简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจสัปดาห์นี้
วันอังคารที่ 29 ส.ค. 2023
•21.00 น. : ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ (CB Consumer Confidence)
ตัวเลขครั้งก่อน 117.0 ตัวเลขคาดการณ์ 116.2
•21.00 น. : ตำแหน่งงานว่างเปิดใหม่สหรัฐฯ (JOLTS Job Openings)
ตัวเลขครั้งก่อน 9.58M ตัวเลขคาดการณ์ 9.70M
วันพุธที่ 30 ส.ค. 2023
• 19.15 น. : การเปลี่ยนแปลงการจ้างงานนอกภาคการเกษตรสหรัฐฯ (ADP Non-Farm Employment Change)
ตัวเลขครั้งก่อน 324K ตัวเลขคาดการณ์ 201K
•19.30 น. : ดัชนี GDP สหรัฐฯ (Prelim GDP q/q)
ตัวเลขครั้งก่อน 2.4% ตัวเลขคาดการณ์ 2.4%
วันพฤหัสบดีที่ 31 ส.ค. 2023
• 19.30 น. : ดัชนีราคาผู้บริโภคส่วนบุคคลสหรัฐฯ (Core PCE Price Index m/m)
ตัวเลขครั้งก่อน 0.2% ตัวเลขคาดการณ์ 0.2%
วันศุกร์ที่ 1 ก.ย. 2023
• 19.30 น. : ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯ (Non-Farm Employment Change)
ตัวเลขครั้งก่อน 187K ตัวเลขคาดการณ์ 169K
• 21.00 น. : ดัชนี PMI ภาคการผลิตสหรัฐฯ (ISM Manufacturing PMI)
ตัวเลขครั้งก่อน 46.4 ตัวเลขคาดการณ์ 46.9
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทยเปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นต่อ หลังผู้เล่นในตลาดเพิ่มโอกาสเฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยและโอกาสที่เฟดจะคงดอกเบี้ยที่ระดับสูงจนถึงไตรมาส 2 ปีหน้า
เงินดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่าขึ้นต่อ หลังผู้เล่นในตลาดยังคงเพิ่มโอกาสเฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยและโอกาสเฟดคงดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นาน แนวโน้มเงินดอลลาร์อาจขึ้นกับมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด รวมถึงบรรยากาศในตลาดการเงิน
หากบรรยากาศในตลาดการเงินยังไม่กลับมาอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยง เงินดอลลาร์ก็อาจยังคงแกว่งตัว sideway หรือ แข็งค่าขึ้นได้ ในกรณีที่ตลาดปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น และที่สำคัญ ต้องจับตาการปรับมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด โดยล่าสุด จาก CME FedWatch Tool ตลาดให้โอกาสราว 56% ที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยต่อ ซึ่งหากโอกาสการขึ้นดอกเบี้ยต่อ รวมถึงโอกาสเฟดคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูง เพิ่มขึ้นอีก ก็อาจหนุนให้เงินดอลลาร์ปรับตัวขึ้น พร้อมกับบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ได้
• ฝั่งสหรัฐฯ – ผู้เล่นในตลาดเพิ่มโอกาสเฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยและโอกาสเฟดคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นาน (Higher for Longer) หลังถ้อยแถลงของประธานเฟดและบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดในงานสัมมนาวิชาการประจำปีของเฟดที่ Jackson Hole ยังคงส่งสัญญาณว่า เฟดพร้อมเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อ หากจำเป็น เพื่อให้มั่นใจว่าเฟดสามารถคุมปัญหาเงินเฟ้อได้สำเร็จ ซึ่งเรามองว่า หนึ่งในปัจจัยที่อาจส่งผลต่อการดำเนินนโยบายการเงินของเฟด คือ ภาวะตลาดแรงงานที่เริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวลง โดยสำหรับข้อมูลตลาดแรงงานในเดือนสิงหาคมนั้น นักวิเคราะห์ต่างประเมินว่า ยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม (Nonfarm Payrolls) อาจเพิ่มขึ้น 168,000 ราย ลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า ส่วนอัตราการเติบโตของค่าจ้าง (Average Hourly Earnings) ก็อาจชะลอลงสู่ระดับ +0.3%m/m หรือ +4.3%y/y ขณะที่อัตราการว่างงานอาจทรงตัวที่ระดับ 3.5% เรามองว่า หากข้อมูลตลาดแรงงานสหรัฐฯ ออกมาตามที่นักวิเคราะห์ประเมิน อาจไม่ได้หนุนให้เฟดจำเป็นต้องเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง แต่อาจทำให้เฟดสามารถคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงได้นาน จนกว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวลงมากขึ้น
