简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:การเปิดตัวเหรียญมีมของทรัมป์สร้างความขัดแย้งครั้งสำคัญในวงการคริปโทฯ ในขณะที่อุตสาหกรรมเพิ่งประสบความสำเร็จครั้งประวัติศาสตร์จากการอนุมัติ Bitcoin ETF และการพัฒนากรอบกฎหมายที่ชัดเจนในหลายประเทศ การที่ทรัมป์ ผู้ที่ถูกคาดหวังให้เป็นผู้สนับสนุนหลัก กลับเลือกที่จะเปิดตัวเหรียญที่เน้นการเก็งกำไรระยะสั้น ได้สั่นคลอนความน่าเชื่อถือที่วงการพยายามสร้างมาอย่างยาวนาน
ในขณะที่วงการคริปโทเคอร์เรนซีกำลังเฉลิมฉลองความสำเร็จครั้งประวัติศาสตร์จากการอนุมัติ Bitcoin ETF และราคาบิตคอยน์ที่พุ่งทะลุ 100,000 ดอลลาร์ การตัดสินใจเปิดตัวเหรียญมีม $TRUMP ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และ $MELANIA ของสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง เมลาเนีย ทรัมป์ กลับสร้างความขัดแย้งในวงการ ระหว่างความหวังที่จะให้เขาผลักดันกฎหมายสนับสนุนคริปโทฯ กับความกังวลว่าเหรียญมีมจะบั่นทอนความน่าเชื่อถือที่อุตสาหกรรมนี้พยายามสร้างมาอย่างยาวนาน
เหรียญมีมทรัมป์: บททดสอบความน่าเชื่อถือของวงการคริปโทฯ
เหรียญ $TRUMP และ $MELANIA ที่เปิดตัวโดยทรัมป์และเมลาเนียได้สร้างความแตกแยกในวงการคริปโทฯ อย่างรุนแรง ในด้านหนึ่ง เหรียญ $TRUMP ประสบความสำเร็จทางการตลาดอย่างท่วมท้น โดยมีมูลค่าตลาดพุ่งสูงถึงเกือบ 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์นับตั้งแต่เปิดตัวในคืนวันศุกร์ (17 ม.ค.) ส่วน $MELANIA ก็พุ่งไปถึง 2 พันกว่าล้านดอลลาร์ ก่อนที่ทั้งสองเหรียญจะร่วงหนักในเวลาต่อมา
อย่างไรก็ตาม หนังสือพิมพ์เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล (WSJ) รายงานว่า การที่ทรัมป์เลือกเปิดตัวเหรียญที่ไม่มีประโยชน์ใช้สอยทางเศรษฐกิจที่แท้จริง และมีมูลค่าขึ้นอยู่กับกระแสความนิยมบนอินเทอร์เน็ตเป็นหลักนั้น กลับถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่าเป็นการกระทำที่ขาดความรับผิดชอบ และชี้ให้เห็นถึงความขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างชัดเจน เนื่องจากทรัมป์ได้รับประโยชน์โดยตรงจากการขายเหรียญ ในขณะที่ตัวเขาก็มีบทบาทในการกำหนดนโยบายที่ส่งผลต่อมูลค่าและการกำกับดูแลตลาดคริปโทฯ
เสียงวิพากษ์วิจารณ์ดังขึ้นแม้กระทั่งจากผู้สนับสนุนตัวยงของทรัมป์ เช่น ไรอัน เซลคิส อดีต CEO ของ Messari บริษัทวิจัยด้านคริปโทฯ โดยเฉพาะหลังการเปิดตัวเหรียญ $MELANIA ที่เกิดขึ้นเพียง 48 ชั่วโมงหลังจากเหรียญ $TRUMP โดยเซลคิสถึงกับโพสต์ข้อความเรียกร้องให้ทรัมป์ไล่ที่ปรึกษาที่แนะนำให้เปิดตัวเหรียญดังกล่าวออก โดยระบุว่า
หวั่นเหรียญมีมทรัมป์รอวัน “Rug Pull”
ในขณะที่ทรัมป์ถูกคาดหวังให้เป็นผู้สร้างความน่าเชื่อถือให้วงการคริปโทฯ โครงสร้างของเหรียญมีมทั้งสองกลับสร้างความกังวลว่าอาจเสี่ยงต่อการ “Rug pull” เนื่องจาก 80% ของซัพพลายโทเค็น $TRUMP ถูกถือครองโดย Fight Fight Fight และ CIC Digital ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ Trump Organization นั่นหมายความว่า ผู้ถือเหรียญรายใหญ่อาจเทขายเหรียญ ทำให้ราคาดิ่งลงอย่างรุนแรง และนักลงทุนรายย่อยจะได้รับความเสียหาย
