简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:กรอบนโยบายการเงินแบบไหนล้วนมีวัตถุประสงค์หลักเหมือนกัน คือ ต้องการดูแลราคาสินค้าในประเทศไม่ให้เกิดเงินเฟ้อสูงหรือต่ำไป ดูแลเศรษฐกิจไม่ให้ร้อนแรงหรือซบเซามากไป รวมถึงดูแลให้ระบบการเงินมีเสถียรภาพ แต่จะแตกต่างกันที่ “วิธีการ” ไปให้ถึงจุดหมายปลายทาง กรอบ “เป้าหมายเงินเฟ้อ” ที่ไทยใช้อยู่ในปัจจุบันเลือกควบคุม “ระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย” โดยพึ่งกลไกการส่งผ่านไปยังเงินเฟ้อเป้าหมายและเศรษฐกิจ รวมถึงภาคส่วนต่างๆ
กรอบนโยบายการเงินแบบไหนล้วนมีวัตถุประสงค์หลักเหมือนกัน คือ ต้องการดูแลราคาสินค้าในประเทศไม่ให้เกิดเงินเฟ้อสูงหรือต่ำไป ดูแลเศรษฐกิจไม่ให้ร้อนแรงหรือซบเซามากไป รวมถึงดูแลให้ระบบการเงินมีเสถียรภาพ แต่จะแตกต่างกันที่ “วิธีการ” ไปให้ถึงจุดหมายปลายทาง กรอบ “เป้าหมายเงินเฟ้อ” ที่ไทยใช้อยู่ในปัจจุบันเลือกควบคุม “ระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย” โดยพึ่งกลไกการส่งผ่านไปยังเงินเฟ้อเป้าหมายและเศรษฐกิจ รวมถึงภาคส่วนต่างๆ ในระบบการเงิน ส่วนกรอบ “เป้าหมายอัตราแลกเปลี่ยน” ที่ไทยเคยใช้ในช่วงก่อนปี 2540 เลือกควบคุม “ระดับอัตราแลกเปลี่ยน” โดยประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบเปิดขนาดเล็ก (small open economy) จะเลือกกรอบนโยบายการเงินที่เหมาะสม ดังนี้
กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่มุ่งควบคุมระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งกระทบทุกคนในประเทศทั้งครัวเรือน ธุรกิจ และภาครัฐ กรอบนี้เหมาะกับประเทศที่ (1) ต้องการใช้นโยบายการเงินดูแลระบบเศรษฐกิจและการเงินในประเทศ โดยสามารถปรับอัตราดอกเบี้ยให้เหมาะสมกับวัฏจักรเศรษฐกิจตัวเองไม่ต้องปรับนโยบายตามประเทศที่ไปผูกค่าเงินด้วย รวมทั้งสามารถใช้อัตราดอกเบี้ยดูแลให้ระบบการเงินในประเทศมีเสถียรภาพ และ (2) ต้องการความยืดหยุ่นของอัตราแลกเปลี่ยน (floating exchange rate) เพื่อทำหน้าที่ปรับอุปสงค์และอุปทานเงินตราต่างประเทศให้สมดุลหากมีปัจจัยลบภายนอกเข้ามากระทบ ทั้งนี้ ธนาคารกลางยังสามารถดูแลอัตราแลกเปลี่ยนเมื่อจำเป็นด้วยต้นทุนการเข้าดูแลค่าเงินไม่สูงมาก โดยใช้เงินสำรองระหว่างประเทศเข้าดูแลค่าเงินเมื่อจำเป็นภายใต้ระบบลอยตัวภายใต้การจัดการ (managed-floating exchange rate) แบบที่ไทยใช้อยู่
กรอบเป้าหมายอัตราแลกเปลี่ยนที่มุ่งรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งกระทบต่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนให้คงที่หรือควบคุมให้เคลื่อนไหวในกรอบแคบ กรอบนี้เหมาะกับประเทศที่ (1) อัตราแลกเปลี่ยนมีผลต่อราคาสินค้าบริการในประเทศมาก โดยเฉพาะถ้าประเทศนั้นต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าสูง เพราะไม่สามารถผลิตสินค้าและบริการตอบสนองคนในประเทศได้เพียงพอ เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง (2) มีระบบการเงินที่เชื่อมโยงกับต่างประเทศสูง เช่น ประเทศศูนย์กลางทางการเงิน หรือมีสินทรัพย์หรือมีหนี้สินสกุลเงินต่างประเทศอยู่มาก อัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวนจะเพิ่มความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจ รวมทั้งธนาคารกลางจะไม่สามารถควบคุมอัตราดอกเบี้ยตามความจำเป็นของเศรษฐกิจได้ เพราะส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยระหว่างประเทศเพียงเล็กน้อยจะมีผลข้างเคียงให้เงินทุนเคลื่อนย้ายไหลเข้าออกมากจนอาจกระทบเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินได้ (3) สามารถปรับอัตราดอกเบี้ยตามประเทศที่ไปผูกค่าเงินไว้ เพราะหากเศรษฐกิจของ 2 ประเทศมีทิศทางที่แตกต่างกัน อาจทำให้ธนาคารกลางต้องปรับอัตราดอกเบี้ยตามทันทีทั้งที่เศรษฐกิจในประเทศเองก็ยังไม่พร้อม และ (4) มีเงินสำรองระหว่างประเทศมากพอและสามารถดูแลอัตราแลกเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสมดุลเศรษฐกิจภายในและภายนอกได้ ไม่เช่นนั้นต้นทุนการดูแลค่าเงินจะสูงมาก เพราะเงินสำรองฯ จะร่อยหรอลงอย่างรวดเร็ว หากนักเก็งกำไรค่าเงินเห็นช่องทางเข้าโจมตี เพราะรู้ว่าหากธนาคารกลางต้องเข้าไปฝืนความไม่สมดุลในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนก็คงฝืนได้ไม่นาน จนเป็นเหตุที่ทำให้เกิดวิกฤตค่าเงินในหลายๆ ประเทศในอดีต
