简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ศูนย์วิจัยกสิกรไทยออกมาประเมินผลกระทบจากน้ำท่วมในปี 2567 อาจคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นล้านบาท หรือ 0.16% ของ GDP ประเทศ เสี่ยงที่น้ำจะเคลื่อนจากภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง มาที่ภาคกลางและภาคใต้
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยออกมาประเมินผลกระทบจากน้ำท่วมในปี 2567 อาจคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นล้านบาท หรือ 0.16% ของ GDP ประเทศ เสี่ยงที่น้ำจะเคลื่อนจากภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง มาที่ภาคกลางและภาคใต้
วรรณวิษา ศรีรัตนะ ผู้บริหารสายงานวิจัย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดตั้งแต่ไตรมาส 3 ปีนี้จนถึงปัจจุบันยังไม่สิ้นสุด เนื่องจากยังไม่หมดฤดูฝน โดยสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำประเมินว่า พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลันจะเคลื่อนจากภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ในเดือนกันยายนและตุลาคม มาเป็นภาคกลางและภาคใต้ในช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม
สำหรับเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบหรือสร้างความเสียหายต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งพื้นที่และผลผลิตทางการเกษตร รายได้ของครัวเรือน ธุรกิจ/ผู้ประกอบการ รวมถึงสิ่งปลูกสร้าง/ที่อยู่อาศัย และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของรัฐ เช่น ถนนทรุด สะพานขาด
ทั้งนี้ภายใต้สมมติฐานน้ำท่วมแต่ละพื้นที่กินเวลาเฉลี่ยประมาณ 15 วัน และเกิดความสูญเสียต่อ Gross Provincial Product (GPP) ในสัดส่วนประมาณ 20% ของจังหวัดนั้นๆ ยกเว้นบางพื้นที่อย่างเชียงรายที่น้ำท่วมซ้ำหลายรอบ ระยะเวลาจะมากกว่าเฉลี่ย และเชียงใหม่ที่เกิดน้ำท่วมในเขตเมือง สัดส่วนความสูญเสียต่อ GPP จะมากกว่าเฉลี่ย
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินต่อว่า ผลกระทบจากน้ำท่วมในปี 2567 อาจคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นล้านบาท หรือ 0.16% ของ GDP ประเทศ อย่างไรก็ดี ถ้าเหตุการณ์ดังกล่าวกินระยะเวลานานขึ้น หรือขยายขอบเขตไปยังพื้นที่ต่างๆ มากขึ้น โดยเฉพาะในเขตตัวเมืองของภาคกลางและภาคใต้ ผลกระทบในกรณีเลวร้ายอาจมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นล้านบาท หรือ 0.27% ของ GDP ประเทศ
อย่างไรก็ดีแม้ในแง่เม็ดเงินผลกระทบปี 2567 จะน้อยกว่าปี 2554 ที่เกิดมหาอุทกภัย ซึ่งในปีนั้นกินระยะเวลานาน กระทบโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมและภาคการผลิตเป็นหลัก เพิ่มเติมจากภาคเกษตรและครัวเรือน แต่ภัยพิบัติในปีนี้นับว่ารุนแรงมากโดยเฉพาะในบางพื้นที่ เช่น เชียงราย เชียงใหม่ ซึ่งความเสียหายหลักส่วนใหญ่จะตกในภาคเกษตร รายได้ของครัวเรือน และการท่องเที่ยวในบางจังหวัด ส่งผลกระทบตามมาต่อการบริโภคและเศรษฐกิจไทยในช่วง 4 เดือนสุดท้ายของปี
นอกจากนี้มองว่าการฟื้นฟูหลังสถานการณ์น้ำท่วมคลี่คลายคงจะมาจากงบประมาณของภาครัฐและการใช้จ่ายของภาคเอกชน ซึ่งคงช่วยหนุนกิจกรรมการก่อสร้างและอุปกรณ์ตกแต่งบ้านได้บางส่วน แต่ขณะเดียวกันครัวเรือนคงจำเป็นต้องก่อหนี้ ซึ่งจะมีผลกดดันการใช้จ่ายสินค้าและบริการที่ไม่จำเป็นอื่นๆ ตามมา
มองไปข้างหน้า จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสุดขั้วทำให้ภัยพิบัติมีความเสี่ยงจะเกิดถี่และรุนแรงขึ้นอีก ดังนั้นทุกฝ่ายควรวางแนวทางรับมือ เช่น ระบบเตือนภัยในชุมชน/ท้องถิ่นที่เข้าใจง่าย แผนปฏิบัติการฉุกเฉินเมื่อเกิดเหตุในแต่ละระดับ การทำประกันภัย และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถรองรับความเสี่ยง
ขอบคุณข้อมูลจาก THE STANDARD WEALTH
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
XM
HFM
Neex
GO MARKETS
Tickmill
FOREX.com
XM
HFM
Neex
GO MARKETS
Tickmill
FOREX.com
XM
HFM
Neex
GO MARKETS
Tickmill
FOREX.com
XM
HFM
Neex
GO MARKETS
Tickmill
FOREX.com