简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เข้าใกล้วันประชุม Fed ความกังวลว่าดอกเบี้ยจะปรับขึ้น แต่อย่างไรก็ตามเรายังเชื่อว่าการปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมรอบ ก.ย.65 ไม่น่าจะเกิน 0.75% และน่าจะชะลอตัวลงเหลือ 0.5 – 0.25% ต่อรอบ
เข้าใกล้วันประชุม Fed ความกังวลว่าดอกเบี้ยจะปรับขึ้น แต่อย่างไรก็ตามเรายังเชื่อว่าการปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมรอบ ก.ย.65 ไม่น่าจะเกิน 0.75% และน่าจะชะลอตัวลงเหลือ 0.5 – 0.25% ต่อรอบ สนับสนุนด้วยความ เชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว และหากการเพิ่มขึ้นของ CPI รายเดือน จากนี้ไปที่ 0.12% MoM (อ้างอิงตัวเลขเดือน ส.ค.65 ที่ผ่านมา) น่าจะทำให้เงิน เฟ้อลงไปอยู่ในกรอบเป้าหมายราวกลางปี 2566 ถัดมาเป็นเรื่องความกังวลเรื่อง Recession ของสหรัฐฯ ซึ่งปัจจุบันพบว่า Indicator จากInverted Yield Curve ที่ค่อนข้างลึกและยาวนาน ภาวะดังกล่าวทำให้ต้นทุนในการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ Fed สูงขึ้น หากเป็นไปตามคาดประกอบกับการที่ กนง. ปรับขึ้นดอกเบี้ยในการ ประชุมอีก 2 น่าจะทำให้เงินบาทไม่หลุด 37 บาทขึ้นไปได้ง่ายๆ
คาดว่าเงินบาทอาจชะลอการอ่อนค่าในช่วงที่เหลือของปี
วันศุกร์ที่ผ่านมาเงินบาทไทยอ่อนค่าทะลุแนวต้านเดิมที่ราว 36.8 บาท/ดอลลาห์สหรัฐ และพุ่งขึ้นไปทะลุ 37 บาท/ดอลลาห์สหรัฐ ก่อนที่จะย่อตัวลงมา ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในรอบ 16 ปีที่บาทอ่อนค่ามากขนาดนี้ทั้งนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่าค่าเงินบาทผันผวน ในช่วงที่ผ่านมา มีสาเหตุหลักมาจากการคาดการณ์ว่า Fed จะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่มากกว่าเดิมในการประชุมสัปดาห์นี้ รวมถึงค่าเงินในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย (Emerging Asia) ปรับตัวอ่อนค่า อาทิ เงินหยวนขึ้นขึ้นไปแตะที่ 7 หยวน/ดอลลาร์ ทำให้นักลงทุนมี Demand ในเงินดอลลาห์สูงขึ้น เนื่องจากเชื่อว่าเงินดอลลาห์เป็น Safe Haven อย่างไรก็ตามฝ่ายวิจัยประเมินว่า ค่าเงินบาทจะเริ่มกลับมาแข็งค่าอีกครั้งจาก 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่
• อัตราเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยมีแนวโน้มว่าจะชะลอตัวในช่วงที่เหลือของปี เมื่อ พิจารณาจาก FED Watch Tool นักลงทุนส่วนใหญ่ยังให้น้ำหนัก 82% ที่ FED จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.75% สู่ระดับ 3.25% และให้น้ำหนักเพียง 18% ที่ FED จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 1.00% สำหรับการประชุมในสัปดาห์นี้ ส่วนการ ประชุมครั้งต่อๆ ไปน่าจะเห็น Fed ขึ้นดอกเบี้ยลดน้อยลงเหลือ 0.50% หรือ 0.25%
• นักลงทุนยังกังวลเศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ Recession โดยเมื่อพิจารณาจาก Inverted Yield Curve พบว่า Bond Yield สหรัฐ 2 ปี – 10 ปี อยู่ที่ -0.41% ติดต่อกันนานต่อเนื่องตั้งแต่เดือน ก.ค. ทำให้การเร่งขึ้นดอกเบี้ยในช่วงถัดไปมี โอกาสชะลอลงได้โดยมองว่าความเสียหายจาก Recession ถือเป็นต้นทุนสำหรับ การที่ Fed พิจารณาปรับขึ้นดอกเบี้ยแรง
• เงินเฟ้อสหรัฐคาดว่าผ่านจุด Peak ไปแล้ว หลัง CPI เดือนล่าสุดออกมา 8.3% ลดลงจาก 8.5% จากเดือนก่อนหน้า โดยฝ่ายวิจัยฯนำการเติบโต CPI รายเดือน เดือนล่าสุดที่ระดับ 0.12%MoM มาคิดเป็นสมมุติฐาน CPI Index ในช่วงถัดไป จะ เห็นได้ว่า อัตรา CPI YoY เดือนถัดๆ ไปลดลงอย่างชัดเจน โดยลดลงจาก 8.5%YoY(เดือน ส.ค.65) เหลือ 1.3%YoY (เดือน มิ.ย.66) หรือกลับเข้าสู่ภาวะ ปกติที่ FED มองไว้ คือระดับเงินเฟ้อต่ำกว่า 2%YoY
สรุป ทั้ง 3 ปัจจัยช่วยหนุนให้ค่าเงินดอกลลาร์มีโอกาสชะลอการแข็งค่าในช่วงเวลา ถัดไป หนุนให้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มจะชะลอการอ่อนค่าลงเช่นกัน พร้อมกับคาดหวัง การกลับมาแข็งค่าจากเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในช่วง Recovery
ดอกเบี้ยไทยยังขึ้นได้ช้ากว่าสหรัฐ พร้อมกับอยู่ในช่วงเศรษฐกิจฟื้น
ในช่วงที่เหลือของปี ยังเหลือการประชุม กนง. อีก 2 ครั้ง ฝ่ายวิจัยฯ คาดว่าจะมีการขึ้น ดอกเบี้ยครั้งละ 0.25% หนุนปลายปีดอกเบี้ยไทยเท่ากับ 1.25% น้อยกว่าดอกเบี้ยสหรัฐที่ Fed Watch Tool คาดปลายปีอยู่ที่ 4%
การขึ้นดอกเบี้ยไทยที่ช้ากว่า ส่วนหนึ่งเกิดจากเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงฟื้นตัวสะท้อนได้จาก มูลค่า GDP งวด 2Q65 ยังไม่กลับไปเท่ากันกลับก่อนเกิด Covid-19 เลย แตกต่างจาก สหรัฐที่เคยขึ้นไปเหนือกว่าเกือบ ๆ 13.2% แล้วเริ่มชะลอตัวลงมา 2 ไตรมาสติดต่อกัน
นอกจากนี้ฝ่ายวิจัยเล็งเห็นว่า อัตราเงินเฟ้อของไทยในเดือนถัดๆ ไป มีโอกาสลดลงอย่าง ชัดเจน หากสมมุติให้ CPI ตั้งแต่เดือนส.ค. เพิ่มขึ้น 0.05%MoM (เท่ากับการเพิ่มขึ้นของ เดือน ก.ค.) หนุนให้เงินเฟ้อเดือน ส.ค. จะค่อยๆลดลงจาก 7.9%YoY จนในเดือนเดือน พ.ค. 66 กลับสู่ภาวะปกติที่ 1.2%YoY
สรุป การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย การขึ้นดอกเบี้ยที่ช้ากว่าสหรัฐ เป็นตัวช่วยหนุนให้ Fund Flow ยังมีโอกาสไหลเข้าตลาดหุ้นไทยในช่วงที่เหลือของปีอยู่ ช่วยพยุงให้ตลาด หุ้นไทยผันผวนน้อยกว่าตลาดหุ้นโลกได้ ดังนั้นหากตลาดหุ้นลงลึกถือเป็นโอกาสทยอย สะสม
