简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:บทสัมภาษณ์เกี่ยวกับภาพรวมภาวะการเงินของโลก จากนักเศรษฐศาสตร์
ดร.ปุณยวัจน์ ศรีสิงห์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ให้สัมภาษณ์ผ่านรายการ Morning Wealth ว่าภาพรวมภาวะการเงินของโลกที่ผ่านมาเริ่มผ่อนคลายลงไปค่อนข้างมาก หลังจากธนาคารกลางหลักของโลกเริ่มทยอยปรับลด ดอกเบี้ย ลง ทั้งธนาคารกลางยุโรป (ECB), ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) รวมถึงล่าสุดที่ทางธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ลดดอกเบี้ยลง 0.50% ในการประชุมรอบล่าสุดเมื่อวันที่ 17-18 กันยายนที่ผ่านมา หลังจากตัวเลขเงินเฟ้อทยอยปรับตัวลดลง
ทั้งนี้ หากมองไประยะข้างหน้า ธนาคารกลางหลักทั่วโลกมีโอกาสที่จะลด ดอกเบี้ย ลงต่อเนื่อง โดยประเมินว่าในช่วงที่เหลือของปีนี้ Fed จะมีการประชุมอีกจำนวน 2 ครั้ง ซึ่งมีโอกาสที่จะลดดอกเบี้ยลงได้อีก 0.50% ขณะที่ในปีหน้าคาดว่ามีโอกาสจะลดลงประมาณ 1% หลังจากที่แนวโน้มเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เริ่มมีแนวโน้มที่น่ากังวลเพิ่มมากขึ้น
อย่างไรก็ดี ประเมินว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯ จะยังไม่เข้าสู่ภาวะ Hard Landing ประกอบกับตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ที่ชะลอตัว จึงมองว่าในระยะข้างหน้านโยบายการเงินของธนาคารกลางทั่วโลกยังมีทิศทางปรับอัตราดอกเบี้ยลงอย่างต่อเนื่อง โดยประเมินว่าในปีหน้าทั้ง ECB และ BOE จะมีการลดดอกเบี้ยลงตามได้อีกประมาณ 1%
นอกจากนี้ ในมิติของกฎเกณฑ์การพิจารณาในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินทั่วโลกเริ่มลดความเข้มงวดลงด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นอีกปัจจัยที่สนับสนุนให้ภาวะทางการเงินของโลกเริ่มผ่อนคลายลงด้วยอย่างชัดเจน
ไทยเผชิญภาวะการเงินตึงตัว สินเชื่อหดตัวทุกประเภท
สำหรับประเทศไทยยังอยู่ในปัญหาภาวะการเงินตึงตัวในระดับที่สูง เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในระยะสั้นยังไม่ได้ส่งสัญญาณว่าจะมีการลดดอกเบี้ยลง
จึงประเมินว่า ภาวะทางการเงินหรือตลาดทางการเงินของไทยจะตึงตัวต่อเนื่อง ทั้งภาวะการตึงตัวทางการเงินจากต่างประเทศ ซึ่งสะท้อนได้จากทิศทางค่าเงินบาทที่มีการแข็งค่าขึ้นค่อนข้างเร็วในภูมิภาค จนทำให้ ธปท. เข้าดูแลค่าเงินบาท
รวมถึงภาวะการตึงตัวจากในประเทศ จากข้อมูลการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินปัจจุบันยังมีความเข้มงวดขึ้นค่อนข้างมาก สะท้อนจากตัวเลขการปล่อยสินเชื่อไตรมาส 2/67 ของระบบสถาบันการเงินที่หดตัวลงเกือบทุกประเภท ทั้งสินเชื่อที่อยู่อาศัย, สินเชื่อเช่าซื้อ, สินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล อีกทั้งคุณภาพของสินเชื่อมีแนวโน้มที่ถดถอยและลดลงค่อนข้างมาก
ดร.ปุณยวัจน์ กล่าวต่อว่า ภาวะทางการเงินกับภาพรวมเศรษฐกิจถือว่ามีความสัมพันธ์กันค่อนข้างสูง ทั้งนี้หากภาคการเงินมีการเปลี่ยนแปลงหรือถูกกระทบ จะมีผลกระทบต่อเนื่องตามมาต่อภาคเศรษฐกิจจริง รวมทั้งเกิดภาวะตัวเร่งทางการเงิน (Financial Accelerator) อีกด้วย
