简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ควรจับตา รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ โดยเฉพาะ ข้อมูลการจ้างงาน ส่วนในฝั่งไทย รอลุ้นรายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI และควรติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางหลัก
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทยเปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา ความกังวลปัญหาเสถียรภาพของระบบธนาคารที่ทยอยคลี่คลายลง ได้หนุนให้ผู้เล่นในตลาดกล้าเปิดรับความเสี่ยง (Risk-On) มากขึ้นควรจับตา รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ โดยเฉพาะ ข้อมูลการจ้างงาน ส่วนในฝั่งไทย รอลุ้นรายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI และควรติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางหลัก
• เงินดอลลาร์อาจเคลื่อนไหว sideways ในช่วงก่อนตลาดรับรู้ข้อมูลการจ้างงานสหรัฐฯ ทั้งนี้ เงินดอลลาร์จะมีทิศทางที่ชัดเจนขึ้น โดยมีโอกาสแข็งค่าขึ้นได้ หากยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมและการเติบโตของรายได้ออกมาดีกว่าคาด
• ส่วนค่าเงินบาท อาจเคลื่อนไหวไร้ทิศทางในช่วงก่อนตลาดรับรู้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ เช่นกัน ทว่า หากราคาทองคำย่อตัวลงต่อเนื่อง ตามภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาด ก็อาจกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลง ตามโฟลว์ซื้อทองคำในจังหวะย่อตัวได้ ทั้งนี้ เงินบาทอาจพอได้แรงหนุนฝั่งแข็งค่า หากนักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิหุ้นไทยมากขึ้น และผู้เล่นในตลาดยังคงคาดว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยยังมีโอกาสเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่อ ซึ่งต้องรอติดตามรายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI เดือนมีนาคม
• มองกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้ 33.85-34.40 บาท/ดอลลาร์
ไฮไลต์สำคัญทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจในสัปดาห์นี้มีดังนี้
1. ฝั่งสหรัฐฯ – ไฮไลท์สำคัญ คือ รายงานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ เดือนมีนาคม โดยเฉพาะ ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) และอัตราการเติบโตของค่าจ้าง (Average Hourly Earnings) โดยตลาดคาดว่า ตลาดแรงงานสหรัฐฯ นั้นยังคงแข็งแกร่งและตึงตัว สะท้อนผ่านยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมที่อาจเพิ่มขึ้น +2.4 แสนราย ส่วนยอดตำแหน่งงานเปิดรับ (JOLTs Job Openings) อาจลดลงเล็กน้อยสู่ระดับ 10.4 ล้านตำแหน่ง ซึ่งคิดเป็นเกือบ 1.8 เท่าของจำนวนผู้ว่างงาน ชี้ว่าตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังคงตึงตัวอยู่ ซึ่งอาจทำให้ อัตราการเติบโตของค่าจ้างยังคงสูงราว +4.3%y/y
นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตาแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ผ่านรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตอุตสาหกรรมและภาคการบริการ (ISM Mfg. & Services PMIs) เดือนมีนาคม โดยตลาดมองว่า ภาคการบริการจะยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ชี้จากดัชนี ISM PMI ภาคการบริการ ที่อาจอยู่ที่ระดับ 54.5 จุด (ดัชนีมากกว่า 0 หมายถึง ภาวะขยายตัว) ขณะที่ภาคการผลิตอาจยังคงหดตัวต่อเนื่อง โดยดัชนี ISM PMI ภาคการผลิตจะอยู่ที่ระดับ 47.5 จุด อนึ่ง หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าคาด ก็อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดเริ่มกลับมาคาดหวังว่า เฟดยังมีโอกาสเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อได้ ทั้งนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด เพื่อประเมินแนวโน้มนโยบายการเงินของเฟดในอนาคต
