简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทยเปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินดอลลาร์เคลื่อนไหวผันผวน โดยมีจังหวะแข็งค่าขึ้นตามความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย ก่อนที่จะย่อตัวลง หลังผู้เล่นในตลาดเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้นและเริ่มกลับมามองว่า เฟดอาจคงดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมิถุนายน จากที่เคยมองว่า เฟดจะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อ
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทยเปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินดอลลาร์เคลื่อนไหวผันผวน โดยมีจังหวะแข็งค่าขึ้นตามความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย ก่อนที่จะย่อตัวลง หลังผู้เล่นในตลาดเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้นและเริ่มกลับมามองว่า เฟดอาจคงดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมิถุนายน จากที่เคยมองว่า เฟดจะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อ
• มองว่า เงินดอลลาร์ยังพอมีโมเมนตัมแข็งค่าต่อได้บ้าง หลังจากปรับตัวแข็งค่าขึ้นตามยอดการจ้างงานสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าคาดไปมาก แต่เราคงมุมมองเดิมว่า การแข็งค่าของเงินดอลลาร์อาจเริ่มจำกัดลง เนื่องจากผู้เล่นในตลาดเริ่มมองว่าเฟดอาจคงอัตราดอกเบี้ย อีกทั้งปัจจัยเสี่ยงในระยะสั้นอย่างประเด็นเพดานหนี้ก็คลี่คลายลง ทำให้ผู้เล่นในตลาดอาจรอจังหวะทยอยขายทำกำไรสถานะ Long USD
• ในช่วงนี้ มองว่า ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวสอดคล้องกับค่าเงินหยวนของจีนมากขึ้น ทำให้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจของจีน รวมถึงทิศทางตลาดหุ้นจีนและตลาดหุ้นฮ่องกง ก็อาจส่งผลต่อทิศทางเงินบาทได้ ผ่านการเคลื่อนไหวของเงินหยวน
แม้ว่า ความไม่แน่นอนของการจัดตั้งรัฐบาลจะเป็นปัจจัยที่กดดันให้นักลงทุนต่างชาติยังไม่รีบกลับเข้ามาซื้อหุ้นไทยชัดเจน แต่ทว่า แรงขายหุ้นไทยจากนักลงทุนต่างชาติก็อาจเริ่มลดลง (ล่าสุดนักลงทุนต่างชาติกลับมาเป็นฝั่งซื้อสุทธิ)
• สำหรับฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติในส่วนตลาดบอนด์ เราคงมองว่า นักลงทุนต่างชาติอาจทยอยกลับเข้ามาซื้อบอนด์ระยะกลาง-ระยะยาวได้บ้าง ในจังหวะที่บอนด์ยีลด์ปรับตัวขึ้น (รอ Buy on dip)
• อนึ่ง ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อทิศทางค่าเงินบาท คือ โฟลว์ธุรกรรมทองคำ โดยหากราคาทองคำย่อตัวลงทดสอบโซนแนวรับ ก็อาจมีโฟลว์ซื้อทองคำในจังหวะย่อตัว ซึ่งจะเป็นปัจจัยกดดันเงินบาทฝั่งอ่อนค่าได้
มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก
1. ฝั่งสหรัฐฯ – สัปดาห์นี้ รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ อาจมีไม่มากนัก และยังเป็นช่วง Black Out/Silent Period ของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด ทำให้ผู้เล่นในตลาดจะไม่ทราบมุมมองของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดเพิ่มเติม โดยเฉพาะหลังจากที่ตลาดรับรู้รายงานยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) ล่าสุด ที่ออกมาดีกว่าคาดไปมาก
อย่างไรก็ดี อัตราดอกเบี้ยนโยบายและอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงจะเป็นปัจจัยที่กดดันการขยายตัวในภาคการบริการ และนอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าว ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้น รายงานยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรกและการว่างงานต่อเนื่อง (Initial & Continuing Jobless Claims) เพื่อช่วยประกอบการประเมินแนวโน้มตลาดแรงงานสหรัฐฯ
