简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพต้องตื่นตัว และปรับตัวให้ทันยุค technology ซึ่งอาจจัดทำมาตรฐานอาชีพ ที่เน้นจัดทำมาตรฐานอาชีพที่ถูกทดแทนได้น้อย และยังมีปริมาณการจ้างงานในจำนวนที่มากอยู่ จะทำให้การจัดทำมาตรฐานอาชีพไม่เปล่าประโยชน์
ทิศทางในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศมุ่งเน้นการพัฒนาคนเป็นหลัก ทั้งนโยบายที่มุ่งไปสู่การเป็น Thailand 4.0นโยบายของรัฐด้านกำลังคน ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) ทำให้ประเทศต้องปรับทิศทางการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันด้วยการใช้นวัตกรรมมากขึ้นและพัฒนาคนให้มีความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญ
แต่การพัฒนาประเทศยังประสบปัญหาความไม่สอดคล้องของตลาดแรงงานที่ยังคงมีความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้น ในขณะที่ยังมีปัญหาขาดแคลนแรงงานระดับกลางในสายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และยังมีแรงงานส่วนเกินในระดับปริญญาตรี อีกทั้งแรงงานมีสมรรถนะ หรือทักษะความสามารถไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการ
ที่ผ่านมา ได้มีความพยายาม “พัฒนาระบบสมรรถนะ” หรือสร้างมาตรฐานความรู้ ความสามารถของกำลังคนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ความต้องการของตลาดแรงงานโดยมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่พัฒนาระบบสมรรถนะของประเทศ อาทิ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) และสภา/สมาคมวิชาชีพต่างๆ รวมทั้งภาคเอกชนก็มีส่วนร่วม
แต่คำถามสำคัญคือ ระบบสมรรถนะนั้นถูกพัฒนาปรับปรุงให้สอดคล้องกับทักษะที่ต้องการในอนาคตอย่างไรบ้างทั้งด้านเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ การคิดเชิงวิพากษ์ และทักษะในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นต้น เพื่อรองรับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลก จากเทคโนโลยีต่างๆ และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ที่จะทำให้คนตกงานเป็นจำนวนมาก พร้อมกับมีความต้องการงานใหม่ๆ เกิดขึ้น
Carl Benedikt Frey and Michael A Osborne (2013) วิเคราะห์กลุ่มอาชีพความเสี่ยงสูงที่จะถูกเทคโนโลยีทดแทน ไว้ว่า คือ กลุ่มงานที่ทำเป็นประจำซ้ำๆ เช่น งานสายพานการผลิต สามารถโดนแทนที่โดยหุ่นยนต์ประกอบ กลุ่มอาชีพที่ใช้องค์ความรู้และใช้ทักษะ สามารถโดนลดบทบาทหน้าที่โดยเทคโนโลยี big data มาแทนได้ เช่น ในอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพสามารถใช้ฐานข้อมูลใหญ่วินิจฉัยโรคได้แม่นยำกว่าคน
งานใหม่ๆ จะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น อาทิ Data analysts and scientist, AI and machine learning specialists, Big data เป็นต้น
อีกทั้งคาดการณ์ว่าประมาณ 47% ของการจ้างงานในสหรัฐจะถูกทดแทนภายใน 10-20 ปีข้างหน้าซึ่งงานที่มีความเสี่ยงสูงสุดที่จะถูกทดแทนด้วยคอมพิวเตอร์ค่อนข้างเร็วจะอยู่ในกลุ่มคมนาคมและโลจิสติกส์ กลุ่มสายงานออฟฟิศ กลุ่มแรงงานในสายการผลิต และกลุ่มงานบริการขณะเดียวกันข้อมูลจาก WEF พบว่างานใหม่ๆ จะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น อาทิ Data analysts and scientist, AI and machine learning specialists, Big data เป็นต้น