• ฝั่งยุโรป – เราคงมุมมองเดิมว่า ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยอีก +25bps สู่ระดับ 4.00% สำหรับ Deposit Facility Rate โดยเฉพาะหาก อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน Core CPI ของยูโรโซน ในเดือนสิงหาคม ยังคงอยู่ที่ระดับ 5.3% ตามที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ ซึ่งเรามั่นใจในมุมมองดังกล่าวมากขึ้น หลังถ้อยแถลงของประธาน ECB และเจ้าหน้าที่ ECB ส่วนใหญ่ ในงานสัมมนาวิชาการประจำปีของเฟดที่ Jackson Hole ยังคงส่งสัญญาณสนับสนุนการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อ ตราบใดที่อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง แม้ว่าเศรษฐกิจยูโรโซนอาจเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวลงก็ตาม
• ฝั่งเอเชีย – ภาพรวมเศรษฐกิจจีนจะยังคงซบเซาต่อเนื่อง สะท้อนผ่านดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคการบริการ เดือนสิงหาคม ที่อาจลดลงสู่ระดับ 49 จุด และ 50.9 จุด ตามลำดับ นอกจากนี้ ภาพดังกล่าวจะยิ่งชี้ว่า ทางการจีนจำเป็นต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วนเพื่อลดความเสี่ยงที่เศรษฐกิจอาจชะลอตัวลงหนัก ทั้งนี้ หากรายงานดัชนี PMI ออกมาย่ำแย่กว่าที่ตลาดคาด จะยิ่งกดดันให้เงินหยวนอ่อนค่าลงต่อได้ ซึ่งในกรณีดังกล่าว ก็อาจส่งผลกระทบต่อสกุลเงินเอเชียได้เช่นกัน ทางฝั่งญี่ปุ่น แนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจอาจยังดูสดใส หนุนโดยการฟื้นตัวต่อเนื่องของการท่องเที่ยวและการบริโภคในประเทศ ขณะเดียวกันภาคการผลิตในส่วนยานยนต์ก็เริ่มกลับมาฟื้นตัวดีขึ้น หลังปัญหาด้าน Supply-Chain ได้คลี่คลายลง
• ฝั่งไทย – ภาคการผลิตของไทยอาจชะลอตัวลงมากขึ้น ท่ามกลางความต้องการสินค้าจากประเทศคู่ค้าที่ลดลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจ โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนสิงหาคมอาจลดลงสู่ระดับ 50 จุด สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ (Business Sentiment) เดือนสิงหาคม ที่อาจลดลงสู่ระดับ 48.8 จุด ท่ามกลางสถานการณ์การเมืองที่มีความไม่แน่นอน ทั้งนี้ ความเชื่อมั่นภาคธุรกิจอาจฟื้นตัวดีขึ้นในเดือนกันยายน หลังการจัดตั้งรัฐบาลผสมเสร็จสิ้นลง
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมนโยบายการเงินประจำวันที่ 17-18 ธ.ค. ซึ่งระบุว่า บรรดาเจ้าหน้าที่เฟดได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อและผลกระทบที่อาจเกิดจากนโยบายของโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ
บทวิเคราะห์ทองคำ
รีวิวโบรกเกอร์ easyMarkets
บทเรียนจากประสบการณ์เทรด Forex เกือบ 10 ปีของนักเทรดเน้นว่า เครื่องมือเยอะไม่ได้ช่วยเทรดรอด แต่ควรมีระบบที่ถนัด, การแก้พอร์ตมักเสี่ยงเสียหายหนัก แนะนำตั้ง SL, มือใหม่ควรเริ่มด้วยทุนน้อยเพื่อเรียนรู้ตลาดที่ต้องใช้เวลานิ่ง, และระวังกลุ่มมิจฉาชีพหรือโค้ชปลอมที่หลอกลวงผ่านโบรกเถื่อนและการสร้างภาพ ความระมัดระวังและการเรียนรู้ด้วยตัวเองคือสิ่งสำคัญ
GO MARKETS
Neex
FxPro
FP Markets
IQ Option
EC Markets
GO MARKETS
Neex
FxPro
FP Markets
IQ Option
EC Markets
GO MARKETS
Neex
FxPro
FP Markets
IQ Option
EC Markets
GO MARKETS
Neex
FxPro
FP Markets
IQ Option
EC Markets