简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:วันนี้แอดเหยี่ยวนำบทความดี ๆ จากคุณ Alice Veronica มาฝากกันอีกแล้ว โดยเนื้อหาในครั้งนี้คือเรื่อง “ Wyckoff Logic EP.2 ”
วันนี้แอดเหยี่ยวนำบทความดี ๆ จากคุณ Alice Veronica มาฝากกันอีกแล้ว โดยเนื้อหาในครั้งนี้คือเรื่อง “ Wyckoff Logic EP.2”
Wyckoff Logic เป็นเเนวคิดที่ใช้ตีความวัฏจักรของกราฟราคา
โดยเราจะเเบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้เเก่
• ระยะสะสม (Accumulation Phase)
• ระยะเติบโต (Mark Up Phase)
• ระยะกระจาย (Distribution Phase)
• ระยะถดถอย (Mark Down Phase)
Phase A
• PS (Preliminary Support) คือ อาจเป็นช่วงขาลงระยะสุดท้าย
• SC (Selling Climax) คือ การฟราคาเทลงมาอย่างรุนแรง
• AR (Automatic Rally) คือ แรงขายเริ่มหมด มี Demand เข้าซื้อ
• ST (Secondary Test) คือ การย่อลงมา
Phase B
• ST (Secondary Test in Phase B) คือ ราคาแกว่งตัวอย่างรุนแรงเป็น Sideway
Phase C
• Spring คือ ราคาถูกกดไปต่ำกว่า Low เดิมให้เราอยากขาย
• Test คือ ทดสอบตลอดจากแรงขาย กลับไป Test แนวรับเดิม
Phase D
• LPS (Last Point of Support) คือ ย่อแล้วยก Low ขึ้นไป
• SOS (Sign of Strength) คือ ยืนเหนือแนวต้านได้
• BU (Back UP) คือ มีแรงเทขาย ย่อลงมาไม่ลึกมาก
• Preliminary Support (PS) ลักษณะจะเป็นการชะลอตัวลงของราคา และคือจุดที่เริ่มมีแรงซื้อกลับคืนเพราะคาดว่าราคาลงมาจุดต่ำสุดแล้ว
• Selling Climax (SC) จุดสังเกตก็คือหลังจากที่ผ่านจุด PS ลงมาเเล้ว Selling Climax (SC)จะมีลักษณะที่ราคาร่วงหนักอีกครั้งเป็นเเท่งเทียนยาวๆพร้อมกับปริมาณการซื้อขายVolumeที่สูงมากๆ
• Automatic Rally(AR) ต่อมาหลักจากที่เกิดSC นั้นพอเเรงขายเริ่มหมดลงได้มี Demand เข้ามาซื้อทำให้เกิดการฟื้นตัวเเละพุ่งสูงขึ้นขึ้นไปทำจุด Automatic Rally(AR) จุดAR เราจะตีเป็นเเนวต้านไว้
• Secondary Test (ST) หลังจากที่พุ่งขึ้นไปทำ AR ราคาได้กดตัวร่วงลงมาซึ่งมีโอกาสที่จะลงต่ำกว่าSC ถ้าเป็นกรณีนี้หากมีการร่วงลงต่ำกว่าจุดSC อาจจะต้องสะสมเเรงซื้อใหม่อีกครั้ง
จุดสังเกตของPhase B คือจังหวะที่มีการซื้อสะสมเพื่อรอแนวโน้มขาขึ้นรอบใหม่ เกิดเป็น Sideway ระยะหนึ่ง และแกว่งตัวค่อนข้างรุนแรง พร้อมปริมาณการซื้อขายที่มหาศาลเพราะนักลงทุนรายใหญ่ต้องการเขย่าราคาให้นักลงทุนรายย่อยขายสินทรัพย์ออกมาเพื่อที่จะซื้อสะสมในราคาถูก เมื่อราคาเริ่มมีการเหวี่ยงตัวน้อยลง พร้อมกับปริมาณการซื้อขายที่เบาลง ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณว่าSupply หรือเเรงขายกำลังจะหมดลงแล้ว พร้อมที่จะเข้าสู่ Phase C
