简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ตำรวจไซเบอร์ จับกุมสาวอายุ 27 ปี หลอกผู้เสียหายเปิดบัญชีในโบรก Exness ก่อนเชิดเงินหนีกว่า 1 ล้านบาท !
เมื่อวันที่ 19 มี.ค. 2566 ที่บช.สอท. เมืองทองธานี พ.ต.อ.ปกรณ์กิตติ์ ธนวรินทร์กุล ผกก.3 บก.สอท.2 พ.ต.อ.เอนก ยอดหมวก รองผกก.3 บก.สอท.2 นำกำลังพร้อมหมายจับศาลจ.ชลบุรี ที่ 247/2566 ลงวันที่ 17 มีนาคม 2566 เข้าจับกุมน.ส.นพวรรณ บุญพา อายุ 27 ปี ชาวจ.เชียงราย ผู้ต้องหาในฉ้อโกง หลอกเทรดหุ้น ลงทุนเงินดิจิทัล จับกุมได้ที่บ้านหลังหนึ่งในพื้นที่ ม.4 หมู่บ้านทองรุ่งโรจน์ ต.กุฎโง้ง อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 66 ที่ผ่านมา
สืบเนื่องจากเมื่อช่วงกลางเดือนกรกฎาคม 65 น.ส.นพวรรณ ได้โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊ก ชักชวนให้ผู้ที่สนใจในการลงทุนเทรดเงินดิจิทัล เข้าร่วมลงทุน โดยอ้างว่าเป็นผู้มีความรู้เชี่ยวชาญ ลงทุนแล้วจะได้รับผลกำไรตอบแทนสูง เมื่อผู้เสียหายรายใดมีความสนใจ จะให้แอดไลน์เป็นเพื่อนเพื่อเข้าไปพูดคุยสอบถามรายละเอียด แต่เนื่องจากน.ส.นพวรรณ มีทักษะการพูดเหมือนเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ และเชี่ยวชาญเรื่องการลงทุนเทรดเงิน มีการโน้มน้าวให้ร่วมลงทุนให้ผู้เสียหายลงเชื่อโอนเงินจำนวน 1 ล้านบาท เข้าบัญชีธนาคารของน.ส.นพวรรณ แต่หลังจากผู้เสียหายโอนเงินให้ไปแล้วไม่สามารถติดต่อได้อีกเลย ทางผู้เสียหายจึงรู้ตัวว่าถูกมิจฉาชีพหลอก จึงเข้าแจ้งความกับตำรวจไซเบอร์
ทางเจ้าหน้าที่ชุดสืบสวนได้ตรวจสอบเส้นทางการเงินพบว่าหลังจากน.ส.นพวรรณ ได้รับโอนเงินจากผู้เสียหายเข้าบัญชีธนาคารไปแล้ว ได้โอนเงินถ่ายไปยังอีกบัญชีของตัวเอง เพื่อตบตาเจ้าหน้าที่ในการติดตามจับกุม เมื่อตรวจสอบประวัติพบว่าน.ส.นพวรรณ มีพฤติการณ์เคยก่อเหตุในลักษณะเดียวกัน ซึ่งมีผู้เสียหายอีก 2 ราย ที่หลงเชื่อถูกหลอกให้ร่วมลงทุนสูญเงินรายละนับแสนบาท เบื่องต้นให้การรับสารภาพ จึงส่งพนักงานสอบสวน กก.3 บก.สอท.2 ดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
ที่มาข้อมูลจาก : khaosod
จริง ๆ เรื่องนี้เคยถูกแจ้งเรื่องเข้ามาทางเพจ WikiFX ตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่เนื่องจากทางผู้เสียหายยังไม่อยากให้นำเรื่องราวนี้มาเปิดเผยก่อน เพราะอยากตามจับกุมมิจฉาชีพให้ได้เสียก่อน โดยเรื่องราวมีอยู่ว่า ผู้เสียหายถูกแฟนยืมเงินไปเทรด 3 ล้าน แล้วเสีย มิจฉาชีพเลยบอกจะช่วย โดยให้เปิดบัญชี zero แล้วฝากเงินผ่าน QR Code ที่คนร้ายส่งมาให้
ซึ่งวิธีของคนร้ายคือให้เราเปิดบัญชีเราเอง แต่ตอนฝากเงินเค้าให้เราแสกน QR Code ของเขา ซึ่งเขาอ้างว่า เป็น QR Code ของเรา แต่จริง ๆ เงินเข้าพอร์ตของมิจฉาชีพ และโบรกที่มิจฉาชีพนำมาใช้แอบอ้างก็เป็นโบรกที่ทุกคนคุ้นเคยนั้น คือโบรก Exness ซึ่งทาง Exness รู้ว่าเงินที่โอนไปนั้นคือเงินของผู้เสียหาย แต่ถ้าเจ้าของพอร์ตไม่ได้ยินยอมคืน Exness ก็ไม่สามารถคืนให้ได้
ซึ่งตอนนี้มิจฉาชีพถูกตำรวจจับเป็นที่เรียบร้อย แต่ทางผู้เสียหายก็ยังไม่ได้รับเงิน 1 ล้านบาทคืนเพราะมิจฉาชีพให้การยอมรับสารภาพแค่จำนวนเงิน 30,000 บาทของคนอื่น แต่ยอด 1 ล้านบาทของผู้เสียทางมิจฉาชีพไม่ยอมรับ ซึ่งตอนนี้อยู่ในขั้นตอนสอบปากคำเพิ่มเติม หากมีข้อมูลอัปเดต แอดจะมาแจ้งให้ทราบอีกครั้งครับ ซึ่งแอดเหยี่ยวอยากให้คนที่คิดจะลงทุนตรวจสอบรายละเอียดให้ดีก่อนจะนำเงินไปลงทุน เพราะเท่าที่อ่านมาอาจจะตรวจสอบแค่โบรกอย่างเดียวไม่พอแล้ว เพราะเราอาจจะเลือกเทรดโบรกที่ดี แต่เจอคนชวนลงทุนที่แย่ ดังนั้นอาจจะต้องตรวจสอบบุคคลที่เข้ามาชวนลงทุนด้วย การจะลงทุนไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับทุกคนแน่นอนครับ เอาเป็นว่าแอดให้กำลังใจทุกคนที่กำลังเทรดอยู่ และคนที่เพิ่งเริ่มครับ หากใครที่มีเรื่องราวอยากจะแชร์เป็นอุทาหรณ์เตือนภัยท่านอื่น ๆ ก็สามารถนำเรื่องราวเหล่านี้มาแชร์ต่อได้นะครับ
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
FBS
FxPro
Tickmill
FXTM
Pepperstone
HFM
FBS
FxPro
Tickmill
FXTM
Pepperstone
HFM
FBS
FxPro
Tickmill
FXTM
Pepperstone
HFM
FBS
FxPro
Tickmill
FXTM
Pepperstone
HFM