简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ: บทวิเคราะห์ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร (30 ก.ค.) ก่อนที่นักลงทุนจะรู้ผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด), ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) และธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ในสัปดาห์นี้ รวมถึงรอการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐในวันศุกร์นี้ด้วย
ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.01% แตะที่ระดับ 104.555
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 153.27 เยน จากระดับ 153.98 เยนในวันจันทร์ (29 ก.ค.) นอกจากนี้ ดอลลาร์ยังอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.8837 ฟรังก์ จากระดับ 0.8863 ฟรังก์ และอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.3851 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3852 ดอลลาร์แคนาดา
ส่วนยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.0811 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0822 ดอลลาร์ และเงินปอนด์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.2833 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2864 ดอลลาร์
นักลงทุนจับตาผลการประชุมเฟดในวันนี้ตามเวลาสหรัฐ (31 ก.ค.) โดยตลาดคาดการณ์ว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมครั้งนี้ และคาดว่าเฟดจะส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนก.ย.
ทางด้าน BOJ จะแถลงมติการประชุมในวันนี้เช่นกัน โดยนักเศรษฐศาสตร์ในโพลสำรวจของสำนักข่าวรอยเตอร์คาดการณ์ว่า BOJ จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นสู่ระดับ 0.1% จากปัจจุบันที่ระดับ 0% - 0.1% ขณะที่นักวิเคราะห์จาก ING คาดการณ์ว่า BOJ จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับ 0.15% และนักวิเคราะห์จากแบงก์ ออฟ อเมริกาคาดการณ์ว่า BOJ อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสู่ระดับสูงถึง 0.25%
ส่วนธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) จะประชุมในวันพฤหัสบดีนี้ ซึ่งนักลงทุนคาดว่ามีโอกาสมากกว่า 58% ที่ BoE จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง
สหรัฐเปิดเผยตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) เมื่อคืนนี้ โดยระบุว่าตัวเลขการเปิดรับสมัครงาน ซึ่งเป็นมาตรวัดอุปสงค์ในตลาดแรงงาน ลดลง 46,000 ตำแหน่ง สู่ระดับ 8.18 ล้านตำแหน่งในเดือนมิ.ย. จากระดับ 8.23 ล้านตำแหน่งในเดือนพ.ค. อย่างไรก็ดี ตัวเลขการเปิดรับสมัครงานเดือนมิ.ย.อยู่ในระดับสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ 8.0 ล้านตำแหน่ง
ทั้งนี้ ตัวเลข JOLTS นับเป็นข้อมูลที่เฟดให้ความสนใจ โดยมองว่าเป็นมาตรวัดภาวะตึงตัวในตลาดแรงงาน ซึ่งเป็นปัจจัยในการพิจารณานโยบายการเงินและอัตราดอกเบี้ยของเฟด
นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนก.ค.ของสหรัฐในวันศุกร์นี้ โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตัวเลขจ้างงานจะเพิ่มขึ้น 177,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค. จากระดับ 206,000 ตำแหน่งในเดือนมิ.ย. และคาดว่าอัตราว่างงานจะทรงตัวที่ระดับ 4.1% ในเดือนก.ค.
ขอบคุณสำนักข่าวอินโฟเควสท์
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
แม้ว่า MBTI จะไม่ได้เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จในการลงทุนโดยตรง แต่การเข้าใจบุคลิกภาพของตนเองสามารถช่วยให้เลือกกลยุทธ์และรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมกับนิสัยและความต้องการของเราได้
ทั้งเงินเฟ้อและเงินฝืดต่างก็มีผลกระทบที่แตกต่างกันในมุมมองนักเทรด แต่สิ่งสำคัญคือการเข้าใจสภาพตลาดและปรับพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสม ถ้าเงินเฟ้อมาสูง เราต้องมองหาสินทรัพย์ที่รักษามูลค่าได้ แต่ถ้าเงินฝืดมาแรง การถือเงินสดหรือสินทรัพย์ปลอดภัยอาจเป็นทางรอด หมั่นติดตามข่าวเศรษฐกิจและปรับกลยุทธ์ให้ทัน เกมเศรษฐกิจแบบนี้ ถ้ารู้ทัน เราก็ชนะ!
บทวิเคราะห์อทองคำ
หลังทรัมป์รับตำแหน่งตลาดการเงินเป็นอย่างไรบ้าง บล.เอเซียพลัส ชี้ความกังวลที่ดูผ่อนคลายมากขึ้น หนุนให้เม็ดเงินไหลเข้าสู่สินทรัพย์เสี่ยง มองถ้าสหรัฐอเมริกาไม่ดุดัน ตลาดหุ้นไทยจะค่อย ๆ ดีขึ้น
EC Markets
Vantage
TMGM
FXTM
ATFX
FXCM
EC Markets
Vantage
TMGM
FXTM
ATFX
FXCM
EC Markets
Vantage
TMGM
FXTM
ATFX
FXCM
EC Markets
Vantage
TMGM
FXTM
ATFX
FXCM