ยิ่งไปกว่านั้น ข้อกำหนดและเงื่อนไขของทั้ง $TRUMP และ $MELANIA ยังมีช่องโหว่ทางกฎหมายที่น่ากังวล โดยห้ามไม่ให้ผู้ซื้อฟ้องร้องดำเนินคดีแบบกลุ่ม และได้รับการคุ้มครองจากการเรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ จากผู้ซื้อ ลักษณะเช่นนี้ขัดแย้งอย่างสิ้นเชิงกับความพยายามของอุตสาหกรรมที่ต้องการสร้างมาตรฐานและการกำกับดูแลที่โปร่งใส
วอลล์สตรีทมองข้ามเหรียญมีม จับตานโยบายคริปโทฯ ระยะยาว
ที่น่าสนใจคือ ในการประชุม World Economic Forum ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในสัปดาห์นี้ เหล่าผู้บริหารสถาบันการเงินเลือกที่จะแยกแยะระหว่างเหรียญมีมทรัมป์กับบทบาทด้านนโยบายของทรัมป์อย่างชัดเจน แม้จะมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบด้านความน่าเชื่อถือจากเหรียญมีม แต่พวกเขายังคงมองเห็นโอกาสจากนโยบายสนับสนุนคริปโทฯ ที่ทรัมป์สัญญาไว้
เจนนี จอห์นสัน ซีอีโอของ Franklin Templeton Investments สะท้อนมุมมองนี้ โดยกล่าวว่า “สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับรัฐบาลทรัมป์คือ เราจะเริ่มเห็นการหลอมรวมกันมากขึ้นระหว่าง TradFi (การเงินแบบดั้งเดิม) และคริปโทฯ ซึ่งเป็นสิ่งที่อุตสาหกรรมต้องการ” ขณะที่รอน โอแฮนลีย์ ซีอีโอของ State Street Corp. เน้นย้ำว่าสิ่งสำคัญคือการออกกฎหมายให้ธนาคารต่าง ๆ สามารถเข้ามาดูแลสินทรัพย์ดิจิทัลได้
ผู้บริหารบางคนในดาวอส เช่น โรเบิร์ต สวาค ซีอีโอของ ABN Amro Bank NV พยายามหลีกเลี่ยงการโต้เถียงเกี่ยวกับเหรียญมีมของทรัมป์ เมื่อสำนักข่าวบลูมเบิร์กสอบถามเกี่ยวกับเหรียญมีมของทรัมป์ สวาคกล่าวว่า “ก่อนที่ธนาคารจะเปิดให้ลูกค้าจำนวนมากเข้าถึงสกุลเงินทางเลือกได้ ก็ต้องมั่นใจว่ามันเป็นมาตรการหรือสกุลเงินที่สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย และสำหรับผม นั่นหมายความว่าตลาดจะต้องมีความพร้อมและเติบโตเต็มที่กว่านี้เสียก่อน”
เมื่อถูกถามต่อว่าเขาคิดว่าการเปิดตัวโทเค็นของทรัมป์นั้นจะเป็นที่ยอมรับและมีความพร้อมเมื่อใด สวาคตอบเลี่ยง ๆ ว่า “ผมคิดว่านั่นเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของเรื่องที่ต้องพัฒนากันต่อไป” ซึ่งเป็นการบอกโดยอ้อมว่า เหรียญมีมยังไม่มีความพร้อมเพียงพอที่จะให้ธนาคารขนาดใหญ่เข้าไปเกี่ยวข้อง
จากวิกฤต FTX สู่การฟื้นฟูความเชื่อมั่น
ก่อนที่จะเกิดประเด็นเหรียญมีมทรัมป์ อุตสาหกรรมคริปโทฯ ได้ทุ่มเทอย่างหนักในการฟื้นฟูความน่าเชื่อถือหลังวิกฤต FTX เมื่อปี 2565 โดยใช้กลยุทธ์สองทางควบคู่กัน คือการผลักดันกฎระเบียบที่ชัดเจน และการสร้างพันธมิตรทางการเมือง ด้วยการบริจาคเงินกว่า 170 ล้านดอลลาร์ให้กับกลุ่ม Super PAC เพื่อสนับสนุนนักการเมืองที่เป็นมิตรกับคริปโทฯ
ความพยายามนี้เริ่มเห็นผลเป็นรูปธรรมผ่านสองพัฒนาการสำคัญ ประการแรกคือ การมีกฎระเบียบที่ครอบคลุมอย่างกฎหมาย Markets in Cryptoassets (MiCA) ของสหภาพยุโรป ที่ช่วยให้สถาบันการเงินเห็นกรอบการทำงานที่ชัดเจน ประการที่สองคือ การที่ทรัมป์แสดงจุดยืนสนับสนุนอุตสาหกรรมอย่างชัดเจน พร้อมสัญญาว่าจะผ่อนคลายกฎระเบียบ จนนำไปสู่การระดมทุนอีกกว่า 135 ล้านดอลลาร์เพื่อมาสนับสนุนนักการเมืองที่เป็นมิตรกับคริปโทฯ
