简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:บทวิเคราะห์ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (5 ส.ค.) หลังจากนักลงทุนมีความเชื่อมั่นมากขึ้นว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยแรงถึง 0.50% ในการประชุมเดือนก.ย. หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขจ้างงานที่อ่อนแอ
ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.5% แตะที่ระดับ 102.689
ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 143.51 เยน จากระดับ 146.49 เยนในวันศุกร์ (2 ส.ค.) นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับฟรังก์สวิส ที่ระดับ 0.8507 ฟรังก์ จากระดับ 0.8590 ฟรังก์ และอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์แคนาดา ที่ระดับ 1.3832 ดอลลาร์แคนาดา จากระดับ 1.3869 ดอลลาร์แคนาดา
ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.0951 ดอลลาร์ จากระดับ 1.0913 ดอลลาร์ในวันศุกร์ ส่วนเงินปอนด์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.2757 ดอลลาร์ จากระดับ 1.2806 ดอลลาร์
สหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอในสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึงตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรที่ต่ำกว่าคาด และอัตราว่างงานที่พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 3 ปี
นักลงทุนมองว่าความอ่อนแอของเศรษฐกิจสหรัฐเกิดจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยช้าเกินไป โดยล่าช้ากว่าธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ที่ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยไปก่อนหน้านี้ ขณะที่เฟดยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25-5.50% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า 23 ปี
ล่าสุด FedWatch Tool ของ CME บ่งชี้ว่านักลงทุนให้น้ำหนักมากกว่า 86% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมวันที่ 17-18 ก.ย. และให้น้ำหนักเพียง 14% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมวันดังกล่าว
เงินเยนแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง หลังจากธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสู่ระดับ 0.25% นายคาซูโอะ อุเอดะ ผู้ว่าการ BOJ ยังคงแสดงความเห็นเชิงรุกเกี่ยวกับนโยบายการเงินในระหว่างการแถลงข่าวภายหลังการประชุมเมื่อวันที่ 31 ก.ค. โดยกล่าวว่า “หากเศรษฐกิจและเงินเฟ้อมีความเคลื่อนไหวสอดคล้องกับการคาดการณ์ของ BOJ เราก็จะยังคงเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป”
สำหรับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่มีการเปิดเผยเมื่อคืนนี้ สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคบริการของสหรัฐปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 51.4 ในเดือนก.ค. โดยฟื้นตัวขึ้นจากระดับ 48.8 ในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปี และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 51.0 โดยได้รับแรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของคำสั่งซื้อใหม่และการจ้างงาน
ขอบคุณสำนักข่าวอินโฟเควสท์
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย :https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
การใช้ Sentiment Analysis เป็นการเทรดที่มีความทันสมัยและเต็มไปด้วยศักยภาพในการทำกำไรจากข้อมูลที่อาจมองข้ามได้ในตลาดดั้งเดิม ด้วยความสามารถในการวิเคราะห์ความคิดเห็นและความรู้สึกของนักลงทุนในช่วงเวลาต่างๆ Sentiment Analysis ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถจับจังหวะการเคลื่อนไหวของตลาดและทำกำไรจากการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ในตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความโลภอาจเป็นสิ่งที่ผลักดันให้คุณไปสู่การทำกำไรที่สูงขึ้น แต่ในทางกลับกันมันก็สามารถทำให้คุณหลุดออกจากเส้นทางการเทรดที่มีระเบียบได้อย่างง่ายดาย การยอมรับความเสี่ยง การตั้งขีดจำกัดในการเทรด และการรักษาวินัยในตัวเองจะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงปัญหาที่เกิดจากความโลภ และสามารถเทรดได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว
เหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจ
ความมั่นใจเป็นคุณสมบัติที่ดีสำหรับนักเทรด แต่ความมั่นใจเกินไปอาจเป็นดาบสองคมที่ทำให้คุณพลาดโอกาสในการทำกำไร และอาจทำให้คุณเสี่ยงต่อการขาดทุนที่ไม่จำเป็น ดังนั้น การรักษาความมั่นใจในตัวเองในระดับที่พอเหมาะ พร้อมกับการยอมรับความเสี่ยงและการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ จะช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในตลาดได้อย่างยั่งยืน
OANDA
IC Markets Global
STARTRADER
FBS
FXTM
ATFX
OANDA
IC Markets Global
STARTRADER
FBS
FXTM
ATFX
OANDA
IC Markets Global
STARTRADER
FBS
FXTM
ATFX
OANDA
IC Markets Global
STARTRADER
FBS
FXTM
ATFX