คาดหวังFUND FLOW จากประเทศพัฒนา โยกมาตลาดหุ้นกำลังพัฒนา รวมถึงไทยต่อ
แม้วันศุกร์ที่ผ่านมา ค่าเงินบาทจะอ่อนค่าทะลุ 37 บาท/เหรียญ แต่ Fund Flow ไหลออก จากตลาดหุ้นไทยไม่มากเพียง -819 ล้านบาท และฝ่ายวิจัยคาดว่าเงินบาทมีโอกาสชะลอ การอ่อนค่าตามหัวข้อก่อนหน้าได้
พร้อมกับคาดหวัง Fund Flow จะไหลเข้าในช่วงที่เหลือของปีจาก 2 ส่วน
1. ความเสี่ยงจากการเร่งขึ้นดอกเบี้ยในตลาดหุ้นไทยน้อยกว่าสหรัฐ
2. ความคาดหวังการเติบโตกำไรบริษัทจดทะเบียนจะทยอยเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัว ของเศรษฐกิจ ขณะที่บริษัทจดทะเบียนสหรัฐเตรียมรับมือกับการชะลอตัวของ เศรษฐกิจ
หนุนให้ Fund Flow ยังมีโอกาสโยกย้ายจากตลาดหุ้นประเทศพัฒนา มาตลาดหุ้นกำลัง พัฒนา รวมถึงไทยเหมือนกับในช่วงที่ผ่านๆ มา สะท้อนได้จาก 7 เดือนแรกของในปีนี้ ต่างชาติขายสุทธิหุ้นสหรัฐมูลค่ารวม -3.89 หมื่นล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิทุกเดือน ตรงข้ามกับตลาดหุ้นไทยที่ต่างชาติซื้อสุทธิสะสม 4.7 พันล้านเหรียญ (ytd) และเป็นการซื้อ สุทธิถึง 7 ใน 9 เดือน
สรุปทุกๆ ปัจจัยที่กล่าวมายังคาดหวัง Fund Flow ไหลเข้ามาพยุงดัชนีในช่วงที่เหลือ ของปี ส่วนกลยุทธ์การลงทุนในวันนี้ ความกังวล Fed ขึ้นดอกเบี้ยในช่วงก่อนการ ประชุมในวันที่ 21 ก.ย. กดดันให้ตลาดหุ้นผันผวน
ขอบคุณข้อมูลจาก : Investing.com
คุณสามารถตรวจสอบรายละเอียดใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex อ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูลหมดไส้หมดพุง แอปเดียวที่จบครบ เรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือแผน เป้าหมายของเราคือกำไรที่เราต้องการ ความเสี่ยงที่เรายอมรับได้ และความอดทน
ตั้งแต่มือใหม่ฟอเร็กซ์ไปจนถึงผู้เชี่ยวชาญการเทรด โอกาสเดียวเท่านั้น! เข้าร่วมกับเราในการท้าทายการเดินทางเพื่อความก้าวหน้าของผู้เริ่มต้น Forex และปลดล็อคศักยภาพของคุณ!
7 เช็กลิสต์สังเกตโบรกเกอร์ Forex หลอกลวง
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมนโยบายการเงินประจำวันที่ 17-18 ธ.ค. ซึ่งระบุว่า บรรดาเจ้าหน้าที่เฟดได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อและผลกระทบที่อาจเกิดจากนโยบายของโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ
TMGM
FxPro
IC Markets Global
FOREX.com
STARTRADER
GO MARKETS
TMGM
FxPro
IC Markets Global
FOREX.com
STARTRADER
GO MARKETS
TMGM
FxPro
IC Markets Global
FOREX.com
STARTRADER
GO MARKETS
TMGM
FxPro
IC Markets Global
FOREX.com
STARTRADER
GO MARKETS