2. ฝั่งยุโรป – ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจยูโรโซน ผ่านรายงานยอดค้าปลีก (Retail Sales) เดือนเมษายน ซึ่งบรรดานักวิเคราะห์ต่างมองว่า ยอดค้าปลีกอาจขยายตัวราว +0.2% จากเดือนก่อนหน้า หนุนโดยภาวะการจ้างงานที่ยังคงดีอยู่ ทว่าปัญหาค่าครองชีพสูงจากภาวะเงินเฟ้อสูงก็เป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันการบริโภคโดยรวม นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) เพื่อประเมินแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางหลักดังกล่าว
3. ฝั่งเอเชีย – ตลาดจะรอจับตาแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจจีนอย่างใกล้ชิด หลังข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดต่างชี้ว่า เศรษฐกิจจีนฟื้นตัวได้แย่กว่าคาด โดยเฉพาะดัชนี PMI ภาคการผลิตอุตสาหกรรม ซึ่งตลาดคาดว่า การชะลอตัวลงของภาคอุตสาหกรรมอาจสะท้อนผ่าน ยอดการนำเข้าเดือนพฤษภาคมที่อาจหดตัว นอกจากนี้ โมเมนตัมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนที่อ่อนแรงลง ทำให้ผู้เล่นในตลาดต่างคาดหวังว่า ทางการจีนและธนาคารกลางอาจจำเป็นต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในอนาคต ในส่วนนโยบายการเงิน ตลาดมองว่าธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) รวมถึงธนาคารกลางอินเดีย (RBI) จะตัดสินใจ “คง” อัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 3.85% และ 6.50% ตามลำดับ หลังอัตราเงินเฟ้อของทั้งออสเตรเลียและอินเดีย ชะลอตัวลงต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน ภาพรวมเศรษฐกิจก็เริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวลง
4. ฝั่งไทย – เราประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไป CPI เดือนพฤษภาคมอาจชะลอลง -0.05% จากเดือนก่อนหน้า ตามการปรับตัวลงของราคาสินค้าพลังงาน ทว่าราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มอาจยังคงปรับตัวขึ้นตามการฟื้นตัวต่อเนื่องของการบริโภคในประเทศ ซึ่งจะสอดคล้องกับการปรับตัวขึ้นต่อเนื่องของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence) ที่อาจปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 55.5 จุด ในเดือนพฤษภาคม ทั้งนี้ เราจะติดตามแนวโน้มอัตราเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด เพราะหากอัตราเงินเฟ้อชะลอลงมากกว่าคาด ก็อาจลดโอกาสที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยในเดือนสิงหาคม
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือแผน เป้าหมายของเราคือกำไรที่เราต้องการ ความเสี่ยงที่เรายอมรับได้ และความอดทน
ตั้งแต่มือใหม่ฟอเร็กซ์ไปจนถึงผู้เชี่ยวชาญการเทรด โอกาสเดียวเท่านั้น! เข้าร่วมกับเราในการท้าทายการเดินทางเพื่อความก้าวหน้าของผู้เริ่มต้น Forex และปลดล็อคศักยภาพของคุณ!
7 เช็กลิสต์สังเกตโบรกเกอร์ Forex หลอกลวง
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมนโยบายการเงินประจำวันที่ 17-18 ธ.ค. ซึ่งระบุว่า บรรดาเจ้าหน้าที่เฟดได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อและผลกระทบที่อาจเกิดจากนโยบายของโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ
FXTM
IC Markets Global
EC Markets
Octa
FP Markets
XM
FXTM
IC Markets Global
EC Markets
Octa
FP Markets
XM
FXTM
IC Markets Global
EC Markets
Octa
FP Markets
XM
FXTM
IC Markets Global
EC Markets
Octa
FP Markets
XM