简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ตุ๋นลงทุนธุรกิจ ! ลวงผู้เสียหาย โอนสินทรัพย์ดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์มบิทคับ มูลค่ากว่า 20 ล้าน
พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผู้บัญชาการสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ผบช.สอท.) สั่งการให้ขยายผลการจับกุม ผู้ต้องหาหลอกลงทุนธุรกิจเสียหายร่วม 20 ล้านบาท จากการสืบสวนพบว่ามีผู้เสียหายถูกผู้ต้องหาหลอกจนเชื่อใจยอมย้ายไปอยู่ด้วยกันกับหนึ่งในกลุ่มของผู้ต้องหา ระหว่างที่อยู่ด้วยกัน ด้วยความเชื่อใจผู้เสียหายได้ให้ข้อมูลรหัสผ่านในกระเป๋าเงินดิจิทัลของตนเองให้ผู้ต้องหา จนกระทั่งทางครอบครัวของผู้เสียหายติดตามจนเจอตัว จึงได้นำตัวผู้เสียหายกลับไปอยู่บ้านและไม่ได้ติดต่อกับทางกลุ่มผู้ต้องหาอีก
ต่อมาผู้เสียหายพบว่าอีเมลส่วนตัวมีการแจ้งเตือนการโอนสินทรัพย์ดิจิทัลออกจากแพลตฟอร์มไบแนนซ์ของผู้เสียหาย โอนไปที่แพลตฟอร์มบิทคับ มูลค่าประมาณร่วม 20 ล้านบาท จึงได้เข้าแจ้งความกับพนักงานสอบสวน กก.2 บก.สอท.1 และตำรวจสืบสวนยังพบว่า มีการโอนสินทรัพย์ดิจิทัลของผู้เสียหายออกไปจำนวน 20 ครั้ง
โดยเส้นทางการเงินทั้งหมดไปจบที่บัญชีของนายพลาวัฒน์ (สงวนนามสกุล) ซึ่งเชื่อว่าเป็นหัวหน้าขบวนการในการหลอกลวงครั้งนี้ และยังพบอีกว่ามีพฤติการณ์หลอกผู้เสียหายว่า ทำธุรกิจกับต่างประเทศ โดยอ้างว่าสามารถติดต่ออดีตผู้นำฟิลิปปินส์ได้ และสร้างความเชื่อถือให้ผู้เสียหายหลงเชื่อและร่วมลงทุนในธุรกิจ
ตำรวจจึงได้นำกำลังเข้าจับกุม นายพลาวัฒน์ อายุ 64 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญา ในความผิดฐาน “ร่วมกันเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตนและทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบโดยเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่บุคคลอื่นหรือทรัพย์สินของผู้อื่น และร่วมกันลักทรัพย์ และฟอกเงิน” อันเป็นความผิดพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 มาตรา 7 , 9 ,12/1และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 3 , 5 จากการสอบสวนเบื้องต้นนายพลาวัฒน์ ผู้ต้องหา ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา พร้อมระบุว่า เงินที่เข้าบัญชีส่วนตัวมานั้น เป็นเงินที่ผู้เสียหายร่วมลงทุนธุรกิจต่างประเทศด้วยความสมัครใจ ไม่ได้มีการแฮกข้อมูลหรือมีเจตนาหลอกลวงแต่อย่างใด
เตือนภัย ระมัดระวังไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวต่อบุคคลอื่น ประกอบด้วย
1) หมายเลขข้อมูลส่วนบุคคล เช่น เลขบัตรประชาชน, เลขหนังสือเดินทาง, เลขประจำตัวผู้เสียภาษี
2) ข้อมูลพิกัดที่อยู่อาศัย เบอร์โทรศัพท์ อีเมล
3) ข้อมูลธนาคาร เช่น เลขบัญชี, รหัส ATM, เลขบัตรเครดิต
4) ข้อมูลทางชีวมิติ เช่น ลายนิ้วมือ, ข้อมูลแสดงม่านตา
5) ข้อมูลอุปกรณ์ เช่น IP Address, Mac Address, Cookie ID
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html
ก่อนที่จะเลือกเทรดกับโบรกเกอร์ไหนก็ตาม แอดเหยี่ยวอยากให้ศึกษารายละเอียดให้ดีเสียก่อน จะได้ไม่มาเสียใจภายหลัง ถือว่าแอดเตือนแล้วนะ!!! ที่สำคัญอย่าลืมมาตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี !
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือแผน เป้าหมายของเราคือกำไรที่เราต้องการ ความเสี่ยงที่เรายอมรับได้ และความอดทน
ตั้งแต่มือใหม่ฟอเร็กซ์ไปจนถึงผู้เชี่ยวชาญการเทรด โอกาสเดียวเท่านั้น! เข้าร่วมกับเราในการท้าทายการเดินทางเพื่อความก้าวหน้าของผู้เริ่มต้น Forex และปลดล็อคศักยภาพของคุณ!
7 เช็กลิสต์สังเกตโบรกเกอร์ Forex หลอกลวง
เหมืองบิตคอยน์เถื่อน ลักลอบใช้ไฟหลวง
FXTM
Pepperstone
EC Markets
IC Markets Global
Vantage
Neex
FXTM
Pepperstone
EC Markets
IC Markets Global
Vantage
Neex
FXTM
Pepperstone
EC Markets
IC Markets Global
Vantage
Neex
FXTM
Pepperstone
EC Markets
IC Markets Global
Vantage
Neex