简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ เจ้าของ iTAX ได้ออกมาตั้งข้อสังเกต และให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับกฎหมายภาษีคริปโตนี้ โดยสรุปได้ว่าซื้อสินค้าด้วยคริปโต คนซื้ออาจต้องเสียภาษีเอง
หลายเดือนมานี้ เรามักเห็นแบรนด์ต่าง ๆ ออกมาประกาศรับชำระสินค้าด้วย ‘คริปโต’ ดูเหมือนจะเป็นอะไรที่น่าตื่นเต้น แต่หลายคนอาจลืมไปว่าซื้อขายสินค้า ก็ต้องมีเรื่องของภาษีมาเกี่ยวข้อง แล้วในสมการนี้ภาษีจะจัดการยังไง ใครเป็นคนจ่าย?
ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ เจ้าของ iTAX ซึ่งเป็นแอปช่วยคำนวณและวางแผนภาษี ได้ออกมาตั้งข้อสังเกต และให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับกฎหมายภาษีคริปโตนี้ โดยสรุปได้ว่า
1. โดยปกติ กฎหมายภาษีไทยกำหนดให้สิ่งที่ทำให้เรารวยขึ้นจะต้องเสียภาษีเงินได้ ซึ่งเราเรียกสิ่งที่ทำให้เรารวยขึ้นว่า “เงินได้” ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่แค่เงิน แต่หมายความรวมถึงทรัพย์สิน และสิทธิประโยชน์ที่ตีมูลค่าเป็นตัวเงินได้ด้วย
2. คริปโตไม่ใช่เงินตามกฎหมายไทยแน่นอน แต่เป็น “ทรัพย์สินไม่มีรูปร่าง” ที่มีมูลค่าและถือครองเป็นเจ้าของได้
3. ถ้าเราซื้อ bitcoin มา 1 BTC ในราคา 1 ล้านบาท แล้วราคาตลาดขึ้นเป็น 1.5 ล้านบาท เลยทิ้งขายเป็นเงินสดได้ ได้กำไร 5 แสนบาท กำไรส่วนนี้จะเป็น “เงินได้” ที่คนขายต้องนำไปเสียภาษีเงินได้ของตัวเอง แต่ตราบเท่าที่เรายังไม่ขาย bitcoin ที่ซื้อมาด้วยต้นทุน 1 ล้านบาทนั้น ต่อให้มูลค่า bitcoin พุ่งขึ้นไปเป็น 2 ล้านบาท ในทางกฎหมายภาษีจะยังไม่นับว่าเรามีรายได้ เพราะยังไม่เกิดการขายขึ้น ถ้า HODL ต่อไปก็ยังไม่ต้องเสียภาษี
4. ถ้าสมมติแบบเดิมว่า เราซื้อ bitcoin มา 1 BTC ในราคา 1 ล้านบาท แล้วราคาตลาดขึ้นเป็น 1.5 ล้านบาท แต่คราวนี้แทนที่จะขายเป็นเงินสด เราเลือกเอา 1 BTC ไปแลกนาฬิกา Rolex 1 เรือน ราคา 1.5 ล้านบาท ธุรกรรมแบบนี้ ทางกรมสรรพากรยังไม่เคยมี guideline ออกมา แต่ถ้าให้เทียบเคียงกับหลักกฎหมายไทย คงจะพอตอบได้ว่าเกิดการแลกเปลี่ยนขึ้น และ “คนซื้อ” มีเงินได้ที่ต้อง ‘เสียภาษี’ ของตัวเองจากการซื้อนาฬิกา Rolex ครั้งนี้ด้วย
เมื่อเราซื้อ bitcoin ในราคา 1 ล้านบาท แต่กลับสามารถนำไปแลกของที่มีมูลค่า 1.5 ล้านบาทได้ นั่นหมายความว่า เจ้าของ bitcoin จะมี “กำไร” 5 แสนบาท จากการเอาของที่ตัวเองเก็บมาในราคา 1 ล้านบาท ไปแลกของที่มีมูลค่า 1.5 ล้านบาทได้สำเร็จ ทำให้ตอนจบ “คนซื้อ” เลยกลายเป็นคนที่มีรายได้ไปด้วยโดยที่ตัวเองอาจไม่รู้ตัว
ทั้งนี้ นี่ก็เป็นข้อสังเกตจาก ดร.ยุทธนา เท่านั้น ส่วนประเด็นที่ว่าจะคำนวณยังไงว่ามีกำไร? ใช้ต้นทุนราคาที่ซื้อครั้งไหน? จะรู้ได้ไงว่าซื้อขายกันจริง? ก็ต้องรอรายละเอียดจา
กจากกรมสรรพากรต่อไป
ถ้าได้ข้อมูลเพิ่มเติม WikiBit จะรีบมารายงานทุกความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเลย คุณสามารถติดตามข่าวสารที่สดใหม่ รวดเร็ว ถึงใจ พร้อมบทความเกร็ดความรู้ในโลกคริปโตแบบนี้ ได้ที่ “WikiBit” แอปนำเสนอข่าวสารวงการคริปโต พร้อมให้บริการตรวจสอบ Exchange ทั่วโลก รวบรวมข้อมูล Shitcoin และโครงการเถื่อน เพียงแค่กดค้นหา ข้อมูลที่คุณควรรู้ก็จะขึ้นมาแบบจัดเต็ม ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ ฟรี!
(ของคุณข้อมูลจาก: Mickey Yutthana Srisavat)
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
HFM
Tickmill
FP Markets
GO MARKETS
FBS
OANDA
HFM
Tickmill
FP Markets
GO MARKETS
FBS
OANDA
HFM
Tickmill
FP Markets
GO MARKETS
FBS
OANDA
HFM
Tickmill
FP Markets
GO MARKETS
FBS
OANDA