จุดสังเกตของ Phase C หลังจากที่เราผ่านช่วงสะสมของถูกไปที่เรียบร้อยเเล้ว ในPhase C นี้จะเป็นช่วงทดสอบเเรงเทขายอีกครั้งให้ระวังเพราะ ราคาก็จะร่วงทะลุแนวรับเดิมลงมา แล้วเด้งกลับขึ้นมาอยู่ในกรอบ Trading Range ในเวลาอันสั้นแบบนี้เรียกว่า Springในระยะเวลาสั้นๆ ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างกับดักหมีหรือ Bull trap เพราะงั้นช่วงที่จะเกิด Springคือช่วงที่มีการเทขายออกมาอย่างหนักทำให้บีบ นักลงทุนรายย่อยอย่างเราให้เทขายหุ้นออกมา เพราะงั้นจุดนี้อย่าพึ่งตกใจนะคะ
Back-up (BU) คือจุดที่ราคาจะต้องพุ่งทะยานทะลุผ่านกรอบแนวต้าน (Trading Range) ขึ้นไปได้สำเร็จพร้อมกับปริมาณการซื้อขายที่สูงมาก แม้ราคาจะพุ่งขึ้นไปได้อย่างร้อนแรง และมีการเทขาย ก็ไม่ต้องตกใจเนื่องจากเป็นธรรมชาติของการลงทุน
(เมื่อราคาวิ่งขึ้นไปมาก การถูกเทขายเพื่อทำกำไรถือเป็นเรื่องปกติ)
Last point of support (LPS) คือช่วงที่ราคาฟื้นตัวจากจุด Low ก่อนหน้านี้ และ เป็นการพุ่งทะยานขึ้นไปอย่างต่อเนื่องจนถึงจุด ๆ หนึ่งที่อาจเป็นจุดสูงสุด (Peak) ของรอบนี้ และกลายเป็นจุด SOS
Sign of Strength (SOS) จะเกิดขึ้นหลังจากที่ราคาขึ้นมาถึงจุดสูงสุด และร่วงลงไปเพื่อทดสอบแรงขาย แล้วถ้าราคาก็สามารถยืนเหนือแนวรับได้ ก็จะเป็นสัญญาณของขาขึ้น
จุดสังเกตในการเทรด Wyckoff Logic
1.ราคาได้ทิ้งตัวลงมา เราเรียกว่า Mark Down ระยะถดถอย
2.หลังจากนั้นราคาได้มีการออกข้างพักตัวเป็นกรอบสะสม เราเรียกว่า Accimation Phase หรือระยะสะสมจะมีลักษณะที่ทำ High และ Low ที่ใกล้เคียงกัน
3.ปัจจุบันพอกราฟเข้าสู่ระบบ ระยะสะสมแล้วเราจะรอเฟสต่อไป
4.จุดสังเกตต่อไปคือเราจะให้เกิด Mark Up Phase คือ การรอให้ราคา Breakout กรอบระยะสะสมขึ้นมา
จุดสังเกตต่อไปคือเราจะรอให้เกิด Mark Up Phase คือ การรอให้ราคา Breakout กรอบระยะสะสม ขึ้นมา
• กราฟได้มีการ Breakout กรอบสะสมขึ้นมา เราจึงพิจารณา Buy
• ในกรณีนี้เราจะใช้ Volumn ปัจจัยพื้นฐาน ชี้วัดอื่น ๆ เข้ามาช่วยกรองก็ได้
• เราจะรู้ได้อย่างไรว่ากราฟจะไปต่อ คำตอบคือไม่รู้ แต่ให้ทำตามระบบพอ ถ้ากราฟเข้าสู่ Mark Up Phase เรามีหน้าที่เข้าตามระบบ ถ้ากราฟไปได้กำไร ถ้ากราฟไม่ไปก็แค่ Stop Loss
ในระยะเติบโต หรือ Mark Up Phase
• หลังจากที่กราฟ Breakout ระยะสะสมขึ้นมา ราคาได้มีการทำ Higher High และ Lower High ตามหลัก Uptrend ของ Dow Theory
• ในระยะเติบโตนี้จะดึงดูดให้นักลงทุนเข้ามาเยอะ ทำให้ Demand เพิ่มขึ้น
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่ากราฟจะขึ้นต่อไปเรื่อย ๆ ของในกรอบ Mark Up
• ก็คือกราฟยก Low และ High ขึ้นเรื่อย ๆ
• เราเห็น Zone1 ไหม ถ้ากราฟลงทะลุโซนนี้คือ โอกาสที่จะไปต่อมีน้อยลง
• ถ้ากราฟทะลุ Zone ที่ 2 ได้ กราฟก็จะมีโอกาสไปต่อน้อยลง
ทรงกราฟราคาของระยะนี้ ก็จะคล้าย ๆ กับระยะสะสม แต่มาอยู่ข้างบนแทน ลักษณะจะมีการพักตัวและทำ High และ Low ที่ใกล้เคียงกันหรือมีการพักตัวที่นาน