อย่างไรก็ตาม การเปิดตัวเหรียญมีมของทรัมป์ได้สร้างคำถามต่อความพยายามเหล่านี้ โดยเฉพาะในแง่ของการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับอุตสาหกรรมที่ต้องการให้เห็นว่า คริปโทฯ ไม่ใช่เพียงเครื่องมือเก็งกำไรระยะสั้น แต่เป็นนวัตกรรมทางการเงินที่มีประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ
การแต่งตั้งทีมหนุนคริปโทฯ ปะทะความขัดแย้งจากเหรียญมีม
หลังจากชนะการเลือกตั้ง ทรัมป์แสดงเจตจำนงชัดเจนที่จะสนับสนุนอุตสาหกรรมคริปโทฯ ด้วยการเลือกผู้สนับสนุนคริปโทฯ ในตำแหน่งสำคัญ ๆ รวมถึงโฮเวิร์ด ลัทนิค ซีอีโอของ Cantor Fitzgerald LP เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
นอกจากนี้ นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ครอบครัวทรัมป์เข้ามาเกี่ยวข้องกับคริปโทฯ โดยในปีที่แล้ว ทรัมป์เองได้ร่วมเปิดตัวโครงการ DeFi กับบุตรชายทั้งสองคือ โดนัลด์ ทรัมป์ จูเนียร์ และอีริค ทรัมป์ ในชื่อ World Liberty Financial
อย่างไรก็ตาม การเปิดตัวเหรียญมีมกลับสร้างอุปสรรคทางการเมืองที่อาจบั่นทอนวิสัยทัศน์ “ทรัมป์ ผู้กอบกู้คริปโทฯ” จาเร็ต ไซเบิร์ก นักวิเคราะห์จาก TD Cowen เตือนว่า เหรียญมีมจะกระตุ้นให้พรรคเดโมแครตตรวจสอบอย่างเข้มงวด และขัดขวางความพยายามในการผ่านกฎหมายสินทรัพย์ดิจิทัล
“พวกเขาจะค้นหาสัญญาณที่บ่งชี้ว่ารัฐบาลต่างประเทศ ธุรกิจต่างประเทศ และบริษัทในประเทศกำลังใช้เหรียญเพื่อมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของทรัมป์” ไซเบิร์กเขียนในบันทึกถึงลูกค้า “พวกเขายังจะเรียกร้องรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการที่ครอบครัวทรัมป์สร้างรายได้จากการลงทุนนี้ ซึ่งแน่นอนว่าพรรครีพับลิกันคาดว่าจะตอบโต้ และอาจทำให้ความตึงเครียดระหว่างพรรคแย่ลง”
นี่สะท้อนให้เห็นว่าแม้ทรัมป์จะวางตัวผู้สนับสนุนคริปโทฯ ที่แข็งแกร่ง แต่การตัดสินใจเรื่องเหรียญมีมอาจกลับมาบั่นทอนเป้าหมายระยะยาวของเขาเอง
ETF เหรียญมีม กับยุคแดนเถื่อนของตลาดคริปโทฯ
ล่าสุดเมื่อวันอังคาร (21 ม.ค.) การยื่นขออนุมัติ ETF ที่อ้างอิงกับเหรียญมีมและคริปโทฯ อื่น ๆ จาก REX Advisers, Osprey Funds และ ProShares สะท้อนความขัดแย้งในอุตสาหกรรมอย่างชัดเจน ในขณะที่วงการพยายามสร้างความน่าเชื่อถือผ่าน Bitcoin ETF ที่เพิ่งได้รับอนุมัติ การเกิดขึ้นของเหรียญมีมทรัมป์กลับผลักดันให้เกิดผลิตภัณฑ์การลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า เอกสารที่ยื่นต่อ SEC ระบุความเสี่ยงของการลงทุนในโทเค็นเกิดใหม่อย่าง $TRUMP อย่างตรงไปตรงมาว่าเป็น “นวัตกรรมที่ค่อนข้างใหม่และมีความเสี่ยงเฉพาะตัวที่สูงมาก” และ “ตลาดสำหรับ TRUMP อาจมีความผันผวนด้านราคาอย่างรุนแรง”
“ตอนนี้มันเหมือนกับยุคแดนเถื่อนตะวันตก” ท็อดด์ ซอน นักกลยุทธ์ ETF ของ Strategas กล่าว “เป็นโลกที่พร้อมจะปล่อยผลิตภัณฑ์แปลก ๆ ใหม่ ๆ ออกมามากมาย และทุกคนก็พร้อมจะรอดูว่าอะไรจะรุ่ง เพราะมันเป็นตลาดที่กำลังเติบโตอย่างมาก แต่ผมก็ไม่แน่ใจว่าจะมีสักกี่กองทุนที่จะได้รับอนุมัติ บางกองทุนผมว่ามันก็ค่อนข้างจะเพี้ยน ๆ อยู่”