2. ฝั่งยุโรป – ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตาม ถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) เพื่อประเมินทิศทางนโยบายการเงินของทั้งสองธนาคารกลาง ว่าจะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยจนแตะจุดสูงสุด (Terminal Rate) ณ ระดับใด หลังอัตราเงินเฟ้อชะลอลงต่อเนื่อง โดยล่าสุด อัตราเงินเฟ้อทั่วไป CPI ของยูโรโซน เดือนมีนาคม ได้ชะลอลงสู่ระดับ 6.9% ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core CPI ทรงตัวที่ระดับ 5.7%
3. ฝั่งเอเชีย – ตลาดมองว่า ในไตรมาสแรกของปีนี้ เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจในส่วนภาคการบริการ (Tankan Non-Mfg.) ของทั้งบริษัทขนาดเล็กและขนาดใหญ่อาจปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 7 จุด และ 20 จุด ตามลำดับ ขณะที่ภาคการผลิตอาจเผชิญแรงกดดันจากแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ทำให้ ดัชนี ความเชื่อมั่นในภาคการผลิต (Tankan Mfg.) ของบริษัทขนาดเล็กและขนาดใหญ่จะปรับตัวลดลงสู่ระดับ -6 จุด และ 3 จุด ตามลำดับ ในส่วนนโยบายการเงิน ตลาดมองว่า ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) อาจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 3.60% เพื่อรอประเมินผลกระทบของการขึ้นดอกเบี้ยก่อนหน้าต่อเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ ขณะที่ ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) และธนาคารกลางอินเดีย (RBI) อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย +0.25% สู่ระดับ 5.00% และ 6.75% ตามลำดับ เพื่อให้มั่นใจว่าอัตราเงินเฟ้อจะสามารถชะลอลงกลับสู่เป้าหมายได้
4. ฝั่งไทย – เราคาดว่า ดัชนี PMI ภาคการผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนมีนาคม อาจลดลงสู่ระดับ 54 จุด สะท้อนว่า ภาคการผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราชะลอลง กดดันโดยความต้องการสินค้าที่ลดลง ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจคู่ค้า สอดคล้องกับยอดการส่งออกของไทยที่ยังคงหดตัวในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ แม้ภาคการผลิตอาจชะลอตัวลง ทว่าในส่วนภาคการบริการมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น ตามการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว ซึ่งจะช่วยหนุนให้ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ (Business Sentiment) อาจปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 50.8 จุด ในเดือนมีนาคม และจากภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศที่ดีขึ้น หนุนโดยการบริโภคภาคเอกชน ทำให้เราประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core CPI เดือนมีนาคม อาจทรงตัวที่ระดับ 1.9% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไป CPI อาจชะลอลงสู่ระดับ 3.20% (+0.10%m/m) ตามการปรับตัวลงของราคาสินค้าพลังงานและระดับฐานราคาที่สูงในปีก่อนหน้า ทั้งนี้ แม้อัตราเงินเฟ้อจะชะลอลง แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในระดับสูงอยู่ ทำให้เรามองว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก +0.25% สู่ระดับ 2.00% ได้ในการประชุมครั้งถัดไป
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือแผน เป้าหมายของเราคือกำไรที่เราต้องการ ความเสี่ยงที่เรายอมรับได้ และความอดทน
ตั้งแต่มือใหม่ฟอเร็กซ์ไปจนถึงผู้เชี่ยวชาญการเทรด โอกาสเดียวเท่านั้น! เข้าร่วมกับเราในการท้าทายการเดินทางเพื่อความก้าวหน้าของผู้เริ่มต้น Forex และปลดล็อคศักยภาพของคุณ!
7 เช็กลิสต์สังเกตโบรกเกอร์ Forex หลอกลวง
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมนโยบายการเงินประจำวันที่ 17-18 ธ.ค. ซึ่งระบุว่า บรรดาเจ้าหน้าที่เฟดได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อและผลกระทบที่อาจเกิดจากนโยบายของโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ
FOREX.com
FBS
IQ Option
FxPro
Pepperstone
IC Markets Global
FOREX.com
FBS
IQ Option
FxPro
Pepperstone
IC Markets Global
FOREX.com
FBS
IQ Option
FxPro
Pepperstone
IC Markets Global
FOREX.com
FBS
IQ Option
FxPro
Pepperstone
IC Markets Global