หากกล่าวถึงหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบสมรรถนะของประเทศไทยคือ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) มีหน้าที่ในการจัดทำมาตรฐานอาชีพและพัฒนาระบบคุณวุฒิวิชาชีพเพื่อให้ได้มาตรฐานอาชีพที่เป็นไปตามความต้องการของผู้ประกอบการ ครอบคลุมกลุ่มเกษตร อุตสาหกรรม และภาคบริการให้สามารถเทียบเคียงกับมาตรฐานอาชีพของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนและนานาประเทศ ในสาขาวิชาชีพเดียวกัน อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการศึกษานำไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน
ที่สำคัญคุณวุฒิวิชาชีพยังเป็นประโยชน์โดยตรงต่อกำลังคนส่วนใหญ่ที่ไม่มีคุณวุฒิการศึกษาระดับสูง แต่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการประกอบอาชีพสามารถอาศัยระบบคุณวุฒิวิชาชีพ ในการรับรองสมรรถนะที่มีเพื่อต่อยอดอาชีพและการทำงานในอนาคตต่อไปได้
เมื่อพิจารณาถึงกลุ่มอาชีพที่มีการจัดทำสมรรถนะของไทย โดยสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ พบว่ามีการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพแล้วจำนวน 54 สาขาอาชีพ 680 อาชีพ (ข้อมูล ณ วันที่ 16 พ.ค.2562) เมื่อเปรียบเทียบกับอาชีพที่มีความเสี่ยงที่จะถูกเทคโนโลยีทดแทนจากงานวิจัยของCarl Benedikt Frey and Michael AOsborne จะมีกลุ่มอาชีพเกือบ20 สาขาอาชีพอาทิ สาขาโลจิสติกส์ สาขาการผลิตในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ สาขาวิชาชีพก่อสร้าง สาขาวิชาชีพการบิน และบริการสุขภาพ แม้จะมีอาชีพที่จัดทำขึ้นมาใหม่สามารถรองรับกลุ่มอุตสาหกรรม S Curve และความเสี่ยงต่ำที่จะถูก Disrupt อยู่บ้างแต่ยังมีจำนวนไม่มาก อาทิ สาขาวิชาชีพรถไฟความเร็วสูงและระบบรางสาขา วิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และดิจิทัลคอนเทนต์
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลกลุ่มอาชีพที่อาจถูกเทคโนโลยีทดแทน ยังไม่สามารถบอกรายละเอียดของแต่ละสาขาอาชีพได้ว่ามีการนำเทคโนโลยีมาใช้เทียบเท่ากับสหรัฐหรือไม่ และไม่ได้บ่งบอกว่าแต่ละกลุ่มสาขาอาชีพมีปริมาณการจ้างงานและระดับการใช้เทคโนโลยีอยู่ระดับใด ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะส่งผลต่อโอกาสในการถูกเทคโนโลยีทดแทนได้เร็วหรือช้าแตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของทุนและความรู้ของบุคลากรอีกด้วย
ระบบคุณวุฒิวิชาชีพจะเป็นที่รู้จักและมีประโยชน์มากยิ่งขึ้นในอนาคต สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพต้องตื่นตัว การจัดทำมาตรฐานอาชีพนั้นจะต้องเน้นจัดทำมาตรฐานอาชีพที่ถูกทดแทนได้น้อยและยังมีปริมาณการจ้างงานในจำนวนที่มากอยู่ จะทำให้การจัดทำมาตรฐานอาชีพไม่เปล่าประโยชน์เพราะแท้จริงแล้วระบบคุณวุฒิวิชาชีพและมาตรฐานอาชีพมีประโยชน์อย่างมากในพัฒนาสมรรถนะของกำลังคน ตอบสนองต่อทิศทางการพัฒนาประเทศและช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศอีกด้วย
ดังนั้นการจัดทำมาตรฐานอาชีพควรปรับให้ทันต่อปัจจุบัน มีมาตรฐานอาชีพ และคุณวุฒิวิชาชีพรองรับอาชีพใหม่ๆ และควรทบทวน ยกเลิกอาชีพที่จัดทำแล้วมีโอกาสถูกDisrupt ในอีก 5 - 10 ปีข้างหน้า และเติมเต็มด้วยการฝึกอบรมเพื่อเป็นแรงจูงใจให้แรงงานเข้ามาทดสอบและรับรองสมรรถนะ ก็จะช่วยให้มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพเป็นที่รู้จักและเป็นที่ต้องการ ไม่ถูก Disrupt เสียเอง
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
VT Markets
Vantage
STARTRADER
IC Markets Global
ATFX
FP Markets
VT Markets
Vantage
STARTRADER
IC Markets Global
ATFX
FP Markets
VT Markets
Vantage
STARTRADER
IC Markets Global
ATFX
FP Markets
VT Markets
Vantage
STARTRADER
IC Markets Global
ATFX
FP Markets