简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจในสัปดาห์นี้ นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทยเปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินดอลลาร์เคลื่อนไหวผันผวน โดยมีจังหวะพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้น จากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าคาด ก่อนที่จะอ่อนค่าลงในช่วงวันศุกร์หลังอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core PCE ออกมาต่ำกว่าคาด
เหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจในสัปดาห์นี้ นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทยเปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินดอลลาร์เคลื่อนไหวผันผวน โดยมีจังหวะพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้น จากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดีกว่าคาด ก่อนที่จะอ่อนค่าลงในช่วงวันศุกร์หลังอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core PCE ออกมาต่ำกว่าคาด
รอลุ้น รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ โดยเฉพาะยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) และการเติบโตของค่าจ้าง พร้อมจับตาสถานการณ์การเมืองไทย อย่างใกล้ชิด
พบว่า สถานะการถือครองเงินดอลลาร์ยังคงเป็น Net Short (ผู้เล่นในตลาดมองเงินดอลลาร์มีโอกาสอ่อนค่าลง) และผู้เล่นในตลาดได้มีการทยอยเพิ่มสถานะดังกล่าว ทำให้ หากข้อมูลเศรษฐกิจออกมาแย่กว่าคาด เช่น ข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ หรือ ดัชนี ISM PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการ ต่ำกว่าคาด ก็อาจทำให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงต่อได้
สำหรับฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติในส่วนตลาดบอนด์ เราเห็นสัญญาณการกลับมาซื้อบอนด์ระยะกลาง-ระยะยาว ซึ่งฟันด์โฟลว์ดังกล่าวอาจช่วยชะลอการอ่อนค่าของเงินบาทได้บ้าง
อีกปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อทิศทางค่าเงินบาท คือ โฟลว์ธุรกรรมทองคำ โดยเรายังคงเห็นทั้งแรงซื้อทองคำในจังหวะย่อตัว และโฟลว์ขายทำกำไรการรีบาวด์ของราคาทองคำ ตามแนวโน้มการเคลื่อนไหว sideway ของราคาทองคำในช่วงนี้
ในเชิงเทคนิคัล สัญญาณจากทั้ง RSI และ MACD ชี้ว่า โมเมนตัมฝั่งอ่อนค่าของเงินบาทเริ่มแผ่วลง ทำให้เรามองว่า เงินบาทอาจเคลื่อนไหว Sideway หรือ อาจทยอยแข็งค่าแบบ Sideway Down
มุมมองเศรษฐกิจทั่วโลก
1. ฝั่งสหรัฐฯ – ไฮไลท์สำคัญที่อาจส่งผลต่อมุมมองผู้เล่นในตลาดต่อทิศทางดอกเบี้ยนโยบายเฟด คือ รายงานข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ โดยนักวิเคราะห์ต่างมองว่า ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) อาจเพิ่มขึ้นราว 2 แสนตำแหน่ง ในเดือนมิถุนายน ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นเกือบ 3.4 แสนตำแหน่ง ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งการชะลอลงของการจ้างงานจะส่งผลให้อัตราการเติบโตของค่าจ้าง (Average Hourly Earnings) ทั้งนี้ หากยอดการจ้างงานออกมาสูงกว่าคาดมาก ก็อาจทำให้ ผู้เล่นในตลาดมองว่า เฟดมีโอกาสมากขึ้นที่จะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องในการประชุมเดือนกันยายน
