简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:สำหรับการจัดเก็บภาษีที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนประเภทนี้ ประเทศไทยได้ออกกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ในการเสียภาษีของนักลงทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 19 พ.ศ. 2561
สำหรับการจัดเก็บภาษีที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนประเภทนี้ ประเทศไทยได้ออกกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ในการเสียภาษีของนักลงทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 19 พ.ศ. 2561 โดยสรุปสาระสำคัญของกฎหมายภาษีดังกล่าวก็คือ
กำหนดให้ทรัพย์สินดิจิทัลที่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีตามกฎหมายฉบับนี้ ได้แก่ คริปโทเคอร์เรนซี เช่น บิตคอยน์ (Bitcoin) และโทเคนดิจิทัล ที่มีการซื้อขายในประเทศไทย ซึ่งกฎหมายได้กำหนดประเภทเงินได้ดังกล่าวเพิ่มเติมขึ้นมาโดยจัดเอาไว้ในกลุ่มเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 ข้อ 4 (ซ) และ (ฌ) ในมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากรฯ ) ซึ่งตัวอย่างเงินได้ประเภทที่ 4 นี้จะอยู่ในหมวดหมู่เดียวกันกับกลุ่มเงินได้ดอกเบี้ยเงินปันผล
โดยกฎหมายได้กําหนดให้เพิ่มประเภทของเงินได้ (ซ) และ (ฌ) ของ (4) ในมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ได้แก่ “(ซ) เงินส่วนแบ่งของกําไร หรือผลประโยชน์อื่นใดในลักษณะเดียวกันที่ได้จากการถือหรือครอบครองโทเคนดิจิทัล(ฌ) ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน” และเพิ่มเรื่องการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย ของเงินได้ดังกล่าวไว้ใน (ฉ) ของ (2) ในมาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากร
“(ฉ) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ซ) และ (ฌ) ให้คํานวณหักในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้”
จากสาระสำคัญของกฎหมายภาษีข้างต้น สามารถอธิบายแนวทางการเสียภาษีโดยสรุปดังนี้
1.กรณีมีการถือหรือครอบครองโทเคนดิจิทัล โดยนักลงทุนผู้ถือหรือผู้ครอบครอง มีสิทธิ์ได้รับส่วนแบ่งกำไรหรือผลประโยชน์อื่นใดในลักษณะเดียวกัน เงินได้ดังกล่าวจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 15% จากผลประโยชน์นั้นก่อนที่จะมีการจ่ายให้กับนักลงทุนที่เป็นผู้ถือหรือผู้ครอบครอง
2.กรณีมีกำไรจากการขาย (Capital Gain) เช่น หากมีการขายสินทรัพย์ดิจิทัล แล้วมีกำไรจากการขาย กล่าวอย่างง่ายคือ ราคาขายมากกว่าราคาต้นทุนที่ได้มา ทางผู้ขายมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% จากกำไรที่เกิดขึ้นก่อนมีการจ่ายเงินให้นักลงทุน และแม้ว่าจะถูกหัก ณ ที่จ่ายไปแล้ว 15% นั้น แต่ยังคงต้องนำเงินได้ดังกล่าวมารวมคำนวณเงินได้ฯ เพื่อยื่นแบบเสียภาษีบุคคลธรรมดาตอนปลายปีด้วย
แม้เงินได้นี้จะถูกจัดประเภทไว้ในเงินได้ประเภทที่ 4 ซึ่งเป็นหมวดหมู่ของกลุ่มเงินได้ดอกเบี้ย เงินปันผลในหุ้น โดยปกติเงินได้กลุ่มนี้หากเราถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไปแล้ว จะมีสิทธิเลือกที่จะไม่นำเงินได้ส่วนนี้มารวมคำนวณเงินได้ เพื่อยื่นแบบเสียภาษีบุคคลธรรมดาตอนปลายปีได้ แต่สำหรับเงินได้จากทรัพย์สินดิจิทัลยังคงต้องนำเงินได้มายื่นเสียภาษีบุคคลธรรมดาตอนปลายปีด้วย
อย่างไรก็ตาม พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ที่ประกาศใช้ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวครั้งสำคัญของนักลงทุนทั่วไป รวมถึงบริษัทที่วางแผนจะระดมทุนผ่าน ICO ซึ่งเป็นวิธีระดมทุนโดยที่อาศัยเทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามาช่วย จากแนวทางกำกับดูแลของภาครัฐที่มีเป้าหมายในการดูแลธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลให้เกิดความโปร่งใส คุ้มครองนักลงทุนไม่ให้ถูกหลอกลวง เพื่อไม่ให้กระทบต่อเสถียรภาพทางการเงิน และโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
FP Markets
OANDA
TMGM
IB
STARTRADER
FXTM
FP Markets
OANDA
TMGM
IB
STARTRADER
FXTM
FP Markets
OANDA
TMGM
IB
STARTRADER
FXTM
FP Markets
OANDA
TMGM
IB
STARTRADER
FXTM