บิตคอยน์กับความคาดหวังต่อทรัมป์
ความผันผวนของราคาบิตคอยน์เป็นเครื่องชี้วัดที่ชัดเจนถึงความขัดแย้งในบทบาทของทรัมป์ต่ออุตสาหกรรมคริปโทฯ ในขณะที่ราคาพุ่งทะลุ 109,000 ดอลลาร์ในช่วงก่อนพิธีสาบานตนรับตำแหน่งเมื่อวันจันทร์ (20 ม.ค.) สะท้อนความคาดหวังต่อนโยบายสนับสนุนคริปโทฯ แต่ราคากลับร่วงลงอย่างรุนแรงหลังจากที่การสนับสนุนคริปโทฯ ไม่ได้ถูกรวมอยู่ในคำสั่งของฝ่ายบริหารชุดแรก และถูกบดบังด้วยประเด็นเหรียญมีม
ความผันผวนนี้สะท้อนความกังวลของตลาดต่อลำดับความสำคัญในนโยบายของทรัมป์ ระหว่างการผลักดันกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมในระยะยาวกับการใช้กระแสคริปโทฯ เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวผ่านเหรียญมีม อย่างไรก็ตาม หลายคนยังเชื่อว่าในระยะยาว การสนับสนุนของทรัมป์จะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรม โดยเฉพาะในแง่ของการผ่อนคลายกฎระเบียบ หากทรัมป์สามารถรักษาสมดุลระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมได้
บทสรุป: จุดเปลี่ยนสำคัญของอุตสาหกรรมคริปโทฯ
การเปิดตัวเหรียญมีมของทรัมป์สร้างความขัดแย้งครั้งสำคัญในวงการคริปโทฯ ในขณะที่อุตสาหกรรมเพิ่งประสบความสำเร็จครั้งประวัติศาสตร์จากการอนุมัติ Bitcoin ETF และการพัฒนากรอบกฎหมายที่ชัดเจนในหลายประเทศ การที่ทรัมป์ ผู้ที่ถูกคาดหวังให้เป็นผู้สนับสนุนหลัก กลับเลือกที่จะเปิดตัวเหรียญที่เน้นการเก็งกำไรระยะสั้น ได้สั่นคลอนความน่าเชื่อถือที่วงการพยายามสร้างมาอย่างยาวนาน
ปฏิกิริยาที่แตกต่างกันของผู้เล่นในตลาดสะท้อนความท้าทายนี้ได้อย่างชัดเจน วอลล์สตรีทพยายามแยกแยะระหว่างเหรียญมีมกับนโยบายสนับสนุนระยะยาว ผู้ออก ETF ต้องสร้างสมดุลระหว่างโอกาสทางธุรกิจกับการรักษามาตรฐาน ในขณะที่ฝ่ายค้านใช้ประเด็นนี้ตั้งคำถามถึงความเหมาะสมในการกำกับดูแลและความขัดแย้งทางผลประโยชน์
ความสำเร็จหรือล้มเหลวของเหรียญมีมทรัมป์จะเป็นบททดสอบสำคัญว่า อุตสาหกรรมคริปโทฯ จะสามารถรักษาสมดุลระหว่างนวัตกรรมทางการเงินกับความน่าเชื่อถือได้อย่างไร โดยเฉพาะภายใต้การนำของผู้ที่มีอำนาจในการกำหนดนโยบายและมีผลประโยชน์ทับซ้อนในเวลาเดียวกัน
ขอบคุณ สำนักข่าวอินโฟเควสท์
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย :https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
บทวิเคราะห์ราคาคริปโต
แหล่งข่าวเผยว่า ทรัมป์ ซึ่งประกาศในระหว่างการหาเสียงว่าจะเป็น “ประธานาธิบดีแห่งคริปโทฯ” จะลงนามในคำสั่งบริหารของประธานาธิบดี (Executive Order) เพื่อแต่งตั้งสภาที่ปรึกษาด้านคริปโทเคอร์เรนซี อันเป็นแนวคิดที่เขาเปิดเผยเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนก.ค.
ก.ล.ต.เปิดทางกองทุนรวม crypto ETF-investment token
บทวิเคราะราคาคริปโต
FP Markets
IB
Vantage
Pepperstone
IC Markets Global
STARTRADER
FP Markets
IB
Vantage
Pepperstone
IC Markets Global
STARTRADER
FP Markets
IB
Vantage
Pepperstone
IC Markets Global
STARTRADER
FP Markets
IB
Vantage
Pepperstone
IC Markets Global
STARTRADER