ที่ผ่านมาธนาคารกลางในโลกหันมาใช้กรอบนโยบายการเงินแบบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่นมากขึ้น เพราะยืดหยุ่นกว่ากรอบเป้าหมายอัตราแลกเปลี่ยน ช่วยให้ประเทศส่วนใหญ่ที่เป็น small open economy รับมือกับกระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายในตลาดการเงินโลกที่มีขนาดใหญ่และผันผวนได้ รวมถึงสามารถดูแลเสถียรภาพระบบการเงินซึ่งเริ่มสำคัญมากขึ้นหลังวิกฤตการเงินโลกปี 2551 ในปัจจุบันมีธนาคารกลางร้อยละ 60 ที่ใช้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่น ส่วนประเทศที่ใช้กรอบเป้าหมายอัตราแลกเปลี่ยนมีน้อยลงเหลือร้อยละ 20-25 และที่เหลือใช้กรอบอื่น เช่น เป้าหมายปริมาณเงิน
ประสบการณ์หลายประเทศชี้ว่า กรอบเป้าหมายอัตราแลกเปลี่ยนค่อนข้างไม่ยืดหยุ่นในการดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน โดยเฉพาะโลกปัจจุบันที่สถานการณ์เปลี่ยนแปลงรวดเร็วและคาดเดายาก และเงินทุนเคลื่อนย้ายเข้าออกอย่างรวดเร็วอาจสร้างความเปราะบางให้ระบบการเงิน เช่น ฮ่องกงที่มีเงินทุนไหลเข้ามากจนทำให้เกิดฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งทำให้การควบคุมระดับอัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสมทำได้ยากขึ้น เพราะธนาคารกลางจะต้องใช้ทั้งอัตราดอกเบี้ย เงินสำรองฯ และการควบคุมเงินทุนเคลื่อนย้ายที่เข้มข้นมากจนอาจเกิดผลข้างเคียงต่อเศรษฐกิจและเสถียรภาพระบบการเงิน นอกจากนี้ การฝืนสมดุลของตลาดอัตราแลกเปลี่ยนจะทำให้เศรษฐกิจไม่ได้ทยอยปรับตัวให้สอดคล้องกับพื้นฐานที่แท้จริงของค่าเงินและอาจกลายเป็นเป้าของนักเก็งกำไรค่าเงินได้ ดังที่ไทยเคยได้รับบทเรียนจากวิกฤตค่าเงินปี 2540
ในปัจจุบันไทยใช้ “กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่น” เพราะมีอัตราแลกเปลี่ยนที่ยืดหยุ่นพอที่จะรองรับกระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายที่ผันผวนมาก และ ธปท. สามารถการใช้อัตราดอกเบี้ยเพื่อช่วยดูแลเสถียรภาพระบบการเงินได้ด้วยอีกทาง ซึ่งจะช่วยทำให้ต้นทุนในระยะยาวต่อระบบเศรษฐกิจต่ำกว่าเพราะจะช่วยลดโอกาสเกิดวิกฤตการเงินในอนาคตได้ ทั้งนี้แม้ค่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวได้ยืดหยุ่นขึ้น แต่ ธปท. ก็ยังสามารถดูแลค่าเงินบาทหากค่าเงินผันผวนเร็วเกินไปจนทำให้ประชาชนและภาคธุรกิจปรับตัวไม่ทัน
แม้นโยบายการเงินแบบกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อจะยังตอบโจทย์ของไทยในช่วงนี้ อย่างไรก็ดี ผู้เขียนเห็นว่าธนาคารกลางทุกแห่งต่างก็ต้องทบทวนความเหมาะสมของกรอบนโยบายการเงินเป็นระยะ ๆ สำหรับไทยเองก็ทบทวนและพัฒนามาตลอด 20 ปีที่ผ่านมา และจะต้องพัฒนาต่อไปในอนาคตข้างหน้า เพื่อให้มี “วิธีการ” ที่เหมาะสมที่สุดในไปให้ถึงจุดหมาย
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
เมื่อ 2 ม.ค. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ที่ทำเนียบรัฐบาล ตอบโต้เสียงวิจารณ์ว่ารัฐบาลไม่มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ โดยอ้างว่า รัฐบาลทำไปเต็มที่ และเรียกร้องให้ผู้วิจารณ์เสนอแนวทางการแก้ไขมา ถ้าเขาเห็นว่าดี จะทำตาม
เงินบาทช่วงสิ้นปีที่ผ่านมาแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเป็นที่จับตามองจากหลายๆ ฝ่าย ซึ่งแบงก์ชาติกล่าวว่าการแข็งค่าอย่างรวดเร็วนี้เป็นผลจากสภาพคล่องในตลาดเงินที่อยู่ในระดับต่ำในช่วงวันหยุดเทศกาล ทำให้การทำธุรกรรมซื้อขายเงินตราไม่สมดุล อีกทั้งยังเป็นผลจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ด้วยเช่นกัน
FBS
Tickmill
GO MARKETS
EC Markets
HFM
STARTRADER
FBS
Tickmill
GO MARKETS
EC Markets
HFM
STARTRADER
FBS
Tickmill
GO MARKETS
EC Markets
HFM
STARTRADER
FBS
Tickmill
GO MARKETS
EC Markets
HFM
STARTRADER