โดยล่าสุด จาก CME FedWatch Tool ตลาดให้โอกาสเฟดขึ้นดอกเบี้ยในเดือนกรกฎาคม และเดือนกันยายน เราประเมินว่า ในกรณีดังกล่าว ที่ข้อมูลการจ้างงานนั้นออกมาดีกว่าคาดมาก เงินดอลลาร์มีโอกาสแข็งค่าขึ้นได้พอสมควร หากตลาดให้โอกาสเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยต่อในเดือนกันยายนไม่น้อยกว่า 40% ทั้งนี้ นอกเหนือจากรายงานข้อมูลตลาดแรงงาน ผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินทิศทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ผ่านรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตอุตสาหกรรมและภาคการบริการ (ISM Manufacturing & Services PMIs) ในเดือนมิถุนายน พร้อมกันนั้น ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตารายงานการประชุม FOMC ล่าสุด และถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด เพื่อประเมินแนวโน้มการปรับดอกเบี้ยนโยบายของเฟดในอนาคต
2. ฝั่งยุโรป – ตลาดประเมินว่า ยอดค้าปลีก (Retail Sales) เดือนพฤษภาคม ของยูโรโซน อาจขยายตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า หนุนโดยตลาดแรงงานที่ยังคงแข็งแกร่งและตึงตัว ทว่าปัญหาเงินเฟ้อสูงจะยังคงเป็นปัจจัยที่กดดันการใช้จ่ายของครัวเรือน แม้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจฝั่งยุโรปอาจมีไม่มากนัก แต่ผู้เล่นในตลาดก็จะรอติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) และธนาคารกลางยุโรป (ECB) เพื่อประเมินทิศทางนโยบายการเงินของทั้งสองธนาคารกลาง
3. ฝั่งเอเชีย – ตลาดคาดว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะได้แรงหนุนจากแนวโน้มภาคการผลิตอุตสาหกรรมและภาคการบริการที่ยังคงสดใส สะท้อนผ่านดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ ซึ่งสำรวจโดยธนาคารกลางญี่ปุ่น (Tankan Survey) ทั้งภาคการผลิตและภาคการบริการที่จะปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องในไตรมาสที่ 2 ทั้งในส่วนธุรกิจขนาดใหญ่และธุรกิจขนาดเล็ก-กลาง สำหรับนโยบายการเงินในฝั่งเอเชีย ตลาดมองว่า แนวโน้มการชะลอตัวลงของทั้งภาพรวมเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ อาจทำให้ ธนาคารกลางมาเลเซีย (BNM) และธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ตัดสินใจ “คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย” ไว้ที่ระดับ 3.00% และ 4.10% ตามลำดับ
4. ฝั่งไทย – เราคาดว่า ภาคการส่งออกที่หดตัวต่อเนื่องอาจส่งผลให้ ภาคการผลิตของไทยขยายตัวในอัตราชะลอลงมากขึ้น โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตในเดือนมิถุนายน อาจลดลงจากเดือนก่อนหน้า นอกจากนี้ ความกังวลต่อแนวโน้มการส่งออก ต้นทุนภาคธุรกิจที่อยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะต้นทุนดอกเบี้ยที่สูงขึ้น อาจกดดันให้ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจในเดือนมิถุนายน ลดลง อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวของภาคการบริการที่ดีขึ้นต่อเนื่องจะเป็นปัจจัยที่ช่วยพยุงความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ ควรติดตามสถานการณ์การเมืองไทยอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการโหวตเลือกประธานสภาฯ ซึ่งอาจสะท้อนถึงแนวโน้มการจัดตั้งรัฐบาลว่าจะมีความล่าช้าหรือไม่
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
7 เช็กลิสต์สังเกตโบรกเกอร์ Forex หลอกลวง
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมนโยบายการเงินประจำวันที่ 17-18 ธ.ค. ซึ่งระบุว่า บรรดาเจ้าหน้าที่เฟดได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อและผลกระทบที่อาจเกิดจากนโยบายของโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ
บทวิเคราะห์ทองคำ
รีวิวโบรกเกอร์ easyMarkets
HFM
FOREX.com
FXTM
Octa
Vantage
EC Markets
HFM
FOREX.com
FXTM
Octa
Vantage
EC Markets
HFM
FOREX.com
FXTM
Octa
Vantage
EC Markets
HFM
FOREX.com
FXTM
Octa
Vantage
EC Markets