรือมีจุดแปลก ๆ (คล้าย ๆ กระแสไม้ด่างในยุคนี้) ราคาก็คือซื้อบ้านใจกลางทองหล่อได้เลยแหละ
สุดท้ายก็ฟองสบู่แตก
จากหัวดอกทิวลิปราคามหาศาล ปลายปี 1637 ราคาก็ดิ่งลงเรื่อย ๆ จนเหลือเพียง 0.1 กิลเดอร์ กลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจครั้งยิ่งใหญ่ของดัตช์ ยุคทองที่ผู้คนใช้ชีวิตกันอย่างอู้ฟู่ได้จบลง ราคาดิ่งลงอย่างรวดเร็ว เพราะมีแต่คนอยากขาย แต่ไม่มีใครอยากซื้อ ดอกทิวลิปยังคงเบ่งบานแต่กลับไร้ประโยชน์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้ากลายเป็นกระดาษเปล่าที่ไร้ค่า ปัญหานี้ลามไปถึงประเทศรอบด้าน ทั้งฝรั่งเศส อังกฤษ และเศรษฐกิจเนเธอร์แลนด์หยุดนิ่งไปนานหลายปี
วิกฤติดอกทิวลิป จึงถูกบันทึกในประวัติศาสตร์ว่าเป็นวิกฤติการเงินยุคใหม่ครั้งแรกของโลก เรามักจะเห็นว่าวิกฤติต่าง ๆ บนโลก ที่สะท้อนการ “เก็งกำไร” และ “ความโลภ” ที่มากจนเกินควร ทำให้สินทรัพย์บางอย่างมีมูลค่าสูงเกินจะเป็น แม้เหตุการณ์นี้จะเป็นบทเรียนครั้งใหญ่ของหมู่นักลงทุนทั่วโลก แต่กระนั้น ปัญหาซ้ำ ๆ แบบเดิม ๆ ก็ยังคงเกิดขึ้นไม่รู้จบมาจนถึงปัจจุบัน เพราะ ‘ความโลภ’ กับ ‘มนุษย์’ มันแยกออกจากกันได้ยากจริง ๆ
คุณสามารถติดตามเกร็ดความรู้ในโลกการลงทุนดี ๆ แบบนี้ ได้ที่แอป WikiFX เท่านั้น! แอปเดียวที่จะพาไปเรียนรู้ เจาะลึกทุกเรื่องราวของตลาด Forex ไม่ว่าจะเป็นบทความเทคนิคร้อยแปดพันเก้า บทวิเคราะห์แนวโน้มตลาด แล้วยังมีปฏิทินข่าวให้อ่านแบบฟรี ๆ แถมยังสามารถตรวจสอบข้อมูลโบรกเกอร์ Forex ได้ทั่วโลกเลยนะ! สายลงทุนถ้าใครยังไม่มี โหลดเลย! โหลดเดี๋ยวนี้! โหลดฟรี!
แนะนำฟีเจอร์ “จัดอันดับโบรกเกอร์” คุณกำลังมองหาโบรกเกอร์ Forex แนะนำอยู่หรือไม่ ถ้าใช้ให้ดาวน์โหลดแอพ WikiFX เพื่อตรวจสอบโบรกเกอร์หรือดูการจัดอันดับ โบรกเกอร์ Forex เพราะแอพ WikiFX ได้ตรวจสอบโบรกเกอร์และคัดสรรมาให้หมดแล้ว ว่าโบรกเกอร์ไหนดีหรือไม่ดี
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