简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจสัปดาห์นี้
วันอังคารที่ 16 ม.ค. 2024
•20.30 น. : ดัชนีภาคการผลิตเขตนิวยอร์กสหรัฐฯ (Empire State Manufacturing Index)
ตัวเลขครั้งก่อน -14.5 ตัวเลขคาดการณ์ -4.9
วันพุธที่ 17 ม.ค. 2024
•20.30 น. : ดัชนีค้าปลีกพื้นฐานสหรัฐฯ (Core Retail Sales m/m)
ตัวเลขครั้งก่อน 0.2% ตัวเลขคาดการณ์ 0.2%
•20.30 น. : ดัชนีค้าปลีกสหรัฐฯ (Retail Sales m/m)
ตัวเลขครั้งก่อน 0.3% ตัวเลขคาดการณ์ 0.4%
วันพฤหัสบดีที่ 18 ม.ค. 2024
•20.30 น. : ตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯ (Unemployment Claims)
ตัวเลขครั้งก่อน 202K ตัวเลขคาดการณ์ 204K
วันศุกร์ที่ 19 ม.ค. 2024
•22.00 น. : ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคมิชิแกนสหรัฐฯ (Prelim UoM Consumer Sentiment)
ตัวเลขครั้งก่อน 69.7 ตัวเลขคาดการณ์ 69.3
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทยเปิดเผยว่า
สัปดาห์ที่ผ่านมา การปรับมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ และของไทย ได้ส่งผลให้เงินบาทผันผวนอ่อนค่าลง
รอลุ้น รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ และจีน พร้อมจับตา ถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด และการแถลง Policy Briefing ของธนาคารแห่งประเทศไทย
เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นได้ หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงออกมาดีกว่าคาด และถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดต่างย้ำจุดยืนไม่รีบลดดอกเบี้ย จนกว่าจะคุมเงินเฟ้อได้สำเร็จ จนทำให้ผู้เล่นในตลาดทยอยปรับลดความคาดหวังการลดดอกเบี้ยของเฟด ในส่วนของค่าเงินบาท แม้ว่าการอ่อนค่าอาจเริ่มชะลอลง หลังราคาทองคำรีบาวด์ขึ้น จากสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่ทวีความร้อนแรงขึ้น ทว่า เงินบาทอาจผันผวนไปตามการปรับมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายของไทย ซึ่งต้องติดตามการแถลง Policy Briefing ของธปท. ในวันจันทร์นี้ และนอกเหนือจากปัจจัยดังกล่าว ควรรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของจีน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อทิศทางเงินหยวนจีน (CNY) และสกุลเงินเอเชีย ได้พอสมควร
1. ฝั่งสหรัฐฯ – ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้น รายงานยอดค้าปลีก (Retail Sales) รวมถึงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยมหาวิทยาลัยมิชิแกน (U of Michigan Consumer Sentiment) โดยหากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ดังกล่าวยังคงสะท้อนภาพเศรษฐกิจที่ยังแข็งแกร่ง ก็อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดทยอยปรับลดความคาดหวังต่อแนวโน้มการทยอยลดดอกเบี้ยของเฟด ที่ “เร็วและลึก” ทั้งนี้ เรามองว่า ผู้เล่นในตลาดจะกลับมาให้ความสนใจ รายงานสรุปสภาวะเศรษฐกิจจากบรรดาเฟดสาขาต่างๆ (Fed Beige Book) ซึ่งจะช่วยสะท้อนแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้ดี นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตาม ถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะ Voter ในการประชุม FOMC อาทิ Christopher Waller, Michael Barr, Michelle Bowman, John Williams, Raphael Bostic และ Mary Daly และนอกเหนือจากปัจจัยข้างต้น เราคาดว่า ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้น รายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนในสหรัฐฯ โดยเฉพาะสถาบันการเงิน ทั้งขนาดใหญ่ และสถาบันการเงินภูมิภาค โดยอาจมีประเด็นสำคัญอยู่ที่ การตั้งสำรองหนี้เสีย รวมถึงสภาพคล่องของสถาบันการเงินขนาดเล็ก-กลาง