หนี้ครัวเรือนลดต่ำกว่า 90% เหตุแบงก์ไม่กล้าปล่อยกู้
สำหรับสถานการณ์หนี้ครัวเรือนของไทย ล่าสุดในไตรมาส 2/67 ที่รายงานว่ามีสัดส่วนลดลงมาต่ำกว่า 90% ต่อ GDP เป็นครั้งแรก หลังจากผ่านพ้นวิกฤตโควิดเป็นต้นมา ซึ่งหากมองผิวเผินอาจเป็นเรื่องที่ดี แต่หากเจาะข้อมูลเข้าไปไส้ในของตัวเลขที่ลดลงดังกล่าว จะเห็นว่าเกิดจากการเติบโตของหนี้ที่ขยายตัวค่อนข้างต่ำ โดยการปล่อยสินเชื่อการเติบโตเพียง 1.3% ถือเป็นการขยายตัวที่ต่ำที่สุดในประวัติการณ์
ทั้งนี้ มองว่าการปรับตัวลดลงของหนี้ครัวเรือนที่รวดเร็วเป็นเรื่องที่ไม่ยั่งยืน เพราะมาจากผลกระทบที่สถาบันการเงินไม่ปล่อยกู้หรือคนไม่สามารถกู้เงินได้ ดังนั้นการลดลงของหนี้ครัวเรือนครั้งนี้จึงยังไม่ใช่การลดลงของหนี้ครัวเรือนที่แข็งแรง
ดร.ปุณยวัจน์ กล่าวด้วยว่า การลดลงของสินเชื่อดังกล่าวนี้ส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงผ่านภาคการบริโภคให้มีทิศทางปรับลดลงอย่างรวดเร็ว ทั้งการบริโภคกลุ่มที่อยู่อาศัย รถยนต์ รวมถึงสิ่งของสินค้าต่างๆ ที่ต้องพึ่งพิงการใช้จากแหล่งเงินที่มาจากการขอสินเชื่อ อีกทั้งจะทำให้แนวโน้มภาคการลงทุนในระยะต่อไปปรับตัวลดลงตามไปด้วย
จับตาปลายปีนี้แบงก์ชาติเริ่มหั่นดอกเบี้ย
สำหรับทิศทางดอกเบี้ยของ ธปท. ที่เหลือการประชุมอีก 2 ครั้งในปีนี้ คือวันที่ 16 ตุลาคม และวันที่ 18 ธันวาคม ทาง SCB EIC มองว่าภาคการเงินของไทยโดยเฉพาะภาคครัวเรือนมีความเปราะบางและยังมีปัญหาภาวะความตึงตัวในภาคการเงิน ซึ่งทำให้ ธปท. เริ่มให้ความสำคัญในประเด็นปัญหานี้ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รอบล่าสุดเมื่อวันที่ 21 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยมีการนำประเด็นภาวะทางการเงินที่ตึงตัวมาหารือในที่ประชุม
ทั้งนี้ SCB EIC ประเมินว่า ในการประชุมของ กนง. ปลายปีนี้ในวันที่ 16 ตุลาคม จะมีมติให้คงดอกเบี้ยที่ 2.50% พร้อมทั้งคาดว่า กนง. จะเริ่มลดดอกเบี้ยและมีโอกาสที่จะลดดอกเบี้ยลงในช่วงต้นปี 2568 มาอยู่ที่ระดับ 2% โดยคาดว่าน่าจะเป็นระดับดอกเบี้ยที่เอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะยาว ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้ภาวะทางการเงินของไทยผ่อนคลายลงได้บ้าง
ขอบคุณข้อมูลจาก THE STANDARD
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย :https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือแผน เป้าหมายของเราคือกำไรที่เราต้องการ ความเสี่ยงที่เรายอมรับได้ และความอดทน
ตั้งแต่มือใหม่ฟอเร็กซ์ไปจนถึงผู้เชี่ยวชาญการเทรด โอกาสเดียวเท่านั้น! เข้าร่วมกับเราในการท้าทายการเดินทางเพื่อความก้าวหน้าของผู้เริ่มต้น Forex และปลดล็อคศักยภาพของคุณ!
7 เช็กลิสต์สังเกตโบรกเกอร์ Forex หลอกลวง
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมนโยบายการเงินประจำวันที่ 17-18 ธ.ค. ซึ่งระบุว่า บรรดาเจ้าหน้าที่เฟดได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อและผลกระทบที่อาจเกิดจากนโยบายของโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