简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศชี้จีน-สหรัฐ ใช้เวลาอีกนานกว่าจะยุติข้อพิพาทการค้าระหว่างกันได้ การลงนามข้อตกลงการค้าเฟส1 เป็นแค่การผ่อนคลายความตึงเครียดทางการค้าชั่วคราว
ผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศชี้จีน-สหรัฐ ใช้เวลาอีกนานกว่าจะยุติข้อพิพาทการค้าระหว่างกันได้ การลงนามข้อตกลงการค้าเฟส1 เป็นแค่การผ่อนคลายความตึงเครียดทางการค้าชั่วคราว
บรรดาผู้เชี่ยวชาญ มีความเห็นตรงกันว่า แม้ว่าจีนและสหรัฐจะลงนามในข้อตกลงการค้าเฟสแรกในวันนี้ แต่การหาทางออกให้กับประเด็นต่าง ๆ ที่มีความสำคัญนั้น จะต้องใช้เวลาในการเจรจาต่อรองอีกหลายปี โดยนายสตีเฟน อินเนส หัวหน้านักยุทธศาสตร์ตลาดเอเชียของบริษัทอะซิเทรดเดอร์( AxiTrader) กล่าวว่า แม้ว่าจะมีความคืบหน้าของข้อตกลงการค้า แต่ตลาดก็ยังคงรอดูว่า องค์ประกอบของข้อตกลงการค้าเฟสที่ 2 จะออกมาเช่นไร
ขณะที่นายเอสวาร์ พราซ กล่าวว่า การลงนามข้อตกลงการค้าเฟส1 แสดงให้เห็นถึงท่าทีตอบรับ และการผ่อนคลายท่าทีที่เป็นปฏิปักษ์ด้านการค้าระหว่างจีนและสหรัฐ แต่หนึ่งในประเด็นที่จะต้องมีการเจรจาต่อไป คือ เรื่องของบริษัทหัวเว่ย เทคโนโลยีส์ ซึ่งล่าสุด มีรายงานข่าวว่า รัฐบาลสหรัฐเตรียมออกกฎที่จะเพิ่มอำนาจในการสกัดกั้นการขายสินค้าให้กับหัวเว่ย เพื่อให้ครอบคลุมไปถึงสินค้าที่ผลิตในต่างประเทศจำนวนมากขึ้น ขณะที่สหรัฐพยายามที่จะกดดันหัวเว่ย ซึ่งถูกสหรัฐขึ้นบัญชีดำอยู่แล้ว
เมื่อเดือนพ.ค.ปีที่แล้ว กระทรวงพาณิชย์สหรัฐ ขึ้นบัญชีดำบริษัทหัวเว่ย โดยระบุว่าหัวเว่ยเป็นภัยกับความมั่นคงของสหรัฐ ซึ่งการขึ้นบัญชีดำดังกล่าวทำให้รัฐบาลสหรัฐสามารถจำกัดการขายสินค้าที่ผลิตโดยสหรัฐให้กับหัวเว่ย รวมถึงสินค้าจำนวนหนึ่งที่ผลิตในต่างประเทศแต่ใช้เทคโนโลยีของสหรัฐ
ภายใต้กฎเกณฑ์ในปัจจุบันนั้น ห่วงโซ่อุปทานที่สำคัญในต่างประเทศนั้นยังคงอยู่นอกเหนือการควบคุมของทางการสหรัฐ ซึ่งสร้างความผิดหวังให้กับผู้ที่ต่อต้านจีนในรัฐบาลสหรัฐ และได้ผลักดันให้มีการขยายอำนาจของรัฐบาลสหรัฐเพื่อที่จะปิดกั้นการขายสินค้าที่ผลิตในต่างประเทศให้กับหัวเว่ย
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐ ได้ร่างกฎที่จะห้ามการส่งออกสินค้าที่ผลิตในต่างประเทศซึ่งมีสินค้าของสหรัฐเป็นส่วนประกอบขั้นต่ำ 10% ของมูลค่าสินค้า โดยลดลงจากกฎเดิมที่กำหนดมูลค่าสินค้าส่วนประกอบของสหรัฐขั้นต่ำไว้ที่ 25% และจะขยายขอบเขตสินค้าต้องห้ามให้ครอบคลุมถึงสินค้าที่ไม่เกี่ยวข้องกับอิเล็กทรอนิก รวมถึงชิปที่ไม่ได้ระบุว่าเป็นสินค้าอ่อนไหวด้วย
รายงานระบุว่า กระทรวงพาณิชย์สหรัฐได้ส่งกฎระเบียบดังกล่าวให้กับสำนักงานการจัดการและงบประมาณแล้วหลังจากการประชุมเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
แม้สหรัฐและจีนลงนามข้อตกลงการค้าเฟส1 ร่วมกันแล้วแต่บรรดานักวิเคราะห์กลับเห็นว่าการลงนามเฟส1เป็นแค่การ“หยุดเลือด”ไม่ให้ไหลมากกว่านี้และเป็นสัญลักษณ์ของความพยายามบรรเทาสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างกันลงชั่วคราว ไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาขัดแย้งที่แท้จริงระหว่างกัน โดยโรเบิร์ต แอทคินสัน ประธานอินฟอร์เมชัน เทคโนโลยี แอนด์ อินโนเวชัน ฟาวน์เดชัน กล่าวว่า การลงนามครั้งนี้ไม่ได้แก้ปัญหาสำคัญๆที่เป็นข้อกังวลของทั้งสองฝ่ายให้หมดไป เช่น ปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา และปัญหาการที่จีนใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือคุกคามความมั่นคงของสหรัฐ เพราะฉะนั้น การลงนามเฟสแรกจึงเป็นเหมือนการ“ขอเวลานอก”ในการทำศึกการค้าระหว่างกันเท่านั้นเอง
ขณะที่นายเอ็ดวาร์ด อัลเดน สมาชิกระดับอาวุโสของสภาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ให้ความเห็นว่า การลงนามข้อตกลงการค้าเฟส1ระหว่างสหรัฐและจีนจะไม่ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจแก่บรรดานักลงทุนในตลาดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเมื่อสหรัฐ ยังคงเดินหน้าเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนต่อไป
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
สหรัฐเผยจีดีพีไตรมาส3พุ่ง 33.1% สูงสุดเป็นประวัติการณ์
“ปธน.ทรัมป์” ขู่ปิด สถานกงสุลใหญ่จีนในสหรัฐเพิ่มหลายแห่ง ขณะที่จีนเล็งปิดสถานกงสลุใหญ่สหรัฐในอู่ฮั่น หวังตอบโต้ถูกปิดสถานกงสุลใหญ่ในฮุสตัน
บริษัทพลังงานของรัฐบาลจีน 4 แห่ง เจรจาจัดตั้งกลุ่มเพิ่มอำนาจต่อรอง และหลีกเลี่ยงทำสงครามประมูลราคาน้ำมันโลก
21 มิถุนายน WikiFX News เผยว่า ปัจจุบันตลาดหุ้นในสหรัฐเต็มไปด้วยบรรยากาศการเก็งกำไร นักเก็งกำไรต่างเริ่มจะเก็งกำไรกันเป็น หลังจากที่กำไรหุ้นล้มละลายลง
ATFX
STARTRADER
EC Markets
FP Markets
Exness
OANDA
ATFX
STARTRADER
EC Markets
FP Markets
Exness
OANDA
ATFX
STARTRADER
EC Markets
FP Markets
Exness
OANDA
ATFX
STARTRADER
EC Markets
FP Markets
Exness
OANDA