ในจุดของ Buying Climax จะสังเกตยากหน่อย เพราะเป็นสภาวะราคาที่มีการเข้าไปไล่ Buy จำนวนมากของรายย่อย ในระยะเวลาอันรวดเร็วและเป็นจุดที่รายใหญ่จะเทขายออกมาให้
หลังจากราคามีการทำกรอบ Sideway จนราคาไหลทะลุหลุดกรอบ Sideway ลงมา ราคาที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ก็จะทำตามหลัก Downtrend ของ Sideway ลงมา ราคาที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ก็จะทำตามหลัก Downtrend ของ Dow Theory เลย คือทำ Lower High และ Lower Low คือทำจุดสูงสุด และจุดต่ำสุด ที่ลดลงเรื่อย ๆ และรอวันที่เกิด Selling Climax เพื่อเข้าสู่ระยะเพื่อรอเริ่มใหม่ต่อไป
ขอขอบคุณข้อมูลดีดีจากเพจ Alice Veronica
แอดเหยี่ยวหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย และที่สำคัญก่อนที่จะเลือกเทรดกับโบรกเกอร์ไหนก็ตาม แอดอยากให้ศึกษารายละเอียดให้ดีเสียก่อน จะได้ไม่มาเสียใจภายหลัง ถือว่าแอดเตือนแล้วนะ!!! อย่าลืมมาตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี !
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
กฎสำคัญของการเทรดแบบ Scalping 1.ใช้กลยุทธ์ Scalping ที่มีคุณภาพ 2.หาจุดคุ้มทุน (Break-even stops) 3.อย่าคิดว่าการเทรดบ่อย ๆ จะทำให้ได้เงินเยอะ 4.ติดตามกลยุทธ์การเทรด 5.ปฏิบัติตามแผนกลยุทธ์การเทรดที่วางไว้ 6.เทรดด้วยอัตราการชนะที่มากกว่า 7.ใช้กรอบเวลาที่เหมาะสม 8.เริ่มต้นเล็ก ๆ ก่อน 9.เชี่ยวชาญในโครงสร้างตลาด 10.ฝึกฝนการเทรดทุกวัน
สเปรดมีความสำคัญต่อเทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์เนื่องจากมีผลต่อต้นทุนการเทรดโดยตรง สเปรดที่ต่ำช่วยลดต้นทุนและรักษากำไรได้มากขึ้น โดยเฉพาะเทรดเดอร์ที่เทรดบ่อยหรือในปริมาณมาก สเปรดที่สูงสามารถลดกำไรเมื่อเวลาผ่านไป เทรดเดอร์ที่ใช้กลยุทธ์ Scalping และ Day Trading จะไวต่อสเปรดสูง เนื่องจากอาจลดหรือทำให้กำไรหายไป การเลือกโบรกเกอร์ที่มีสเปรดต่ำจึงสำคัญ ความผันผวนของตลาดอาจทำให้สเปรดกว้างขึ้น เทรดเดอร์มักเลือกเทรดในช่วงสภาพคล่องสูงและใช้คำสั่ง Limit เพื่อลดต้นทุน สุดท้าย การเลือกโบรกเกอร์ที่มีบัญชี ECN และการหลีกเลี่ยงข่าวผันผวนช่วยจัดการความเสี่ยงได้ดีขึ้น
บทวิเคราะห์บิตคอยน์
บทความนี้ชวนผู้อ่านสำรวจตนเองว่ากำลังเสพติดการเทรดหรือไม่ โดยชี้ให้เห็นสัญญาณสำคัญที่แสดงถึงการเสพติด เช่น การเพิ่มความเสี่ยงโดยไม่มีแผน หมกมุ่นกับการติดตามข้อมูล ละเลยกิจกรรมอื่น ๆ เทรดด้วยอารมณ์ และประสบความเครียดเมื่อไม่ได้เทรด การตระหนักถึงสัญญาณเหล่านี้จะช่วยป้องกันผลกระทบต่อการเงิน ความสัมพันธ์ และสุขภาพกายใจ
FxPro
TMGM
Tickmill
STARTRADER
ATFX
FBS
FxPro
TMGM
Tickmill
STARTRADER
ATFX
FBS
FxPro
TMGM
Tickmill
STARTRADER
ATFX
FBS
FxPro
TMGM
Tickmill
STARTRADER
ATFX
FBS