简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:วันนี้เราจะพูดถึง Scam Coin หรือสกุลเงินดิจิทัลปลอมที่สร้างขึ้นเพื่อตั้งใจมาโกงหรือ rug pull และนี่คือคุณสมบัติของเหรียญ Scam ที่ถ้าเจอเมื่อไหร่ หนีไป!
วันนี้เราจะพูดถึง Scam Coin หรือสกุลเงินดิจิทัลปลอมที่สร้างขึ้นเพื่อสร้างรายได้ให้กับผู้สร้างเหรียญในขณะที่ขโมยเงินจากผู้ที่สนับสนุนและลงทุนในเหรียญ และนี่คือคุณสมบัติของเหรียญ Scam ที่ถ้าเจอเมื่อไหร่ หนีไป!
1. เหรียญที่ซื้อมา แล้วขายไม่ได้
กลโกงคริปโตยอดนิยมเลยคือการทำ Rug Pull คือการปั่น ๆ ให้ราคาสูง สุดท้ายเทขายเป็นจำนวนมากโดยผู้สร้าง ซึ่งจะทำให้ Decentralized Exchanges ว่างเปล่า
มิจฉาชีพจะใช้ประโยชน์จาก Approve Function ของโทเคน ERC-20 บนเครือข่ายของ Ethereum ซึ่งฟังก์ชันนี้จะจัดการผู้ใช้งานให้ไม่สามารถใช้โทเคนที่ซื้อมาได้ นักพัฒนาก็อาจจะแก้ไขฟังก์ชันนี้ให้ผู้ใช้งานสามารถซื้อโทเคนได้เท่านั้น ขายไม่ได้ โดนทิ้งกลางทาง ครอบครองเหรียญที่ไม่มีมูลค่า ขายออกไม่ได้ เหลือไว้แต่ความเจ็บใจ
ตัวอย่างแพลตฟอร์มที่เคยเจอเหตุการณ์ Rug Pull ใหญ่ ๆ เลยก็คือเหรียญ Squid Game ที่ราคาพุ่งสูงขึ้นมาแตะระดับที่สูงที่สุดในไม่กี่วันที่ 2,861 ดอลลาร์ ก่อนที่จะร่วงลงมาเหลือศูนย์ดอลลาร์ และเจ้าของโปรเจกต์ก็ได้ทำการปิดโครงการนี้อย่างเป็นทางการ ปิดเว็บไซด์ ส่วนทางผู้ซื้อเหรียญก็ขายเหรียญบนแพลตฟอร์มไม่ได้ โดนแกงทั้งโลก
2. เว็บไซต์ไม่น่าเชื่อถือ Whitepaper คลุมเครือ
ในโลกคริปโต เรามีวิธีระดมทุนที่อาศัยเทคโนโลยีเข้าช่วยแทนที่ผู้ลงทุนจะจ่ายเงินเพื่อแลกกับหุ้น พวกเขาจะได้รับเหรียญดิจิทัลที่จับต้องไม่ได้เป็นสิ่งตอบแทน ที่เรียกว่า ICO หรือ Initial Coin Offering โดยบริษัทจะนำเสนอสิทธิประโยชน์และแผนธุรกิจในเอกสารที่เรียกว่า White Paper
ที่เราต้องระวังเลย คือ Fake ICO ซึ่งมักจะมาในรูปแบบของการหลอกให้ลงทุนและหนีหายไป ให้นักลงทุนมาร่วมระดมทุนไม่ได้มีเป้าหมายอะไรจริง ๆ เหรียญประเภทที่ให้ระดมทุนก็ไม่ได้มีประโยชน์อะไรเลย ซึ่งวิธีจับสัญญาณว่า ICO อาจเป็นการหลอกลวง คือ เว็บไซต์ หรือ Whitepaper จะคลุมเครือ ไม่ชัดเจน และไม่น่าเชื่อถือเท่าที่ควร ตามกฎหมายที่ถูกต้องเอกสารมักจะอธิบายว่าทำไมผู้คนจึงควรลงทุนในโครงการและมูลค่าที่เป็นไปได้ของโครงการคือเท่าไร นักลงทุนจำเป็นต้องทำการดูข้อมูลอย่างละเอียดเกี่ยวกับบริษัทที่ระดมทุนเพื่อหลีกเลี่ยงการหลอกลวง
Whitepaper ที่ดีควรมีชื่อผู้พัฒนาหรือสมาชิกในทีม มีแผนงานที่ชัดเจน และมีเป้าหมายการระดมทุน หาก ICO เปิดตัวโดยไม่มีเป้าหมายเงินทุนที่เฉพาะเจาะจง อาจเป็นสัญญาณว่าเป้าหมายของ ICO นั้นไม่ถูกต้องตามกฎหมายและอาจใช้เพื่อหลอกลวงนักลงทุนเท่านั้น
3. ไม่ได้ขายบนแพลตฟอร์มที่น่าเชื่อถือ
อีกวิธีหนึ่งที่นักต้มตุ๋นหลอกลวงนักลงทุนสกุลเงินดิจิทัล คือการใช้แอปปลอมที่มีให้ดาวน์โหลดผ่าน Google Play และ App Store แล้วให้ไปซื้อเหรียญชื่อแปลก ๆ ที่คุณแทบไม่เคยรู้จัก อ่านดูคงคิดว่าใครจะไปเชื่อแล้วซื้อเหรียญเหล่านั้น แต่รู้มั้ยว่ามีรายงานว่า มีผู้คนหลายพันคนดาวน์โหลดแอปสกุลเงินดิจิทัลปลอมแล้ว
4. คะแนนบน WikiBit ต่ำมาก
WikiBit คือแอปให้บริการตรวจสอบเหรียญคริปโต แอปของเรามีข้อมูลทุกอย่างที่คุณควรรู้ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเชิงสถิติ Whitepaper เว็บไซต์ของเหรียญ หรือแม้กระทั่งเช็คได้ว่าเหรียญนั้น ๆ มีขายบนแพลตฟอร์มไหนบ้าง ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ จะถูกคำนวณผ่านระบบ AI ออกมาเป็นคะแนนความน่าเชื่อถือ ซึ่งหากมีคะแนนต่ำว่า 3/10 อันนั้นก็เข้าข่ายเป็นเหรียญที่ไม่น่าไว้ใจแล้ว! ใครอยากเช็คข้อมูลเหรียญก็แค่กดค้นหาชื่อ แล้วข้อมูลที่คุณควรรู้ก็จะขึ้นมาแบบจัดเต็ม ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ ฟรี! #WikiBit
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
Doo Prime
STARTRADER
FXCM
AvaTrade
EC Markets
FP Markets
Doo Prime
STARTRADER
FXCM
AvaTrade
EC Markets
FP Markets
Doo Prime
STARTRADER
FXCM
AvaTrade
EC Markets
FP Markets
Doo Prime
STARTRADER
FXCM
AvaTrade
EC Markets
FP Markets