2. ฝั่งยุโรป – บรรดาผู้เล่นในตลาดจะรอประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจของอังกฤษ และทิศทางนโยบายการเงินของธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ผ่านรายงานข้อมูลเศรษฐกิจ อาทิ อัตราเงินเฟ้อ CPI และยอดค้าปลีก (Retail Sales) นอกจากนี้ ถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) จะเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มนโยบายการเงินของทั้ง ECB และ BOE ทั้งนี้ ผู้เล่นในตลาดเริ่มประเมินว่า ECB และ BOE อาจทยอยลดดอกเบี้ยลงได้เร็วกว่าเฟด ซึ่งมุมมองดังกล่าวก็เป็นปัจจัยที่กดดันทั้งเงินยูโร (EUR) และเงินปอนด์อังกฤษ (GBP)
3. ฝั่งเอเชีย – ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของจีน อาทิ อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 รวมถึง ยอดค้าปลีก (Retail Sales), ยอดผลผลิตอุตสาหกรรม (Industrial Production) ในเดือนธันวาคม โดยหากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจจีนสะท้อนภาพการฟื้นตัวที่ดีขึ้น ก็อาจช่วยหนุนให้ผู้เล่นในตลาดกล้าเปิดรับความเสี่ยงสินทรัพย์จีนมากขึ้น ทำให้เงินหยวนจีน (CNY) ทยอยแข็งค่าขึ้นได้บ้าง ซึ่งภาพดังกล่าวก็อาจช่วยหนุนการแข็งค่าของสกุลเงินเอเชียเช่นกัน นอกจากนี้ ตลาดจะรอจับตา รายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ของญี่ปุ่น ในเดือนธันวาคม โดยหากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่รวมผลของราคาพลังงานและอาหารสด (Core-Core CPI) ยังคงอยู่แถว 3.7% ก็อาจเป็นปัจจัยที่สนับสนุนแนวโน้มการทยอยปรับใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ในปีนี้
4. ฝั่งไทย – ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่การแถลง BOT Policy Briefing ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ราว 10.00 น. ของวันจันทร์ที่ 15 มกราคม นี้ โดยเราคาดว่า ธปท. จะพยายามสื่อสารกับผู้เล่นในตลาดและประชาชนว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันที่ระดับ 2.50% ถือว่า เป็นระดับที่ “เหมาะสม” ต่อแนวโน้มเศรษฐกิจดังกล่าว นอกจากนี้ ธปท. อาจมีการเน้นย้ำว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยนั้นอยู่ในระดับต่ำ จากปัจจัยด้านอุปทานและมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของรัฐเป็นหลัก ทำให้ ธปท. ยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อนึ่ง เราจะจับตาอย่างใกล้ชิด ว่า ธปท. จะเน้นการสื่อสารว่า พร้อมปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ตามความเหมาะสม หรือไม่ เพราะหาก ธปท. เน้นการสื่อสารดังกล่าว ก็อาจประเมินได้ว่า ธปท. เริ่มเห็นความเสี่ยงด้านลบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อมากขึ้น ทำให้เราอาจเพิ่มโอกาสที่ ธปท. จะสามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ ทั้งนี้ เรายังคงมุมมองเดิมว่า ธปท. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ ที่ระดับ 2.50% จนกว่าแนวโน้มเศรษฐกิจไทยจะแย่ลงชัดเจน
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
.
เปิดประสบการณ์การเทรดที่มีประสิทธิภาพ ด้วยแอปพลิเคชัน Wikitrade ดาวน์โหลดตอนนี้รับบัญชีเทรดทดลอง 100,000 USD ไม่ว่าคุณจะเป็นเทรดเดอร์มือใหม่หรือมีประสบการณ์มาก่อน Wikitrade จะพาคุณไปสู่โลกของการลงทุนอย่างมืออาชีพ!
ดาวน์โหลด WikiTrade เลย : https://wikitrade.onelink.me/kGMJ/1dvgd5o3
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือแผน เป้าหมายของเราคือกำไรที่เราต้องการ ความเสี่ยงที่เรายอมรับได้ และความอดทน
ตั้งแต่มือใหม่ฟอเร็กซ์ไปจนถึงผู้เชี่ยวชาญการเทรด โอกาสเดียวเท่านั้น! เข้าร่วมกับเราในการท้าทายการเดินทางเพื่อความก้าวหน้าของผู้เริ่มต้น Forex และปลดล็อคศักยภาพของคุณ!
7 เช็กลิสต์สังเกตโบรกเกอร์ Forex หลอกลวง
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมนโยบายการเงินประจำวันที่ 17-18 ธ.ค. ซึ่งระบุว่า บรรดาเจ้าหน้าที่เฟดได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อและผลกระทบที่อาจเกิดจากนโยบายของโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ
Tickmill
FP Markets
EC Markets
XM
Pepperstone
TMGM
Tickmill
FP Markets
EC Markets
XM
Pepperstone
TMGM
Tickmill
FP Markets
EC Markets
XM
Pepperstone
TMGM
Tickmill
FP Markets
EC Markets
XM
Pepperstone
TMGM